วันพฤหัสบดี 18 เมษายน 2024

รร.บ้านโนนรัง สพป.ขอนแก่นเขต 1 เปิดหลักสูตรการทำนาระยะสั้น

รร.บ้านโนนรัง สพป.ขอนแก่นเขต 1 เปิดหลักสูตรการทำนาระยะสั้น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

รร.บ้านโนนรัง สพป.ขอนแก่นเขต 1 เปิดหลักสูตรการทำนาระยะสั้น

 

โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยา เปิดหลักสูตรทำนาระยะสั้น นำนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 ลงแขกดำนาในรายวิชาการงานอาชีพ เผยต้องการเติมเต็มทักษะชีวิตให้เยาวชนได้เรียนรู้อาชีพดั้งเดิมบรรพบุรุษไทย ขณะที่ผลผลิตข้าวที่ได้จะช่วยลดต้นทุนโครงการอาหารกลางวันมีกินกันตลอดปี

        เมื่อเร็วนี้ที่บริเวณทุ่งนาริมห้วยใหญ่ บ.โนนรัง ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1(สพป.ขอนแก่น เขต 1) เป็นประธานเปิดหลักสูตรการทำนาระยะสั้น รายวิชา ง 20201 ประจำปี 2561 ของนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 รร.บ้านโนนรังวิทยา โดยมีนายนิเทศก์ แสงศรีเรือง ผอ.รร.บ้านโนนรังวิทยาคาร ดร.เวหา เลพล ผอ.รร.สนามบิน นายสมยศ ศรีกงพาน ผอ.รร.บ้านหนองหลุบ นายพีระเดช ทิ้งแสน ผอ.รร.บ้านหนองเซียงซุย -โนนสะอาด คณะครู กรรมการสถานศึกษาฯ และนักเรียน รร.บ้านโนนรังวิทยาคาร 30 คน ร่วมลงแขกดำนา

ดร.เวหา เลพล

       ดร.เวหา เลพล ผู้อำนวยการโรงเรียนสนามบิน อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าถึงที่มาของโครงการดังกล่าวว่า สืบเนื่องจากการที่ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร ได้นำโครงการหลักสูตรการทำนา มาปรึกษาหารือ ซึ่งตนพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ดีมาก เด็กนักเรียนจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตการทำนาของบรรพบุรุษ โดยครอบครัวของตนมีพื้นที่นาจำนวน 16 ไร่ จึงได้แบ่งที่นาจำนวน 8 ไร่ ให้กับทางโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหลักสูตรดังกล่าวส่วนผลผลิตข้าวที่ได้ก็จะเป็นของโรงเรียน นำไปใช้ประโยชน์ในโครงการอาหารกลางวันให้นักเรียนมีข้าวกลางวันรับประทานครบทุกคนได้ตลอดปี

       ด.ญ.สุภาภรณ์ แสนทองดี นักเรียนชั้น ม.3 รร.บ้านโนนรังวิทยาคาร บอกว่า หลักสูตรการทำนาระยะสั้น ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการงานอาชีพ ซึ่งพวกตนได้เรียนรู้ทุกขั้นตอนของการทำนา เริ่มตั้งแต่การไถนา การว่านกล้า หลังว่านกล้าได้ราว1 เดือน ก็จะช่วยกันถอนต้นกล้า เพื่อนำไปปักดำ โดยตัดส่วนปลายของต้นกล้าออก ให้เหลือส่วนของลำต้นสูงพอประมาณ แล้วจึงนำไปปักดำต่อไป

         ด.ญ.สุภาภรณ์ บอกอีกว่า หลักสูตรการทำนาที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นนี้ เป็นหลักสูตรที่มีประโยชน์มาก เป็นการลดต้นทุนโครงการอาหารกลางวัน ทางโรงเรียนไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินซื้อข้าว อีกอย่างครอบครัวของตนก็ทำนาเป็นอาชีพหลักอยู่แล้ว ทำให้ตนได้มีความรู้เพิ่มเติมในการทำนาไปช่วยพ่อแม่ที่บ้านเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพราะไม่ต้องซื้อข้าวกิน  และที่สำคัญในปัจจุบันนี้ คนที่จะทำนามีจำนวนลดน้อยถอยลงไปทุกที โดยหลังจากที่ทางโรงเรียนจัดทำหลักสูตรฯนี้ขึ้นมา น่าเป็นแบบอย่างให้ทางโรงเรียนอื่นๆในประเทศไทย นำไปต่อยอด เพื่อให้เกิดผลประโยชน์และรักษาอาชีพเกษตรกรให้คงอยู่สืบทอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

นายนิเทศก์  แสงศรีเรือง

    ด้านนายนิเทศก์  แสงศรีเรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร กล่าวว่า โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร มีนักเรียนทั้งหมด 170 คน มีครูผู้สอน 16 คน ครูพี่เลี้ยง 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คนและนักการภารโรง 1 คน สังกัด สพป.ขอนแก่นเขต 1 สาเหตุที่ทางโรงเรียนจัดทำโครงการหลักสูตรระยะสั้น เรื่องการทำนา เนื่องจากเป็นโรงเรียนขยายโอกาส ที่ทางรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวันให้เฉพาะเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล ถึง ป. 6 เป็นรายหัว 20 บาท/คน เท่านั้น

       ขณะที่นักเรียนชั้นมัธยม ไม่มีงบประมาณสนับสนุนอาหารกลางวันให้เมื่อเป็นเช่นนี้ทางโรงเรียนจึงหาวิธีการคือทำอย่างไร ให้นักเรียนมีอาหารกลางวันกินเพียงพอ โดยเด็กมัธยมได้กินฟรีฟรีเหมือนกับนักเรียนประถมศึกษา จึงได้ทำหลักสูตรทำนาขึ้นที่โรงเรียน โดยมีผู้ใจบุญคือ ดร.เวหา เลพล และครอบครัวได้อนุเคราะห์พื้นที่นาจำนวน 8 ไร่ ให้เป็นแปลงนาสำหรับศึกษาเล่าเรียน ในหลักสูตรระยะสั้นดังกล่าว นายนิเทศก์กล่าวและว่า

 

       สำหรับผลผลิตที่ได้ในอีก3-4 เดือนข้างหน้าก็จะนำไปเป็นอาหารกลางวัน สมทบกับงบประมาณที่ทางรัฐบาลให้มา เพราะไม่ได้ซื้อข้าว แต่จะเอาเงินตรงนั้นมาเป็นช่วยนักเรียนขยายโอกาส ที่สำคัญเรื่องการฝึกวิชาชีพระยะสั้นการทำนา เป็นอาชีพหลักของคนไทย อยากให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ถึงความลำบากกว่าที่จะได้ข้าวแต่ละเม็ด

 ดร.ภูมิพัทร  เรืองแหล่

     ดร.ภูมิพัทร เรืองแหล่ ผอ. สพป.ขอนแก่น เขต 1 กล่าวว่า หลักสูตรการทำนา ของโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร ดังกล่าวเปรียบได้ดั่งคำกล่าวว่าที่ว่า “ปักดำในวันแม่ แล้วไปเก็บเกี่ยวในวันพ่อ แล้วนำผลผลิตที่ได้นำๆไปสนับสนุนเป็นค่าอาหารกลางวัน ไปดูแลเรื่องหลักโภชนาการในโปรแกรม Thai School Lunch ถือเป็นโรงเรียนต้นแบบ เป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดกิจกรรมอาหารกลางวันตามแนวพระราชดำริตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ หากถามว่าผู้ปกครองพอใจไหมกับหลักสูตรสอนลูกหลานเรียนรู้การทำนา จากการสอบถามผู้ปกครองแต่ละท่านพอใจมากที่นักเรียนจะได้มีทักษะในอาชีพและทักษะชีวิต นอกเหนือจากเรียนวิชาการอื่นๆในห้องเรียน ซึ่งหลักสูตรการทำนาจะช่วยปลูกฝังทักษะด้านต่างๆในชีวิตประจำวัน ฝึกความอดทน ฝึกความมานะพยายาม มีทักษะในการประกอบอาชีพต่อไป

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads