วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

ศึกษาศาสตร์ มข.อบรมเข้ม!ครูทุกภูมิภาค เน้นกระบวนการแก้ปัญหา อย่างยั่งยืน

ศึกษาศาสตร์ มข.อบรมเข้ม!ครูทุกภูมิภาค เน้นกระบวนการแก้ปัญหา อย่างยั่งยืน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ศึกษาศาสตร์ มข.อบรมเข้ม!ครูทุกภูมิภาค เน้นกระบวนการแก้ปัญหา อย่างยั่งยืน


คณะศึกษาศาสตร์ มข.อบรมเชิงปฏิบัติการ (เวิรค์ช็อบ ) ครู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นการกระบวนการแก้ปัญหา ยกระดับคุณภาพการศึกษาร่วมจัดการเรียนการสอน ในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” (Partnership School Project) รุ่นที่ 2


เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 2 เม.ย.ที่ ห้องประชุม รร.สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง)รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ม.ขอนแก่น
เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์คช็อป ) เน้นการกระบวนการแก้ปัญหา โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” (Partnership School Project) รุ่นที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นการนำนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) เข้าร่วมจัดการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา โดยมี นายมีชัย วีระไวทยะ ผศ. ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะศึกษาศาสตร์ มข.คณาจารย์ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ผู้บริหารและผอ.ตัวแทนครู 32 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโรงเรียน เข้าร่วมรับการอบรม


   รศ.ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์

รศ.ดร. ไมตรี คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มข.กล่าวว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ได้มีมติในการประชุมให้ตั้ง ขึ้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยมอบให้ นายมีชัย วีระไวทยะ และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. เทียนฉาย กีระนันทน์ ขับเคลื่อนโครงการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้บทบาทความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และบริษัทมูลนิธิองค์กร หรือสถาบันที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารให้กับสถานศึกษา ซึ่งเป็นส่วนขยายของโรงเรียนประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้านต่างๆ ซึ่ง

สอดคล้องกับผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยในเป้าหมายการพัฒนา 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) การพัฒนาครู 3) การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และ 4) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ


รศ.ดร. ไมตรี กล่าวอีกว่าสำหรับ “โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” (Partnership School Project) รุ่นที่ 2 นี้ มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 84 โรงเรียน มีผู้สนับสนุน 27 องค์กร โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดูแลโรงเรียนในโครงการจำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย
1. โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ จังหวัดขอนแก่น2. โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน จังหวัดขอนแก่น3. โรงเรียนบ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด จังหวัดศรีสะเกษและ4. โรงเรียนบ้านโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

นายมีชัย วีระไวทยะ

นายมีชัย กล่าวว่า “โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” ส่วนที่สำคัญมากคือการดึงทุกส่วนเข้ามามีบทบาท ทั้งภาคเอกชน ภาคธุรกิจมหาวิทยาลัย มูลนิธิ โรงเรียนนานาชาติ ทั้งหมดเข้ามาช่วยกันนึกช่วยกันคิดแล้วก็ร่วมบริหารโรงเรียนทำให้ดีขึ้น เสร็จแล้วก็ทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคน ที่ไม่ได้เฉพาะเด็กนักเรียน พร้อมทั้งจะต้องเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาหมู่บ้านในการพัฒนาชนบทรอบโรงเรียน


นายมีชัย กล่าวอีกว่าทั้งนี้โรงเรียนต้องเปลี่ยนบทบาทจากโรงเรียนสำหรับเด็ก มาเป็นโรงเรียนสำหรับทุกคน ต้องให้มีความสำคัญในชุมชน โรงเรียนในอนาคตจำเป็นจะต้องเป็นประตูที่จะนำความเจริญไปสู่หมู่บ้าน เพราะโรงเรียนเป็นนิติบุคคล มีที่ดินมีอาคาร มีครู มีน้ำ มีทุกอย่างหมด พร้อมที่จะทำอะไรเพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน พวกเรามองข้ามอันนี้นี้ไป ดังนั้นหากเราคิดว่าถ้าเผื่อเราเอาจริงเอาจังกับการศึกษา และทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม นั่นแหละจึงจะทำให้การศึกษาเราดีขึ้นอีกมากมาย ในที่สุดปัญหาเรื่องประชาธิปไตยจอมปลอมก็จะหายไป.

 

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads