วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มข.แจง ปชช.ในพื้นที่นำร่อง จ.ขอนแก่น ให้ขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล

สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มข.แจง ปชช.ในพื้นที่นำร่อง จ.ขอนแก่น ให้ขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มข.แจง ปชช.ในพื้นที่นำร่อง จ.ขอนแก่น ให้ขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลและใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล หลังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลถ่ายโอนภารกิจน้ำบาดาลไปยัง อปท.


สถาบันทรัพยากร น้ำใต้ดิน มข.จัดโครงการศึกษาวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดนำร่อง พื้นที่จังหวัดขอนแก่น ตลอดจนการเก็บค่าใช้น้ำบาดาลและการขออนุญาตเจาะน้ำบาดาล


เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 4 พ.ย. ที่ชั้น 3 สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.โพยม สราภิรมย์ ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากร น้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดแถลงข่าวชี้แจงข้อมูล โครงการศึกษาวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนำร่องพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 30 แห่ง ต่อสื่อมวลชน

ผศ.ดร.โพยม สราภิรมย์
ผศ.ดร.โพยม ผอ.สถาบันทรัพยากร น้ำใต้ดิน มข.กล่าวว่าตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 284 ได้มีการตราพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2542 เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการสนับสนุนการกระจายอำนาจทั้งนี้คณะกรรมการกระจายอํานาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.)มีประกาศของ คณะกรรมการ ลงวันที่ 31 มกราคม 2551 เรื่องการบังคับใช้แผนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ฉบับที่ 2) ได้กำหนดภารกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานตามแผนธุรกิจสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ที่กำหนดขอบเขตที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะต้องถ่ายโอนภารกิจขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติในแผน มีภารกิจถ่ายโอนในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด ดังนี้ภารกิจที่ 1 การขุดเจาะน้ำบาดาล 1.1 สำรวจแหล่งน้ำทางธรณีวิทยา 1.2ค่าทดสอบหลุมเจาะ 1.3 เจาะน้ำบาดาลพร้อมสูบมือโยก ภารกิจที่ 2 การพัฒนาเป่าล้างบ่อบาดาลเดิม ภารกิจที่ 3 การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึกภารกิจที่ 4 การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลภารกิจที่ 5 การขออนุญาตขุดเจาะน้ำบาดาลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตอนบนสุดน้อยกว่า 4 นิ้ว หรือ 100 มิลลิเมตร และมอบอำนาจการอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่อนุญาตใช้ไม่เกินวันละ 10 ลูกบาศก์เมตร


ผศ.ดร.โพยม กล่าวอีกว่าโครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ต้องถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาล ไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อศึกษาติดตามวิเคราะห์ประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนำร่อง คือ จังหวัดขอนแก่น รวม 30 แห่ง โดยมุ่งเน้นประเมินภารกิจการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลและการขออนุญาตเจาะน้ำบาดาลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตอนบนสุดน้อยกว่า 4 นิ้ว (100 มิลลิเมตร) และการขออนุญาตใช้น้ำบาดาลที่มีปริมาตรน้ำไม่เกินวันละ 10 ลูกบาศก์เมตร
ตลอดจนเพื่อศึกษาติดตามประเมินผลระบบการบริการจัดการการใช้งบประมาณ การควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนน้ำบาดาลของ อปท.และมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะด้านน้ำบาดาลพร้อมข้อเสนอแนวทางการเสริมสร้างเพื่อยกระดับขีดความสามารถและประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านน้ำบาดาลแก่อปท.


พร้อมทั้งเพื่อศึกษาติดตามประเมินผลระบบการบริหารว่าภารกิจการถ่ายโอนน้ำ บาดาลของอปท.ที่ได้ดำเนินการมีการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ที่ทำให้ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าถึงบริการสาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิตและมีส่วนร่วม อย่างไรบ้าง รวมทั้งข้อเสนอแนวทางการเสริมสร้างความเข้าใจภารกิจการถ่ายโอนด้านน้ำบาดาลแก่ภาคประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อีกครั้งเพื่อถอดบทเรียน รูปแบบการบริหารจัดการภารกิจด้านน้ำบาดาลที่เป็นเลิศ (Best Pratice) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 10 แห่ง

โดยเทียบเคียงตามประเภทของ อปท.และสุดท้าย เพื่อเสนอแนะแนวทางปฏิบัตินโยบายระเบียบปฏิบัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องรูปแบบที่เหมาะสมในการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลให้แก่อปทแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สำหรับความเป็นมาของกฎหมายน้ำบาดาล ประเทศไทยเริ่มมีนโยบายออกกฎหมายควบคุมการใช้น้ำบาดาลมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2506 เพราะได้มีการดำเนินการตามโครงการสำรวจน้ำบาดาลบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2498 แต่กว่าที่ประเทศไทยจะมีกฎหมายควบคุมน้ำบาดาลล่วงเลยมาจนถึงปี 2520 หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504 – 2509 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ

ดังนั้น ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะได้มีการจัดตั้งการประปานครหลวงขึ้นมาเป็นรัฐวิสาหกิจในปี พ.ศ.2510 เพื่อให้การจัดการน้ำสำหรับการ อุปโภคบริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครฯ นนทบุรี ธนบุรี และสมุทรปราการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่ปรากฏว่าจำนวนประชากร ชุมชนเมืองและภาคอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

จนกระทั่งการประปานครหลวงไม่สามารถขยายการให้บริการได้ทันชุมชนเมืองภาคอุตสาหกรรม จึงต้องจัดหาน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเองโดยการเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ปริมาณมหาศาลต่อมารัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติน้ำบาดาลพ. ศ. 2520 เพื่อควบคุมการเจาะน้ำบาดาลการใช้น้ำบาดาลและการระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ป้องกันแหล่งน้ำบาดาลขาดแคลนหรือเสียหาย อันเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำบาดาลหรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads