วันพฤหัสบดี 18 เมษายน 2024

แนวปฏิบัติในทะเลตะวันออก (COC) ต้องเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้

แนวปฏิบัติในทะเลตะวันออก (COC) ต้องเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 

แนวปฏิบัติในทะเลตะวันออก (COC) ต้องเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2560 ศูนย์เยอรมันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและระบบธรรมาภิบาล (German-Southeast Asian Center of Excellence for Public Policy and Good Governance) ได้จัดงานบรรยายพิเศษโดยหัวข้อ “การรับรองอำนาจทางกฎหมายระหว่างเวียดนามและจีน พัฒนาการและอนาคตของแนวปฏิบัติในทะเลตะวันออก COC” ซึ่งผู้บรรยายคือ นาย เหงียน ตว่าน ทั้งรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยกฎหมายเชิงเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยฮานอย นาย เหงียน ตว่าน ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับต้นๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ในด้านกฎหมายทะเล บทบรรยายมีเนื้อหาวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งประเด็นปัญหาต่างๆเกี่ยวกับทะเล ได้ดึงดุดนักวิจัย นักศึกษาและผู้สนใจจากประเทศไทยและนานาชาติจำนวนมาก รวมไปถึงประชาคมนักเรียน นักศึกษา สาขากฎหมายของมหาลัยต่างๆในประเทศไทย

ปัญหาทะเลตะวันออกกำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน โดยในแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 50 (50 th ASEAN Foreign Ministers’ Meeting – AMM ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เดือนสิงหาคม 2560) นอกจากมีการย้ำถุงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยเสริมสร้างความร่วมมือทั้งในด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ความร่วมมือในประเด็นคาบเกี่ยวต่างๆ ความสัมพันธ์กับประคู่เจรจาของเซียน และประเด็นท้าทายของภูมิภาคและของโลก ยังมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ ซึ่งได้มีข้อสรุปในการวางประมวลกฎหมายการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือ COC แสดงถึงการร่วมใจ เห็นฟ้องกันประเทศสมาชิกอาเซียนในการยกระดับความไว้วางใจต่อกัน กำจัดอย่างที่สุดกับการกระทำที่ทำร้ายสถานการณ์ ก่อให้เกิดความตึงเครียด และ คัดค้านการเสริมสร้างเกาะเทียมและการขยายปฏิบัติทางการทหารในทะเลตะวันออกเคารพและปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือ COC อย่างเคร่งครัดและครบถ้วน ประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญในอาเซียนได้ยืนยันจุดยืนของตนมาตลอดว่า ประเทศไทยสนับสนุนประเทศต่างๆในภูมิภาค รวมทั้งเวียดนาม ในการรักษาและเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือในทะเลตะวันออก การแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกระหว่างทุกฝ่ายอย่างสันติบนพื้นฐานของกฎหมายสากล

หลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเวียดนาม ได้มีการพัฒนาอย่างเข้มแข็งในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่วันที่เวียดนามและไทย ได้ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เมื่อปี 2556 สำหรับความสัมพันธ์ด้านการค้ามูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศในปี 2559 อยู่ที่ 13.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 31% เมื่อเทียบกับปี 2556 และคาดว่ามูลค่าการค้าต่างตอบแทนในปี 2563 อาจอยู่ที่ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนของไทยในเวียดนามก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และไทยเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 3 ในกลุ่มอาเซียนและอยู่อันดับที่ 10 ในจำนวน 115 ประเทศและดินแดนที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม รวมยอดเงินลงทุนจดทะเบียนประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้น สองประเทศยังมีการเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือในด้านการเมือง ความมั่นคง แรงงาน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ผ่านการประชุมระดับสูง การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเวียดนาม นาย เหงียน ซวน ฟุก ในเร็วๆนี้ (วันที่ 17 สิงหาคม 2560) จะเป็นแรงกระตุ้นให้ความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างสองประเทศได้พัฒนามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้า พัฒนาความร่วมมือทวิภาคีไทย-เวียดนาม ความร่วมมือพหุภาคี และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เวียดนามและไทยเป็นสมาชิก รวมทั้งมีความร่วมมือแก้ไขปัญหาใหญ่ในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปัญหาทะเลตะวันออก ปัญหาใช้ผลประโยชน์ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

 

นายสมบูรณ์   สุขชัยบวร / แปล/เรียบเรียง

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads