วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

ม.ขอนแก่น จับมือ 3 พันธมิตร มหาวิทยาลัย จัดถกวิชาการด้านบริหารธุรกิจระดับนานาชาติ

ม.ขอนแก่น จับมือ 3 พันธมิตร มหาวิทยาลัย จัดถกวิชาการด้านบริหารธุรกิจระดับนานาชาติ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ม.ขอนแก่น จับมือ 3 พันธมิตร มหาวิทยาลัย จัดถกวิชาการด้านบริหารธุรกิจระดับนานาชาติ
ปรากฎการณ์ ของความร่วมมือรวมตัวกันของมหาวิทยาลัยหลักที่มีการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจใน4 ภูมิภาคของประเทศไทยจัด “การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี (INCBAA 2018) “เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและวิชาการในศาสตร์ทางบริหารธุรกิจและการบัญชีของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

        เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 22 กุมพาพันธ์ ที่ห้องออคิด บอลลรูม 2 โรงแรมพูลแมนขอนแก่น ราชา ออคิด จ.ขอนแก่น ผศ.ดร.เด่นพงษ์  สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและสื่อสารองค์กร ม.ขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี (INCBAA 2018) โดยมี ดร.อภิชัย  สมบูรณ์ปกรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข. ผศ.ดร.บุษบง   ชัยเจริญวัฒนะ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ รศ.ดร.สิริวุฒิ   บุรณพิร คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.เชียงใหม่  ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย   เศรษฐ์อนวัช  คณบดีคณะการจัดการและการท่องเที่ยว ม.บูรพา  ตลอดจนนักศึกษา คณาจารย์ และนักวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีสู่จากในประเทศและต่างประเทศที่ให้เกียรติเข้าร่วมในการจัดประชุมวิชาการฯ จำนวนทั้งสิ้น 150 คน

ผศ.ดร.เด่นพงษ์  สุดภักดี

ผศ.ดร.เด่นพงษ์  สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและสื่อสารองค์กร ม.ขอนแก่น กล่าวว่า การพัฒนาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในอีก 10 -20 ปีข้างหน้า ได้จัดทำแผนพัฒนา ซึ่งในส่วนนี้ได้นำเอาเครื่องมือการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่นให้อยู่เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สำหรับคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเรียนรู้ และให้เหมาะกับการที่จะเข้ามาทำงานในยุคหน้า ประมาณว่าตามคาดการณ์น่าจะเป็นอย่างไร จะได้จัดเตรียมสภาพแวดล้อมไว้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อที่จะทำให้เด็กๆของเราที่จะออกไปทำงานในวันหน้าจะได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นสะก่อน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจจะตรงบ้างไม่ตรงบ้าง แต่คาดว่าสามารถพัฒนาการทำงานในอนาคตข้างหน้าได้ การประชุมในวันนี้ก็เช่นกัน ก็ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมอีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน ทำให้เขาได้รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี จะทำให้พวกเขาได้เรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆอย่างไรได้บ้าง

  รศ.ดร.สิริวุฒิ   บุรณพิร  

รศ.ดร.สิริวุฒิ   บุรณพิร คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า งานของ INCBAA ชื่อจริงคือเครือข่ายเชื่อมโยงอันแน่นแฟ้นของผองเพื่อนในวงการบริหารธุรกิจและการบัญชี ของ 4 สถาบันหลักในภูมิภาค ที่เราเห็นแล้วว่าถ้าต่างคนต่างจัดงาน หรือต่างคนต่างทำวิจัย จะส่งผลกระทบต่อบ้านเมืองก็คงยังไม่มาก เหมือนกับไม้ซีก อันเล็กๆเมื่อเอามารวมตัวกันแล้วจะทำให้เกิดพลังเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นพลังทั้งวงวิชาการเอง อีกทั้งเป็นพลังของวงบริหารธุรกิจด้วย สิ่งที่เราร่วมมือกันนั้นในการสัมมนาประชุมกันในครั้งนี้ โดย ก่อนหน้านี้ได้มีการปูพื้นกิจกรรมอย่าง เช่น การวิจัยร่วมกัน และนำเสนอผลงานตรงนี้  เชิญชวนเพื่อนๆของสถาบันในประเทศ และเพื่อนๆจากต่างประเทศ และนอกจากนั้นยังมีความร่วมมือด้านอื่น อย่างเช่นการแลกเปลี่ยนของนายกสมาคมนักศึกษา หรือนายกสโมสรวางสถาบัน และทีมนักศึกษามาทำกิจกรรมร่วมกัน เรามีการวางแผนที่จะแลกเปลี่ยนคณาจารย์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ของวงการบริหารธุรกิจและการบัญชีร่วมกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

      เป็นการคัดเลือกเอานักศึกษาที่มีคุณภาพที่มีภาวะผู้นำได้มาพบปะเจอกันและมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันด้วย โดยตนเองมีความเชื่อมั่นว่าการจัดงาน การประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี ในครั้งหน้าที่ มช.โดยเป็นการเรียงตามตัวอักษรที่ขึ้นหน้าของมหาวิทยาลัยโดย 4 ปีพบกัน 1 ครั้ง

ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย   เศรษฐ์อนวัช

  ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย   เศรษฐ์อนวัช  คณบดีคณะการจัดการและการท่องเที่ยว ม.บูรพา กล่าวว่า ความร่วมมือ 3 พันธมิตรของ 4 มหาวิทยาลัย สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ จะพัฒนาความแข่งแกร่งทางวิชาการร่วมกัน ในโลกปัจจุบันบริหารธุรกิจเป็นสิ่งที่จะตอบโจทก์โลก ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นโลกที่ซับซ้อน คำถามคือ ถ้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยงานหลักทางวิชาการของประเทศไม่มารวมความเข้มแข่งเอาวิชาการมาพัฒนา แล้วสร้างองค์ความรู้ที่ดีๆนำไปพัฒนาให้กับภาคอุตสาหกรรม ตรงนั้นคือสิ่งภาคอุตสาหกรรมเรียกร้องมาว่าจะตอบสนองโจทก์เขาได้อย่างไร โดยที่ 4 มหาวิทยาลัยหลักได้ตระหนักถึงว่าจะทำอย่างไรขึ้นเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ประเทศชาติ เพราะว่าเวลานั้นโลกแห่งการแข่งขันมันมีมาสูงมาก จุดเด่นของทั้ง 4 มหาวิทยาลัยคือ ความเข้มแข็งทางวิชาการแต่เมื่อใดมีการมารวมตัวกันเกิดขึ้นมันจะมีแรงขับเคลื่อนทวีคูณ ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งทางภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม จากองค์ความรู้ที่ได้ เพราะเป็นการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยมาแลกเปลี่ยนหล่อหลอมความรู้ทั้งหมดขึ้น

ผศ. ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ

ผศ. ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2561 ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ  ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจาก 4 คณะด้านบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยใน 4 ภูมิภาคหลักของไทย อันประกอบไปด้วย ม.เชียงใหม่  ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ และม.บูรพา ความร่วมมือดังกล่าว เกิดจากความตั้งใจของ 4 สถาบัน ที่ต้องการร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและสร้างสรรค์ผลงานที่ก่อประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติ โดยทั้ง 4 สถาบันให้คำมั่นที่จะร่วมมือกันในการวิจัย การจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวิชาการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสถาบันที่ร่วมมือในเครือข่ายและต่อสังคมโดยรวม ในนามของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดิฉันขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกสถาบันที่ได้ร่วมกันจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะร่วมมือกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

รศ.ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช

ด้านรศ.ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ม.ขอนแก่น กล่าวว่า ในนามคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีครั้งที่ 1 (INCBAA Conference) รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่นักศึกษา คณาจารย์ และนักวิชาการทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีสู่จากในประเทศและต่างประเทศที่ให้เกียรติเข้าร่วมในการจัดประชุมวิชาการฯครั้งนี้       
     “การจัดประชุมวิชาการในวันนี้นั้นเกิดขึ้นจากการจัดตั้ง “เครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ (Thailand Regional Business Schools Network: TRBS NET)”ซึ่งประกอบด้วย 4 สถาบันคือคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะการจัดการและการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยบูรพาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่นหนึ่งในกิจกรรมหลักของเครือข่ายคือการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิจัยให้กับศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีในอนาคตซึ่งมีกำหนดจัดการประชุม
วิชาการฯทุกๆ 2 ปีโดยเวียนจัดในกลุ่มสมาชิกและครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นทั้งนี้เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระหว่างนักศึกษาคณาจารย์และนักวิชาการตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน”


คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.กล่าวต่อไปว่า สำหรับการประชุมวิชาการในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน” เป็นโอกาสอันดีของภาคธุรกิจของเรา ที่จะนำเอารูปแบบนวัตกรรม แนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจเพราะในปัจจุบัน “นวัตกรรม” นับว่าเป็นยุทธศาสตร์หลักและนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆในประเทศไทยมีความตื่นตัวและเริ่มให้ความ สําคัญกับการสร้างนวัตกรรมอย่างมากโดยเฉพาะองค์กรภาคธุรกิจที่มีการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้เกิดการคิดนอกกรอบและ “นวัตกรรม”ยังเป็นตัวแปรที่สําคัญทางเศรษฐกิจ


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่จําเป็นต้องมีการผลักดันนวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอีกทั้งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันดีว่า“นวัตกรรม”ไม่ได้มีส่วนสําคัญเฉพาะการพัฒนาธุรกิจเท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศด้วยทั้งนี้การสร้างนวัตกรรมในแต่ละธุรกิจย่อมแตกต่างกันไปตามแต่สภาวการณ์และบริบทบางธุรกิจอาจเหมาะกับการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในขณะที่บางธุรกิจอาจเหมาะกับนวัตกรรมในด้านกระบวนการหรือในด้านบริการเพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับธุรกิจของตนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเงินทุนบุคลากรหรือเวลาดังนั้นแต่ละธุรกิจจึงควรหานวัตกรรมที่เหมาะสมกับตนมากที่สุดเพื่อให้เกิดความเป็นที่หนึ่งหรือผู้นําในธุรกิจด้านนั้นๆ”

       “ท้ายที่สุดนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นในงานประชุมฯ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ หรือโมเดลต่างๆ จากการนำเสนอภายในงาน จะถูกนำมาปรับใช้ใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายขับเคลื่อนนวัตกรรมในแวดวงธุรกิจของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมคู่แข่งนานาประเทศ ซึ่งสิ่งนี้เองจะเป็นกุญแจหลักที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากลได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน”รศ.ดร.เพ็ญศรี กล่าว

 

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads