วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

สจล.จับมือ มทร.อีสาน วข. ขอนแก่น ถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย

สจล.จับมือ มทร.อีสาน วข. ขอนแก่น ถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

สจล.จับมือ มทร.อีสาน วข. ขอนแก่น ถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมมือ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ต่อยอดโครงการศูนย์วิจัยพัฒนาทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยกิจกรรมการผลิตและการพัฒนาแรงงานขั้นสูง ให้กับเครือข่ายของมหาวิทยาลัย

         เมื่อเวลา 10.30 น วันที่ 10 มิถุนายน ที่ห้องประชุมสัมมนา 1 ชั้น 3 อาคาร 50 ปีเทคนิคไทย -เยอรมัน ขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น ผศ.ณรงค์ ผลวงษ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ ศูนย์วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงประเทศไทย กิจกรรมการผลิตและการพัฒนาแรงงานขั้นสูง โดยมี นายปริญ นาชัยสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.อีสานวิทยาเขต ขอนแก่น ดร.ณรงค์ สีหาจ่อง ผอ.ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมระบบขนส่งทางรางวิทยาเขตขอนแก่น รศ.ดรไพฑูรย์ พิมดี ผู้ช่วยอธิการบดี (ฝ่ายพัสดุ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ดร.ชินพรรธน์ รัตนศิรวิทย์ ผู้ช่วยอธิการบดี(ฝ่ายวิจัย)ดร.ณัฐนนท์ ไพบูลย์ศิลป์ รองผอ. สำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.อัตพงศ์ สุขมาตย์ อาจารย์จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (สจล.) คณาจารย์ -บุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 120 คน

ผศ.ณรงค์    ผลวงษ์

        ผศ.ณรงค์    ผลวงษ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น (มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น )กล่าวว่าโครงการศูนย์วิจัยพัฒนาทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยกิจกรรมการผลิตและการพัฒนาแรงงานขั้นสูง เป็นการจัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟความเร็วสูงให้กับเครือข่ายของมหาวิทยาลัย เป็นการเตรียมการทางวิชาการและการเตรียมบุคลากร เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศ ถึงภูมิภาคและจังหวัด มทร. อีสาน โดยท่านศาสตราจารย์พิเศษดรสุรเกียรติ์เสถียรไทยนายกสภา และดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดี มทร.อีสาน ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก โดยหวังว่าจะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะไปดูแลระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้ร่วมมือกับพันธมิตรและเครือข่าย มีความมั่นใจว่าจะผลิตกำลังคนให้กับรัฐบาลอย่างเพียงพอและก็มีคุณภาพในการที่จะดูแลระบบขนส่งทางรางให้กับประเทศไทยได้อย่างดี ต่อไปในอนาคต

นายปริญ นาชัยสิทธิ์

       นายปริญ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.อีสานวิทยาเขต ขอนแก่น กล่าวว่าสำหรับความเป็นมาของโครงการฝึกอบรมในนี้ เป็นความร่วมมือร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)ซึ่งได้มีโครงการในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถที่ทำงานปฏิบัติการที่จะสร้างเทคโนโลยีทางด้านรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ทุกอย่าง เช่นการอบรมการสร้างโบกี้รถไฟความเร็วสูง การอบรมสร้างเทคโนโลยีรถไฟ และเรื่องของเทคโนโลยีการควบคุมความเย็นในรถไฟ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เมื่อเข้าร่วมอบรมเข้า ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้จริงแล้วก็ได้เครื่องมือจริงนำกลับมาใช้งานได้จริง ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่ค่อนข้าง ที่จะมีคุณภาพ ดังนั้นโครงการตรงนี้ จะเป็นฐานในการที่จะพัฒนาทั้งคนและก็พัฒนาเทคโนโลยี และเพื่อพัฒนาประเทศ ในการที่จะนำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ โดยมีเครือข่ายในการเข้าร่วมอบรมทั้ง 11 สถาบันอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในสถาบันอุดมศึกษา อย่างเช่น ม.นครพนมม.กาฬสินธุ์ ม.รังสิต เหล่านี้เป็นต้นเป็น ที่เข้าร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย

รศ.ดรไพฑูรย์ พิมดี

       รศ.ดรไพฑูรย์  ผู้ช่วยอธิการบดี (ฝ่ายพัสดุ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่าเริ่มต้นของโครงการเพื่อต้องการที่จะพัฒนากำลังคนที่เป็นกำลังคน ที่จะเป็นผู้ปฏิบัติจริงๆในการที่จะรองรับระบบรางที่มันเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ หรือรถไฟฟ้าในอนาคตที่มันจะเกิดขึ้นนั้น ด้วยศักยภาพของราชมงคลอีสานทั้ง โคราช,ขอนแก่น,สุรินทร์ และสกลนคร มีศักยภาพในการที่จะผลิตกำลังคน เพื่อที่จะรองรับระบบดังกล่าวได้ เพราะว่าตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย รถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นแรก เป็นความร่วมมือกับจีน แล้วจึงมาทางภาคอีสานเรา

        รศ.ดรไพฑูรย์ กล่าวอีกว่าดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมกำลังคนเพื่อที่จะรองรับเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะไม่อยากให้ประเทศไทยเราเป็นฝ่ายรับเทคโนโลยีอย่างเดียวดังนั้นเราต้องสามารถที่จะพัฒนาคนของเราให้สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ได้ในสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น นอกจากเราจะได้กำลังพลที่มีศักยภาพที่สูงขึ้น

ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเองและก็สามารถที่จะพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรของคณาจารย์ในรูปแบบของการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าระบบรางทั้งหมดให้กับประเทศ เพราะว่าทาง (มจล.)เองก็มองว่ารถไฟมาทางอีสาน มทร.ราชมงคลอีสาน ก็จะเป็นผู้ดูแล ส่วนโครงการนี้ทางลาดกระบังเอง ได้ผลักดันให้เกิดขึ้นมา.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads