วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย – เวียดนาม

พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย – เวียดนาม
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 

พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย – เวียดนาม

ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีไทย พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ท่าน เหงียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามและภริยาจะเดินทางไปเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคมนี้

การเดินทางเยือนประเทศไทยครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีเวียดนามมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองประเทศ หารือในรายละเอียดบางข้อเสนอ ความร่วมมือด้านต่างๆ เช่น การค้า การลงทุน การคมนาคมฯลฯ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการประชุมทั้งในระดับภูมิภาคและสากลในหัวข้อทะเลจีนใต้และความร่วมมือระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ตลอดเวลา 40 ปี นับตั้งแต่วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ (1976-2017) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและเวียดนามได้ประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา สังคม ฯลฯ ซึ่งสามารถกล่าวถึงบางเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 2013 การจัดงานฉลองครบรอบ 40 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เวียดนาม เมื่อปี ค.ศ. 2016 การแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยือนคณะผู้นำระดับสูงซึ่งได้ช่วยผลักดันกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ผ่านการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไทย-เวียดนาม อย่างไม่เป็นทางการ การประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (JWG) การเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศถึง 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 2016 และมีเป้าหมายจะบรรลุ 20 พันล้านเมื่อปี ค.ศ. 2020

โดยเฉพาะในหลายปีเร็วๆนี้ ความสัมพันธ์ของประเทศไทยที่ดีต่อประเทศเวียดนามเป็นความสัมพันธ์เพื่อนบ้านมิตรภาพมาโดยตลอดและมีความร่วมมือกันในทุกด้าน ซึ่งได้ผลักดันและดำเนินความร่วมมือหลายอย่าง ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการกระชับความสามัคคี รักษา ความเป็นเอกภาพของอาเซียน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการจัดการปัญหาต่างๆ และร่วมมือร่วมใจกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเพื่อแสดงบทบาทที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการจัดการปัญหา ด้านความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะปัญหาทะเลจีนใต้ นอกจากนั้นประเทศไทยและเวียดนามได้ร่วมมือซึ่งกันและกันและกับประเทศอื่นๆ ในการริเริ่มความร่วมมือระดับพหุภาค เช่น คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งชื่อตามชื่อแม่น้ำสามสายที่สำคัญของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงคือ แม่น้ำอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS)

ปัจจุบันชุมชนคนไทยเชื่อสายเวียดนามมีความขยายตัวและเข้มแข็งมากขึ้น โดยมีจำนวนประมาณ 100,000 คน ซึ่งอาศัยกระจายตามจังหวัดต่างๆของประเทศไทย และส่วนใหญ่อาศัยที่กรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1998 รัฐบาลไทยมีนโยบายอำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารต่างๆ รวมทั้งการให้สัญชาติไทยแก่ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่มานานในประเทศไทย นโยบายดังกล่าวเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับชีวิตจิตใจของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม โดยเฉพาะการได้รับรองสิทธิการอาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายและการได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมทุกด้านของสังคมไทย เช่น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม รวมทั้งการได้รับสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของพลเมืองไทยตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งทำให้ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามรู้สึกปราบปลื้มเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลไทยยังอนุญาตให้จัดตั้งสำนักงานสมาคมชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม และอนุญาตให้สมาคมต่างๆ ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ช่วยรวมตัวชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของสมาคมช่วยจัดงานเทศกาลในวันสำคัญต่างๆของชาวเวียดนาม และช่วยเหลือคนไทยเชื้อสายเวียดนามในการก่อสร้างและบริหารอนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ที่จังหวัดอุดรธานีและนครพนม

ด้วยความสนับสนุนของพระราชวงศ์และรัฐบาลไทย พร้อมกับความพอใจ พยายามของตนชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่ประเทศไทย ยิ่งวันยิ่งมีก้าวหน้าทั้งหน้าที่การงานในสังคมและมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการสร้างเสริมประเทศไทย ในขณะเดียวกันยังรักษาได้วัฒนธรรมอันดีงามของชาวเวียดนามคือ การไม่ลืมถิ่นฐานกำเนิดและนึกถึงมาตุภูมิเสมอ ช่วยเหลือและมีส่วนร่วมกับชาวเวียดนามในการพัฒนาประเทศ นี่คือสายสัมพันธ์ที่จะสานให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นการลงทุนและการดำเนินดำเนินธุรกิจของบริษัทชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่เวียดนาม

ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ความความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนามมีขึ้นมีลงในบางช่วงแต่โดยภาพรวมแล้ว สามารถมองเห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศยิ่งวันยิ่งเป็นไปด้วยดี ยิ่งมั่นคงและแน่นแฟ้น ซึ่งจะขยายความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในหลายด้านในเวลาต่อมา ด้านความสำเร็จที่เคยประสบพร้อมศักยภาพที่โดดเด่นความสัมพันธ์หุ้นส่วน ส่วนทางยุทธศาสตร์จะเป็นกำลังสำคัญและมีส่วนช่วยเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อความสามัคคีระหว่างประเทศในอาเซียน

นายสมบูรณ์   สุขชัยบวร / แปล /รายงาน

 

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads