
‘ครูอาชีวะอีสาน’ จับมือ’บ.ซิสโก้ ฯ’ ปฏิวัติดิจิทัลบ่มเพาะและพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยี
บ.ซิสโก้ ฯ ผนึกกำลังครูอาชีวะอีสาน ผสานเทคโนโลยี+ความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรม AIในยุคปฏิวัติดิจิทัล (Digital Disruptions) ที่มีการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ อย่างเต็มรูปแบบด้านเทคโนโลยีดิจิทัล บ. ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ฯ + สร้างแนวคิดแห่งการแบ่งปันและสร้างสรรค์กำลังคนที่มีคุณภาพ
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 3 ส.ค. ที่ศูนย์ไอซีที วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ดร.นัยนา เจริญพล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น รักษาการแทนผูู้อำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น เป็นประธานการจัดอบรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล : AI Transformation 2019 โดยมีนางอัญชลี ธูปเกิด ผู้จัดการบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ จำกัด ประจำประเทศไทย-อินโดไชน่า ดร. กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ หัวหน้าศูนย์ไอซีทีวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น นายประมุข ธรรมศิรารักษ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม ในฐานะผู้เข้ารับการอบรมและหนึ่งในผู้ประสานงานให้เกิดความร่วมมือของชุมชนด้านดิจิทัล สร้างและขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลและ AI นายศาสตรา ผลากอง ผู้แทน บริษัทซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด ครูไอซีทีของอาชีวะภาคอีสาน 20 คน และบุคลากรจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ร่วมอบรมด้วย รวมจำนวนทั้งสิ้น 25 คน
นางอัญชลี ธูปเกิด
นางอัญชลี ผู้จัดการบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ จำกัด ประจำประเทศไทย-อินโดไชน่า กล่าวว่าการจัดอบรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล : AI Transformation 2019 ในวันนี้สืบเนื่องมาจากการดำเนิน โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จิตสำนึกแห่งเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของทีมงาน Cisco ที่ต้องการพัฒนากำลังคนของประเทศไทยให้มีคุณภาพโดยมองว่าการพัฒนาที่ดีที่สุดคือการพัฒนา “คนให้มีคุณภาพ” นำไปสู่การพัฒนาและยกระดับความรู้ของครูเพื่อส่งต่อไปพัฒนาผู้เรียนและองค์กรให้มีคุณภาพนำไปสู่การมีพลเมืองของประเทศที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนต้องร่วมมือกัน ทำด้วยใจอย่างไม่มีข้อแม้และเงื่อนไขใด ๆ ทำเพื่อประเทศไทยอันเป็นที่รักของพวกเรา ที่สำคัญที่สุดคือปัจจุบันเรามีสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางและมาตรฐานคือ KVC-Cisco Innovation Center สำหรับบ่มเพาะและพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล
นางอนงค์ลักษณ์ พูลสุวรรณ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น กล่าวว่าการดำเนินโครงการ พัฒนาทักษะด้านดิจิทัล : AI Transformation 2019 ในวันที่ 3-4 ส.ค. 62 มีเป้าหมายพัฒนาและยกระดับความรู้ด้านดิจิทัลและ AI ให้กับครูไอซีทีของอาชีวะภาคอีสาน 20 คน และมีบุคลากรจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ร่วมอบรมด้วย รวมจำนวนทั้งสิ้น 25 คน และได้เลือก KVC-Cisco Innovation Center วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นเป็นสถานที่พัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล ซึ่งในอนาคตเราคาดว่าจะพัฒนาด้าน Coding ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
ดร.นัยนา เจริญพล
ด้าน ดร.นัยนา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ผู้ขับเคลื่อนด้านวิชาการและวิชาชีพที่เข้มแข็ง กล่าวว่าต้องขอบคุณทีมงานบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ จำกัด ในความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลและ AI ของประเทศให้มีคุณภาพโดยเฉพาะการพัฒนาครูซึ่งเป็นต้นน้ำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นเยาวชนที่สำคัญของประเทศชาติ อนาคตของประเทศไทยจะมีคุณภาพ ยั่งยืน ก็ต้องอาศัยครูที่มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี ๆ ส่งต่อไปให้ผู้เรียน ขอบคุณโครงการดี ๆ ขอบคุณแนวคิดดี ที่สาขาไอที วอศ.ขอนแก่น ที่เป็นผู้ริเริ่มทำให้เกิดสิ่งดี ๆ เหล่านี้ขึ้นมา
นายประมุข ธรรมศิรารักษ์
นายประมุข วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม ในฐานะผู้เข้ารับการอบรมและหนึ่งในผู้ประสานงานให้เกิดความร่วมมือของชุมชนด้านดิจิทัล สร้างและขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลและ AI กล่าวว่า KVC-Cisco Innovation Center วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ภายใต้การขับเคลื่อนอย่างมุ่งมั่น ทุ่มเท เอาจริงเอาจังของ
ดร. กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์
ดร.กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ และทีมงานไอทีที่สร้างสรรค์ เป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง สถานที่แห่งนี้แทบจะพูดได้ว่าเป็นสถานที่ที่มีคุณภาพและมาตรฐานด้านไอซีทีอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ทีมไอซีทีภาคอีสานมีความพร้อม มีความสามัคคีที่จะร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพด้านดิจิทัล เพื่อส่งต่อความรู้ ทักษะไปสู่เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติ
นายศาสตรา ผลากอง
นายศาสตรา ผู้แทน บริษัทซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัดกล่าวว่าสถาบันการศึกษาอย่างที่ 2 ท่านแนะนำเรียนไปแล้วเบื้องต้น แต่ว่าบริษัทซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทย จำกัด ของเราเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ที่มีความทันสมัย และนำส่วนหนึ่งที่เรามี สามารถนำเอาเทคนิคการ มาช่วยวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอน ในการที่จะปรับสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนให้เป็นดิจิตอลเทคโนโลยี ที่มีอยู่ได้นำมาเชื่อมครูกับนักเรียนเข้าเรียนเทคโนโลยีสมัยใหม่ อันนี้คือสิ่งที่เรามองว่าจะเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้.