วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

ศิริราช ม.มหิดล จับมือ รร.โสตฯ ขอนแก่น จัด นิทรรศการสัมผัส เรียนรู้ได้ไม่จำกัด

ศิริราช ม.มหิดล จับมือ รร.โสตฯ ขอนแก่น จัด นิทรรศการสัมผัส เรียนรู้ได้ไม่จำกัด
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ศิริราช ม.มหิดล จับมือ รร.โสตฯ ขอนแก่น จัด นิทรรศการสัมผัส เรียนรู้ได้ไม่จำกัด

หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัด “นิทรรศการสัมผัส เรียนรู้ได้ไม่จำกัด” เผยแพร่ชวนผู้บกพร่องทางร่างกายเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ 8 ฐานหลักจริง ด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนไทย

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 27 มิ.ย. ที่โรงเรียนโสตศึกษา จ.ขอนแก่น ผศ.นพ.ยุทธนา  อุดมพร รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธานเปิดนิทรรศการสัมผัส เรียนรู้ได้ไม่จำกัด ซึ่งหน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดกิจกรรมขึ้น โดยมี รศ.พญ.ตุ้มทิพย์  แสงรุจิ หน.หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช  นพ.พีระ   อารีรัตน์ นายแพทย์ สสจ.ขอนแก่น ชนะ  โนนทนวงษ์ ผอ.รร.โสตศึกษา จ.ขอนแก่น หน.ส่วนราชการ ครูและนักเรียน ร่วมงาน ที่อาคารอเนกประสงค์ รร.โสตศึกษา จ.ขอนแก่น โดยมีผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายหลายจังหวัดของภาคอีสานเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 300 คน

ผศ.นพ.ยุทธนา อุดมพร

ผศ.นพ.ยุทธนา อุดมพร รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า นิทรรศการสัมผัส เรียนรู้ได้ไม่จำกัด เป็นการจัดแสดงนิทรรศการในสาระการเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อให้ผู้พิการได้รับความรู้ด้านการแพทย์และการดูแลสุขอนามัยของตนเอง โดย จ.ขอนแก่น ได้กำหนดจัดนิทรรศการตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 11 ก.ค. ในฐานการเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย รวมทั้งหมด 8 ฐาน” การกำหนดจัดนิทรรศการดังกล่าวของหน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช เป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันในทุกภูมิภาคของไทย โดยที่ขอนแก่น ได้กำหนดจัดกิจกรรมเป็นเวลา 15 วัน โดยไม่มีวันหยุด ประกอบด้วยฐานพัฒนาการทารกและเด็กแฝด,ฐานความมหัศจรรย์ของสมอง,ฐานซีอุย,ฐานบ้านขมิ้นเธียร์เตอร์,ฐานอาจารย์ใหญ่,ฐานสมุนไพร,ฐานการปรุงยาสมุนไพรและฐานฤาษีดัดตนท่าแก้ไหล่แก้ขา”

ผศ.นพ.ยุทธนา กล่าวต่ออีกว่า นิทรรศการดังกล่าวนี้นั้นผู้บกพร่องทางการเห็นจะได้เรียนรู้ด้วยการฟังเสียงบรรยายจากหูฟังเคลื่อนที่และสัมผัสสิ่งแสดงไปพร้อมกัน ขณะที่กลุ่มบกพร่องทางการได้ยินจะได้เรียนรู้ผ่านวีดีทัศน์ภาษามือจากอุปกรณ์แทบเลตที่พกพาง่าย สำหรับผู้ที่มีสายตาปกติ จะใช้ผ้าปิดตาเพื่อให้มีประสบการณ์เช่นเดียวกันกับผู้พิการทางสายตา ที่จะช่วยให้เข้าใจและปลูกฝังการปฏิบัติต่อผู้บกพร่องทางการเห็นได้อย่างเท่าเทียมกันด้วย

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads