วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

พบเด็กอีสานชาย – หญิง 0-5 ปี มีภาวะเตี้ย – ผอม สติปัญญาต่ำ เหตุมารดาโลหิตจาง

พบเด็กอีสานชาย – หญิง 0-5 ปี มีภาวะเตี้ย – ผอม สติปัญญาต่ำ เหตุมารดาโลหิตจาง
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

พบเด็กอีสานชาย – หญิง 0-5 ปี มีภาวะเตี้ย – ผอม สติปัญญาต่ำ เหตุมารดาโลหิตจาง

ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ส่งเสริมพัฒนา ด้วยโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต

เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น นพ.พีระ   อารีรัตน์ ผอ.สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 เป็นประธานเปิดการสัมมนาขับเคลื่อนกลไกส่งเสริมเด็ก 0-5 ปี เพื่อพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ (Smart Kid 4.0) โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) โดยมีหัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพและผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก จากสำนักงานสาธารณสุข 4 จังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 7 ประธานและเลขาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและผู้รับผิดชอบงานแม่และเด็ก ในคลินิกเวชกรรมชุมชน จาก 77 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 200 คน เข้าร่วมสัมมนา

นพ.ประสิทธิ์   สัจจพงษ์ ผอ.ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กล่าวว่า จากรายงานข้อมูลสุขภาพทารกและเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 7 พบว่า ทารกแรกเกิดตรวจพบค่า Thyroid stimulating hormone (TSH) > 11.2 มิลลิยูนิต / ลิตร ร้อยละ 10.7 สูงกว่าค่าเป้าหมาย (เป้าหมาย > ร้อยละ 3) พัฒนาการเด็กปฐมวัย สมวัยเพียงร้อยละ 71.1 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนเพียงร้อยละ 51.4 ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงอายุ 5 ปี มีภาวะเตี้ย และผอม ระดับสติปัญญาของเด็กชั้นประถมศึกษาที่ 1 ภาพรวมต่ำกว่าเป้าหมาย (เป้าหมาย > 100 จุด) ซึ่งสาเหตุสำคัญของปัญหามาจาก 2 ส่วน คือ ในส่วนของมารดา พบว่ามีภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ จากการไม่ได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กกรดโฟลิก และไอโอดีนอย่างครอบคลุม มาฝากครรภ์ล่าช้า ส่วนอีกสาเหตุเกิดจากเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่ได้รับการดูแลเฝ้าระวัง กระตุ้น ส่งเสริมพัฒนาการ และโภชนาการตามวัยอย่างเพียงพอและเหมาะสม ทั้งจากครอบครัว ชุมชน รวมถึงหน่วยบริการที่ดูแล

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ให้มีระดับสติปัญญาดี มีทักษะชีวิตดี มีวินัย มีการเจริญเติบโต และพัฒนาการสมวัยในทุกด้าน กลไกของ พชอ.จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันการแก้ไขปัญหาและการดำเนินงานในระดับพื้นที่ ผ่านการบูรณาการกับโครงการเชิงนโยบาย ได้แก่ โครงการสาวไทยแก้มแดง โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต และตำบลบูรณาการจัดการระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี โดยชุมชน ด้วยการจัดการค่ากลาง ภายใต้ 6 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การเฝ้าระวัง / คัดกรอง การใช้มาตราทางสังคม การจัดการสุขภาพกลุ่มวัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับปรุงโครงการ/เสนอนโยบาย โดยมีเป้าหมาย 77 อำเภอ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ครอบคลุมประชากรทั้งในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อผลลัพธ์ที่คาดหวังอย่างเป็นรูปธรรมที่เกิดกับเด็กปฐมวัย

นพ.พีระ   อารีรัตน์

นพ.พีระ   อารีรัตน์ ผอ.สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และคาดว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2567 ประกอบกับแนวโน้ม NCDs ในวัยทำงานและผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันอัตราการเกิดน้อยและด้อยคุณภาพ เด็กมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากล ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และบรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในการยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นการยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบจึงจำเป็นต้องสร้างคนไทย 4.0 “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ส่งเสริมเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อพัฒนาการสมวัย เติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ

“การขับเคลื่อนกลไกส่งเสริมเด็ก 0-5 ปี เพื่อพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ มีส่วนสำคัญซึ่งประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และเศรษฐกิจสังคม จึงจำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จึงมีการกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขึ้น อันประกอบด้วย 6 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทุกกลุ่มวัย” นพ.พีระ กล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads