วันพุธ 24 เมษายน 2024

ศธ. จัดถก! ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

ศธ. จัดถก! ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ศธ. จัดถก! ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

กระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม  ยั่งยืน ภายใต้กรอบหลักในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน  10 เรื่อง  เชื่อมโยงการดำเนินงานในทุกระดับ  เพื่อเป็นการสร้าง ความเข้าใจในการดำเนินงาน  ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นทีมขับเคลื่อนการพัฒนา

เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น (ไคซ์) จังหวัดขอนแก่น  พลเอก สุรเชษฐ์  ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิด การประชุมทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2561 โดยมี นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน.  ดร.บุญส่ง จำปาโพธิ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  พล.ต.กาจบดินทร์   ยิ่งดอน รอง ผอ.รักษาความมั่นภายในจังหวัดขอนแก่น   ดร.เชิดศักดิ์ ศรีสง่าชัย ศธจ.ขอนแก่น   ผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ ร.ท.สมปอง  วิมาโร ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดขอนแก่น  ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครู กศน.ตำบล ที่เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ ไทยนิยม ยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 3,020 คน

  พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันว่านายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ เพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคงของชาติไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มี คุณค่า เพื่อผลิตกำลังคน สร้างพลังทางสังคม และลดการเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นการกระจาย โอกาสอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม เพื่อการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยจะไม่ทิ้งใคร  ไว้ข้างหลัง และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” และการพัฒนาประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

พลเอก สุรเชษฐ์  กล่าวอีกว่า โดยการดำเนินการของส่วนราชการต่างๆ ที่ผ่านมา ต่างคนต่างทำ ขาดการบูรณาการ ร่วมกัน ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน และกลายเป็นภาระให้กับประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องมี การบริหารงานในรูปแบบ “ไทยนิยม ยั่งยืน” เพื่อบูรณาการงานของรัฐบาล  และทุกกระทรวง โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน  สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือ การสร้างการเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับประชาชน ด้วยความตั้งใจ  ส่งผลให้เกิดความรักสามัคคีปรองดองกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น  ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้น้อยลง  ขณะเดียวกัน การท างานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้มีการบูรณาการร่วมกับประชาชนด้วยการ ยึดถือความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาอาชีพด้าน การเกษตรแก่ประชาชน พร้อมร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรควบคู่ไปด้วยซึ่งจะส่งผลให้ผลิตผลทางการเกษตรดีขึ้น

พลเอก สุรเชษฐ์  กล่าวด้วยว่าในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ มีบุคลากร ที่เป็นตัวแทนของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ ซึ่งส่วนมากเป็นครู กศน. ให้ถือเป็นตัวแทน ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยตรงและเป็นแกนหลักในการประสานงานระดับพื้นที่  โดยครูเหล่านี้สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการโครงการไทยนิยม ยั่งยืน  ในระดับตำบลได้ และสามารถดึงผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาขององค์กรหลักอื่น เข้าไปเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการท างานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการประชุมทีมขับเคลื่อน ในครั้งนี้ คือ การที่ทุกท่าน  ได้เข้ามาร่วมมือร่วมใจ และรวมพลังในการท างานตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ  ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านจะเป็นกลไก สำคัญที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง  มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมตามนโยบายของรัฐบาล บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดการประชุมทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด

   นายกฤตชัย  อรุณรัตน์    

นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการ กศน. กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ มีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม  ยั่งยืน ภายใต้กรอบหลักในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน  10 เรื่อง โดยการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงการดำเนินงานในทุกระดับ ดังนั้น ในการประชุมทีมขับเคลื่อน ในครั้งนี้ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้าง ความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

          นายกฤตชัย กล่าวด้วยว่า เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นทีมขับเคลื่อนการพัฒนา ประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม/โครงการ ภายใต้ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อน  ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ  และกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประชุมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1. ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 คน 2. ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 322 คน 3. ครู กศน. ตำบล ที่เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการ ไทยนิยม ยั่งยืน ในระดับตำบล ตำบลละ 1 คน ในเขตพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2,678 คน  รวมผู้เข้าร่วมประชุม ในครั้งนี้ จำนวน 3,020 คน

  ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยมีพื้นที่เป้าหมายในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จำนวน 26 อำเภอ จำนวน 199 ตำบล จำนวน 2,331 หมู่บ้าน 186 ชุมชน เป้าหมายผู้เข้าร่วมเวที จำนวน 251,700 คน (เฉลี่ยหมู่บ้านละ 100 คน)  สรุปผลการลงพื้นที่เวทีที่ 1 (ปรับทุกข์ ผูกมิตร) ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จังหวัด ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 20 มีนาคม 2561 รวมลงพื้นที่ 26 อำเภอ 2,517 หมู่บ้าน/ชุม (ร้อยละ 100) มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 293,058 คน  สรุปผลการลงพื้นที่เวทีที่ 2 (ติดตาม ถามไถ่) ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จังหวัดขอนแก่น  ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม– 10 เมษายน 2561 รวมลงพื้นที่ 26 อำเภอ 2,517 หมู่บ้าน/ชุม   (ร้อยละ 100) มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 264,359 คน

สรุปปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชน จากเวทีประชาคม ครั้งที่ 1 ของทีมขับเคลื่อนฯ  ระดับตำบล 5 ปัญหาเร่งด่วน ดังนี้ 1. โครงสร้างพื้นฐาน เรื่อง ถนน จำนวน 2,760 รายการ 2. การส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต เรื่อง การฝึกอาชีพ จำนวน 887 รายการ 3. การเกษตร เรื่อง การเลี้ยงสัตว์ จำนวน 657 รายการ 4. ด้านความมั่นคง เรื่อง ยาเสพติด 616 รายการ 5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยะ จำนวน 392 รายการ

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads