วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

ม.ขอนแก่น  เติมเต็มร้านค้าปลีกขอนแก่น

ม.ขอนแก่น  เติมเต็มร้านค้าปลีกขอนแก่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ม.ขอนแก่น  เติมเต็มร้านค้าปลีกขอนแก่น

 ให้ความรู้ เน้นดีไซน์ เก๋ไก๋ จูงใจผู้บริโภค เชื่อมโยงSMEs เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระยะที่ 1ส่งเสริมทางด้านการขายอย่างยั่งยืนและเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงร้านค้าย่อย การขยายตัวอย่างรวดเร็ว


เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ อาคารอเนกประสงค์สิม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการเสวนาแนวทางการออกแบบปรับปรุงร้านค้าปลีกจังหวัดขอนแก่น ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่น เชื่อมโยงSMEs เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระยะที่ 1 (KKU Linkage for SMEs Competitive Competency : Phase 1) ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์คณะศิลปกรรมศาสตร์หอการค้าจังหวัดขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.กิตติชัย    ไตรรัตนศิริชัย   อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานเปิดงาน รศ.ดร.ชูพงษ์  ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ในการนี้มีคณาจารย์ผู้ดูแลโครงการผู้ประกอบการนักศึกษาและประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน  

   รศ.ดร.ชูพงษ์  ทองคำสมุทร             

         รศ.ดร.ชูพงษ์  คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าโครงการย่อยที่ 3 เรื่องการออกแบบรูปลักษณ์ภายในภายนอกและการจัดวางสินค้าสำหรับร้านค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นส่วนย่อยในโครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่นเชื่อมโยงSMEs เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระยะที่ 1 ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้มีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นรับผิดชอบโครงการซึ่งมีหน้าที่หลักในการปรับปรุงทางด้านสถาปัตยกรรมภายนอกปรับปรุงทางด้านสถาปัตยกรรมภายในออกแบบและปรับปรุงตราสัญลักษณ์แบบอักษรการจัดวางสินค้าและปรับปรุงภาพลักษณ์อื่นๆเช่นการแต่งกายสี อุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อส่งเสริมทางด้านการขายอย่างยั่งยืนและเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงร้านค้าย่อยอื่นประเภทเดียวกันต่อไป

          “มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีวิสัยทัศน์การให้บริการและช่วยเหลือชุมชนโดยการนำความรู้ผลงานวิจัยพัฒนาและแก้ปัญหาให้ชุมชนเพื่อให้สังคมเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้นำมาสู่ทิศทางในการดำเนินโครงการต่างๆของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งโครงการใหญ่ในครั้งนี้ขอขอบคุณพันธมิตรทุกฝ่ายอาทิหอการค้าจังหวัดซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานผู้ประกอบการคณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีซึ่งรับผิดชอบการจัดการคอมพิวเตอร์และการจัดวางสินค้า คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผศ. ดร.ชำนาญ   บุญญาพุทธิพงศ์  ผู้ทำหน้าที่ดูแลคณะทำงานและผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการทุกท่านซึ่งการเสวนาครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์รวมไปถึงรายงานผลการดำเนินการในการปรับปรุงร้านค้านำร่องซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงร้านค้าย่อยอื่นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจต่อไป”คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กล่าว

รศ.ดร.กิตติชัย    ไตรรัตนศิริชัย

           รศ.ดร. กิตติชัย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากความรู้เชิงวิชาการและความสามารถในการลงมือปฏิบัติจริงของคณะทำงานโครงการฯเชื่อว่าจะสามารถใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ยกระดับธุรกิจร้านค้าปลีกในจังหวัดขอนแก่นให้เข้มแข็งซึ่งจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับประเทศให้กับจังหวัดอื่นต่อไป“ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอุทิศเพื่อสังคมดำเนินมาอย่างยาวนานเนื่องจากเราทำงานให้กับสังคมโดยเอางานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำงานของทางมหาวิทยาลัยไปถ่ายทอดให้กับสังคมและชุมชนซึ่งหากทำสำเร็จจังหวัดขอนแก่นจะเป็นจังหวัดแรกที่มีร้านค้าปลีกที่เข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อได้ซึ่งจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับประเทศให้กับจังหวัดอื่นต่อไป”อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าว

           นางกนกพร  ทองพิทักษ์ ผู้ประกอบการร้านพรพระพาณิชย์ 1 ในผู้เข้าร่วมโครงการฯเผยว่า : ตนเองมาเข้าร่วมโครงการเนื่องจากต้องการให้ความร่วมมือกับนักศึกษาในการทำวิจัยเนื่องจากจำหน่ายอุปกรณ์ เบเกอร์รี่และวัตถุดิบชงชาไข่มุกอยู่แล้วจึงช่วยให้ข้อมูลในเรื่องการพัฒนาร้านรายการสินค้าแก่คณะทำงานเพื่อนำไปวางแผนในการปรับปรุงร้านต่อไป

           “ร้านตั้งอยู่บริเวณหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝั่งโนนม่วงหลังจากให้ข้อมูลทีมแรกจะมีทีมที่สองทีมที่สามเข้ามาร่วมด้วยโดยมาช่วยในเรื่องของการวัดแสงและการออกแบบสถานที่ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการร้านได้ปรับเปลี่ยนป้ายราคาสินค้าป้ายแผนที่ของร้านที่เห็นได้เจนขึ้นนอกจากนี้ยังมีการจัดโซนสินค้าให้เป็นระเบียบทำให้เห็นราคาชัดเจนขึ้นซึ่งเชื่อว่าความสะดวกและเอกลักษณ์ร้านจะชัดเจนยิ่งขึ้นลูกค้าสามารถจดจำภาพลักษณ์มียอดขายที่เพิ่มขึ้นเป็นการพัฒนาร้านในภาพรวมที่ดีสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของจังหวัดขอนแก่นที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในตอนนี้ ” นางกนกพร กล่าว

          ทั้งนี้โครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่นเชื่อมโยงSMEs เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระยะที่ 1 (KKU Linkage for SMEs Competitive Competency : Phase 1) สืบเนื่องจากมติที่ประชุมหารือร่วมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาระหว่างคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์คณะศิลปกรรมศาสตร์หอการค้าจังหวัดขอนแก่นและผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการSMEs ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงบูรณาการยกระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมให้เท่าทันโลก

รศ.ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช

        รศ.ดร.เพ็ญศรี  คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี กล่าวสรุปว่า โดยได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้เป็น 3 โครงการย่อยได้แก่ 1 ศึกษาความต้องการและการจัดทำฐานข้อมูลร้านค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดขอนแก่นโครงการย่อยที่ 2 การจัดการร้านค้าปลีกอัจฉริยะเพื่อปรับปรุงระบบหรือแก้ไขปัญหาด้านการจัดการภายในร้านค้าขนาดเล็กหรือร้านค้าในชุมชนโครงการย่อยที่ 3 การออกแบบรูปลักษณ์ภายในภายนอกและการจัดวางสินค้าสำหรับร้านค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรงส่งเสริมการขายและเป็นแบบอย่างในการปรับปรุงร้านค้าอื่นๆประเภทเดียวกันโดยผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการนำร่องเป็นผู้ประกอบการใน 10 ชุมชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นได้แก่ชุมชนบ้านทุ่มชุมชนบ้านศิลาชุมชนบ้านโนนม่วงชุมชนการเคหะชุมชนกังสดาลชุมชนบ้านเป็ด บ้านคำไฮ ชุมชนพระลับ ชุมชนท่าพระ ชุมชนบ้านศรีฐาน และชุมชนบ้านเกาะ.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads