วันอังคาร 19 มีนาคม 2024

“สคร.7 “แจง!ความเสี่ยงเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ให้สื่อ”ร้อยแก่นสารสินธุ์””

“สคร.7 “แจง!ความเสี่ยงเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ให้สื่อ”ร้อยแก่นสารสินธุ์””
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“สคร.7 “แจง!ความเสี่ยงเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ให้สื่อ”ร้อยแก่นสารสินธุ์”


“สคร.7 จ.ขอนแก่น “แจง!ความเสี่ยงเรื่องโรคและภัยสุขภาพแก่”เครือข่ายสื่อสารสาธารณะทั้งภาครัฐและเอกชน”


เมื่อเวลา 08.45 น. วันที่ 13 ธ.ค. ที่ ห้องประชุมอาคาร 6 ชั้น 3 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.ขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผอ.สคร. 7 จ.ขอนแก่น เป็นประธานการประชุมราชการเพื่อชี้แจง“การดำเนินงานในการเฝ้าระวังตอบโต้ข้อมูลข่าวสารและสื่อสารความเสี่ยงเรื่องโรคและภัยสุขภาพ แก่เครือข่ายสื่อสารสาธารณะทั้งภาครัฐและเอกชน” โดยมี ดร.เกษร แถวโนนงิ้ว รอง ผอ.สคร. 7 จ.ขอนแก่น นางกนกพร พินิจลึก PCM โรค หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และเครือข่ายสื่อสารสาธารณะทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มร้อยแก่น -สาร – สินธุ์ จำนวน 90 คน เข้าร่วมประชุม

นพ.ธีรวัฒน์  วลัยเสถียร
นพ.ธีรวัฒน์  วลัยเสถียร ผอ.สคร. 7 จ.ขอนแก่น กล่าวว่า งานการสื่อสารความเสี่ยง มีบทบาทสำคัญในการบริหารความเสี่ยงทางสุขภาพ การสื่อสารความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สังคม และศิลปะในการส่งสารออกไปสู่สาธารณชน ดังนั้นการทำงานจึงเกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก และด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ที่คุกคามประชาชนที่สำคัญ โดยเน้นการเร่งรัดการกำจัดและกวาดล้างโรคที่เป็นพันธะสัญญากับนานาชาติ ได้กำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญๆ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้โรคติดต่อประจำถิ่นกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนให้น้อยที่สุด ลดการตีตราหรือเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคติดต่อทุกชนิด ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องอาศัยมาตรการ การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน


นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวด้วยว่าในปัจจุบันช่องทางการสื่อสาร ที่สามารถเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การสื่อสารผ่านโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ซึ่งกระทรวงได้ใช้ช่องทางดังกล่าวอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง เน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล ให้เกิดประสิทธิผลต่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ด้วยกระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ การจัดทำประเด็นการสื่อสารที่ถูกต้อง ทันเหตุการณ์ การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการดำเนินงานทั้งภายในและนอกองค์กร ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพต่างๆ ที่ไปตามช่องทางการสื่อสารต่างๆ จะต้องมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานคือ ความรวดเร็ว ทันท่วงที ชัดเจน ถูกต้อง ตรงประเด็น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ.

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads