วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

ม.ขอนแก่น มอบต้นแบบผลิตภัณฑ์โอทอบ ต่อยอดให้ เมืองศิลา ชูเป็น “ศิลาโมเดล”

ม.ขอนแก่น มอบต้นแบบผลิตภัณฑ์โอทอบ ต่อยอดให้ เมืองศิลา ชูเป็น “ศิลาโมเดล”
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ม.ขอนแก่น มอบต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้ เมืองศิลา ชูเป็น “ศิลาโมเดล”

สำนักบริการวิชาการ มข. มอบต้นแบบผลิตภัณฑ์ ให้กับเทศบาลเมืองศิลา เป็นผลผลิตที่ได้จากการร่วมมือกันพัฒนาชุมชนเมืองศิลา เพื่อต่อยอด นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อมุ่งมั่นที่จะสร้างสินค้า OTOPให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่อาคารผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผศ.ดร.รักพงษ์  เพชรคำ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธาน ส่งมอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ให้กับ ดร.ยอดยิ่ง  จันทนพิมพ์  นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศิลา  ต้นแบบผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ ผลิตภัณฑ์กลุ่ม A กลุ่มต่อยอดนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้สูงอายุ (ธุงอีสาน) 2) กลุ่มสมุนไพรปลอดสาร  3) กลุ่มข้าวปลอดสาร 4) กลุ่มร้อยมาลัย  5) กลุ่มปลากะพง  ผลิตภัณฑ์กลุ่ม B กลุ่มใหม่  ประกอบด้วย  1) กลุ่มผ้าย้อมคราม  2) กลุ่มตุงแมงมุม  3) กลุ่มสบู่  4) กลุ่มไส้กรอก 5) กลุ่มกระเป๋าสาน  6) กลุ่มน้ำปลาร้า  7) กลุ่มผ้าขาวม้ากับโครงการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ 2560

ดร.ยอดยิ่ง  จันทนพิมพ์  กล่าวว่า จากการที่สำนักบริการวิชาการ มข. เข้ามาร่วมพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองศิลา และได้แนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วยประชาชนในเทศบาลเมืองศิลาที่ตั้งใจ มีความมุ่งมั่น  โดยเทศบาลเมืองศิลาจะยืนหยัดช่วยเหลือ ในเรื่องสถานที่จำหน่ายสินค้า การสร้างตลาดน้ำ และเรามุ่งมั่นที่จะสร้างให้สินค้า OTOP เราให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง

ผศ.ดร.รักพงษ์  เพชรคำ กล่าวและว่า เทศบาลเมืองศิลามีเอกลักษณ์หลาย ๆ อย่าง เช่น ความเข้มแข็งของผู้นำ ความเข้มแข็งของชุมชน ทุนทางวัฒนธรรม และศักยภาพที่อยู่ใกล้เมือง จึงได้ลงนามความร่วมมือกันระหว่างเทศบาลเมืองศิลาและสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นี่คือโมเดลความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับองค์กรท้องถิ่น โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดสรรงบประมาณให้ส่วนหนึ่ง และเทศบาลเมืองศิลาก็จัดสรรงบประมาณลงมาด้วยส่วนหนึ่งจึงเกิดกิจกรรมขึ้นมา ถือเป็นรูปแบบการทำงานร่วมกันที่ประสบความสำเร็จ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าองค์กรท้องถิ่นอื่น ๆ จะมาร่วมงานกับสำนักบริการวิชาการ ในรูปแบบเดียวกันนี้ การทำงานร่วมกันปีแรกเรารู้จักกัน รู้ถึงความจำเป็น รู้จุดอ่อน จุดแข็ง เริ่มมีการพัฒนาเป็นรูปแบบขึ้นมา ปีที่สองเป็นเรื่องการต่อยอด ทำให้รูปร่างหน้าตาดูดีขึ้น ทำให้คุณภาพได้มาตรฐาน เมื่อมีมาตรฐานแล้วจะทำให้เกิดการซื้อซ้ำ แสดงว่าติดใจ พอใจ แล้วบอกต่อ เราต้องช่วยกัน  ในอนาคตเราจะทำงานในมิติอื่น และก้าวหน้าไปด้วยกัน

 

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads