วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

กช.ยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชน รองรับพื้นที่เศรษฐกิจ พิเศษ และพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก

กช.ยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชน รองรับพื้นที่เศรษฐกิจ พิเศษ และพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

กช.ยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชน รองรับพื้นที่เศรษฐกิจ พิเศษ และพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก

ติวเข้ม การศึกษาเอกชน ให้มีศักยภาพจัดการเรียนการสอนในการยกระดับคุณภาพ พร้อมพัฒนาทักษะ ที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ            เมื่อเวลา 09.00 น วันที่ 23 เมษายน ที่ โรงแรมวีวิช อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดร.พะโยม  ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นประธานในพิธี เปิดการประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพครู ให้มีศักยภาพจัดการเรียนการสอน ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชน เพื่อรองรับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมี นายสุวัฒน์ชัย แสนราช รองศึกษาธิการ จ.ขอนแก่น นายพิชิต บุตรศรีสวย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศึกษาเอกชน ศธจ.ขอนแก่น ดร.พงษ์ศักดิ์  ภูกาบขาว ศึกษานิเทศน์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด จำนวน 300 คน เข้าร่วมประชุม

                                               ดร.พะโยม ชิณวงศ์

ดร.พะโยม ชิณวงศ์  เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวว่า ภาพความทรงจำเมื่อย้อนกลับไปในอดีต 100 ปีที่ผ่านมา ความภาคภูมิใจในการศึกษาเอกชนคือการศึกษาที่นำร่องของประเทศ ซึ่งเห็นได้จากการที่โรงเรียนเอกชนนำหน้าในการจัดการศึกษาของประเทศมาโดยตลอด ทั้งการจัดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การสอนภาษาอังกฤษ การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดการคิดค้นตลอดเวลาปัจจุบันการศึกษาเอกชนต้องปรับตัวมากขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กเปลี่ยนไป จึงมีประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการดังนี้ หนึ่ง การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมที่เด็กสามารถเรียนรู้จากทั่วโลกได้ในห้องเรียน

ดร.พะโยม กล่าวด้วยว่า มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าโรงเรียนเอกชนจะเป็นผู้นำในการขยายผลโลกอนาคตของการศึกษา เพราะขณะนี้มีโรงเรียนในระบบและนอกระบบที่จะมาเสริมกัน เช่น เสริมทักษะ เสริมวิชาการ โดยมีครูเก่ง ๆ จำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลต่างให้การสนับสนุน เช่น ติวฟรีดอทคอม เพราะต้องยอมรับว่า สิ่งนี้คือโลกใหม่ของการจัดการศึกษาสอง เพิ่มความรู้ทักษะอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงทักษะทางวิชาการ แต่ต้องมีทักษะในการใช้ชีวิต ทักษะทางอาชีพ ซึ่งครูต้องแนะนำให้เด็กเพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสาม การสอนให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้รู้ถึงวิถีความเป็นไทย โดยน้อมรับแนวคิดของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแนะองค์ 4 คือ พุทธศึกษา, จริยศึกษา, หัตถศึกษา และพลศึกษา ด้วยการนำมาใช้จัดการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนเก่งมากขึ้นสี่ พลานามัย การใส่ใจต่อสุขภาพของเด็ก ซึ่งพบว่าเด็กมีภาวะโภชนาการเกินในระดับประถมศึกษา 19% มัธยมศึกษาสูงถึง 36% ทั้งยังพบว่ามีไขมันในเลือดสูงถึง 60% ฉะนั้น โลกอนาคตไม่ใช่เพียงเก่งวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม แต่ต้องสุขภาพดีด้วย

 

ดร.พะโยม กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดการศึกษาเอกชนในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า รัฐและเอกชนจะร่วมกันจัดการศึกษา 50 : 50 เพราะขณะนี้รัฐจัดการศึกษาเองถึง 78% ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เป็นไปได้คือนโยบายโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศชัดเจนว่า ต้องให้เอกชนเข้ามาช่วยจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนในรูปแบบของภาคเอกชนเอง โดยเครือข่ายสมาคมต้องวางแผนร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างเดินหน้าแข่งขันกันเอง

        “รวมถึงการจัดการเชิงพื้นที่ในแต่ละจังหวัดให้มากยิ่งขึ้น เพราะมีคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ปส.กช.) รวมถึงคณะกรรมการศึกษาธิการ (ศธจ.) ทุกจังหวัด ซึ่งการบริหารจัดการเชิงพื้นที่สำคัญมาก ทั้งนั้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมาย ความร่วมมือของภาคเอกชนจึงอย่ามองว่าเป็นคู่แข่งกัน แต่ต้องช่วยกันยกระดับให้มีคุณภาพ และไปสร้างเครือข่ายกับภาครัฐ หน่วยงานในพื้นที่ให้ได้ จึงจะบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ” เราอยากให้ประชาชนทั่วไปมองการจัดการศึกษาเอกชนไม่ใช่เชิงธุรกิจ ขอให้ไว้วางใจว่าเอกชนจะพลิกสถานการณ์เพื่อสร้างคุณภาพทางการศึกษาของประเทศ และอยากให้ภาคเอกชนที่มีกำลังไม่มากพอ ขอให้รัฐช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น เพียงครึ่งหนึ่งหรือ 3 ใน 4 ที่รัฐสนับสนุนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นายสุวัฒน์ชัย  แสนราช

ด้านนายสุวัฒน์ชัย  แสนราช รองศึกษาธิการ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ตามที่นโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 ซึ่งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทยในระยะแรก 2558 มี 5 จังหวัดได้แก่ ตาก ตราด สระแก้ว มุกดาหาร และสงขลา ส่วนระยะที่ 2 มี 5 จังหวัดได้แก่หนองคาย นครพนม เชียงราย กาญจนบุรี และนราธิวาส เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 กำหนดแนวทางในการรองรับการเชื่อมโยงภูมิภาค และความเป็นเมืองการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก ของเมืองการพัฒนา

นายสุวัฒน์ชัย  กล่าวอีกว่า ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เชื่อมกับเพื่อนบ้านส่งเสริมการลงทุนการค้าขายชายแดนและการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสำหรับแผนการเชื่อม กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมการลงทุนการค้าขายชายแดนและการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับแผนการศึกษาแห่งชาติกำหนดเป้าหมายให้ทุกคนช่วงวัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ กำลังคนที่มีทักษะ ที่สำคัญจำเป็น และมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สำหรับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายสุวัฒน์ชัย  กล่าวด้วยว่า สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่นได้รับมอบหมาย จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมศึกษาเอกชนให้เป็นจุดพัฒนาครูให้มีศักยภาพจัดการเรียนการสอนในการยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชนเพื่อรองรับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจึงได้จัดการประชุมตามโครงการดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1 เพื่อให้ผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาเอกชนมีศักยภาพ จัดการเรียนการสอนในการยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชน เพื่อรองรับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads