วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

“เอดส์เน็ท” รุกเผยแพร่ความรู้สุขภาวะทางเพศกับเด็กด้อยโอกาสอีสาน

“เอดส์เน็ท” รุกเผยแพร่ความรู้สุขภาวะทางเพศกับเด็กด้อยโอกาสอีสาน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“เอดส์เน็ท” รุกเผยแพร่ความรู้สุขภาวะทางเพศกับเด็กด้อยโอกาสอีสาน


—-เอดส์เน็ท โอ่ผลงาน “โครงการส่งเสริมป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาวะทางเพศเด็กด้อยโอกาสภาคอีสาน เผยศึกษาพื้นที่ 4 จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ และมุกดาหาร เผยเกิดคณะทำงานที่เข้มแข็ง ขณะที่เด็กกลุ่มเป้าหมายเกิดแกนนำและอาสาสมัครทำกิจกรรมสุขภาวะทางเพศ ชี้ทำให้เด็กสนใจและนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนในด้านสุขภาวะทางเพศ


วันนี้ (29ม.ค.61) ที่ห้องประชุมโรงแรมราชาวดี อำเภอเมืองขอนแก่น มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท)สำนักงานภาคอีสาน จัดประชุมเผยแพร่ “โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน” มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท)

สำหรับโครงการส่งเสริมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ภาคอีสาน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก6 : สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม เริ่มดำเนินโครงการ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ. ศ. 2558 ถึง 31 ธันวาคมพ. ศ. 2560 และได้ให้การสนับสนุนโครงการย่อย ในการจัดทำ โครงการให้แก่พื้นที่ 4 จังหวัดในภาคอีสาน (ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ และมุกดาหาร)


เพื่อดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพทางเพศในเด็กและเยาวชน โดยโอกาสในเด็กและเยาวชนกลุ่มต่างๆคือ 1.สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ 2. เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกอบรมเขต 4 ขอนแก่น 3.เยาวชนในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม 4 .เด็กและเยาวชนและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ ( เร่ร่อน ไร้ที่พัก ข้างถนน แว้น) 5.เด็กและเยาวชนพิการทางการได้ยิน และ 6.เด็กและเยาวชนพิการทางสายตา


การดำเนินงานโครงการเน้นประเด็นเนื้อหาสุขภาวะทางเพศในเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ดังกล่าว เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่เข้าถึงยาก มีบริบท สภาพแวดล้อม ข้อจำกัด และวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชนที่แตกต่างกันออกไป การดำเนินงานได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ด้านคนทำงานซึ่งเกิดเครือข่ายคนทำงานในระดับโครงการย่อยที่เข้มแข็ง คือคณะทำงานโครงการ มีการลงนาม MOU 2 พื้นที่ปฏิบัติการที่เป็นเครือข่ายช่วยเหลือเด็กและเยาชนสถานพินิจ จ.ชัยภูมิ และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 ขอนแก่น


ทีมงานคณะทำงานที่มีความหลากหลายและสนับสนุนระบบการส่งต่อและการดูแลเรื่องสุขภาพในเด็กชายขาบ (เร่ร่อน แว้น ข้างถนน ฯลฯ) และเกิดทีมคณะทำงานที่ทำงานใกล้ชิดสนับสนุนการทำงานเยาวชนในเรือจำที่เป็นร่วมมือกันอย่างเข้มข้นในโครงการเรือนจำมหาสารคาม นอกจากนี้มีทีม Setting ที่เป็นทีมใกล้ชิดปฏิบัติการตรงกับกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เข้มข้น สื่อสาร เป็นวิทยากรและให้คำปรึกษาใน 6 กลุ่ม


เกิดการออกแบบและทดลองแผนการสอนโดยทีม Setting สำหรับเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเกิดแกนนำ และอาสาสมัครไปทำกิจกรรมกับเพื่อนและให้คำแนะนำเพื่อนเรื่องสุขภาวะทางเพศ , เด็กและเยาชนสนใจ ตระหนักต่อการนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนตัวเอง เช่น ทำความสะอาดร่างกาย การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทัศนติต่อการฝังมุก เกิดการเห็นคุณค่าตนเองและคนรอบข้าง และครอบครัวสื่อสารกันมากขึ้น


จึงเป็นโครงการ 6 รูปแบบที่เป็นมิติการทำงานที่ท้าทายและเข้าถึงยาก ต่อการทำงานด้านสุขภาวะทางเพศที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นโครงการ และเผยแพร่ผลการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่จะไปปรับใช้ และขยายผลในกลุ่มเป้าหมาย 6 โครงการดังกล่าวต่อไป

 

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads