วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

ยกระดับ!คุณภาพชีวิตของชุมชนรอบ “โรงโม่หินเทพประทานพร” อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น

ยกระดับ!คุณภาพชีวิตของชุมชนรอบ “โรงโม่หินเทพประทานพร” อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ยกระดับ!คุณภาพชีวิตของชุมชนรอบ “โรงโม่หินเทพประทานพร” อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น

บริษัทที่ปรึกษาโครงการขอประทานบัตรโรงโม่หินแห่งใหม่เทพประทานพร ใน อ.ภูผาม่านเปิดเวทีรับฟังความเห็นชาวบ้านใน 3 ตำบลต่อรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ สวล. พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิต ด้านชาวบ้านมั่นใจภาครัฐช่วยเป็นหูเป็นตาหากมีปัญหาและเห็นด้วยจะได้มีงานทำรายได้เพิ่ม

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 11030 น.วันที่ 6 ก.ย. บริษัท ทอพ-คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัด ได้จัดประชุมรับฟังความเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รัศมี 2 กม.จากที่ตั้งโครงการโรงโม่หินแห่งใหม่ แหล่งหินภูถ้ำแกลบ ที่ ต.นาฝาย อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น ประกอบด้วย ชาวชุมชน ต.นาฝาย 4 หมู่บ้าน ,ชาว ต.วังสวาบ 4 หมู่บ้าน และจากชาวชุมชน ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ อีกจำนวน 3 หมู่บ้าน โดยมีนายดิเรก รัตนวิชช์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ทอพ – คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัด และผู้ชำนาญการ ด้านสิ่งแวดล้อม นางศิริรัตน์พลชา นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นายปรัชญา ทองแท่งไทย นายกองค์การบริหารส่วนตําบลวังสวาบ นายอรรณพ กลิ่นทอง ผู้จัดการทั่วไปโรงโม่หินเทพประทานพร นายนพดล กรุมดำ ปลัดอบต ทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิตัวแทนส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นทั้ง 3 ตำบลรวมกันแล้วร่วมพันคน

สำหรับบริษัททอพ-คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัด เป็นผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม(Public Review) โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างของ นางสาวปิยธิดา ทองแท่งไทย ตามคำขอประทานบัตรที่ 2/2559 ตั้งอยู่ หมู่ 3 ต.นาฝาย อ.ภูผาม่าน

โดยก่อนเริ่มเปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการฯ ทางผู้แทนบริษัท ทอพ-คลาส คอนซัลแทนท์ จำกัด กล่าวกับชาวบ้านว่า ต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกท่านที่ได้สละเวลาเข้าร่วมประชุม เพราะทุกความคิดเห็นของพี่น้องในที่ประชุมถือเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและช่วยให้การศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและมีความโปร่งใสเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องทั้งหมดนั่นเอง

      นายปรัชญา ทองแท่งไทย

นายปรัชญา ทองแท่งไทย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต)วังสวาบ อ.ภูผาม่าน กล่าวถึงการจัดประชุมรับฟังความเห็นของชาวบ้านชุมชนที่มีส่วนได้เสียจากโครงการฯถือเป็นเรื่องดีมาก ประชานเองก็ตื่นตัวที่ได้เข้ามาร่วมรับฟังรายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ มีประเด็นไหนที่ไม่ชัดเจน เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็สามารถแสดงความเห็นได้เพื่อที่ทางบริษัทที่ปรึกษาจะได้นำข้อมูลความเห็นเหล่านั้นไปปรับปรุงเพิ่มเติมการจัดทำรายงานต่อไป

สำหรับโครงการโรงโม่หินเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาฝาย แต่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะต้องจัดทำให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ในรัศมี 2 กม. กินพื้นที่ทั้งหมด 3 ตำบล คือทั้ง ต.วังสวาบ ต.นาฝาย อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น และ ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

   “พื้นที่ขอประทานบัตรใหม่อยู่ในพื้นที่ผืนเดียวกันกับโรงโม่เทพประทานพรที่ทำอยู่แล้วมานานกว่า 20 ปี จุดที่ตั้งของโรงโม่ค่อนข้างไกลชุมชน ทั้งยังมีการจัดทำแนวกั้นหรือบัพเฟอร์โซนเป็นอย่างดี ไม่เคยสร้างผลกระทบให้กับชุมชนแต่อย่างใด กระนั้นก็ตามการดำเนินการทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย”นายปรัชญากล่าว

       นายเกียรติศักดิ์ สุดแสง

ขณะที่นายเกียรติศักดิ์ สุดแสง อายุ 40 ปีชาวบ้านฝายตาสวน ต.วังสวาบ บอกว่ามาประชุมครั้งนี้ได้รู้ข้อมูลหลายอย่างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมาตรการการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ให้ส่งผลกระทบกับชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงกับโรงโม่ เป็นการประชุมที่ยอมรับฟังความเห็นชาวบ้าน แต่ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับการตั้งโรงโม่ เพราะจะได้มีงานทำใกล้บ้าน

“เขาบอกว่าชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ 3 ตำบลใกล้กับแนวเขตการขอประทานบัตรจะได้รับการพิจารณาเข้าทำงานเป็นกรณีพิเศษ เพื่อจะได้มีรายได้ที่แน่นอนมั่นคงนอกเหนือจากการทำไร่ทำนา นอกจากนี้ทางโรงโม่หินยังมีโครงการจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตขึ้นในแต่ละหมู่บ้านให้อีกด้วย ”นายเกียรติศักดิ์บอก

ด้านนายวัชรพล สอนคูณแก้ว อายุ 49 ปี บ้านเลขที่ 44 หมู่ 1 บ้านห้วยแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 1ในชาวบ้านที่เดินทางร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วยกล่าวว่าในประเด็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพของคนในชุมชนที่อาจได้รับจากโรงโม่หินแห่งใหม่นั้นตนไม่กลัว เพราะมีหน่วยงานรัฐระดับอำเภอที่เกี่ยวข้องคอยดูแลอยู่ ทาง อบต.ทุ่งพระเองก็บอกว่าหากมีการลงทุนใหม่ๆเกิดขึ้นในพื้นที่จะช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

“มีโรงงานใกล้บ้านจะช่วยให้ลูกหลานไม่ต้องพากันเข้ากรุงเทพไปหางานทำกันอีก อยู่ไกลกันก็เป็นห่วง ต่อไปจะได้ทำงานในท้องถิ่นนี่แหละ รายได้อาจจะไม่เท่ากับโรงงานที่กรุงเทพแต่ค่าใช้จ่ายก็ประหยัดกว่า ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา”นายวัชรพลกล่าว

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads