วันพฤหัสบดี 18 เมษายน 2024

“สนธิรัตน์”ดันโรงไฟฟ้าชุมชน ปชช.ต้องได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า60%

“สนธิรัตน์”ดันโรงไฟฟ้าชุมชน ปชช.ต้องได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า60%
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“สนธิรัตน์”ดันโรงไฟฟ้าชุมชน ปชช.ต้องได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า60%

รมว.พลังงานลงพื้นที่เมืองขอนแก่น สานนโยบายพลังงานโรงไฟฟ้าชุมชน ลั่นเดินหน้า มุ่งให้ชุมชนได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 60% โปร่งใสประกาศกร้าวคาดโทษหนักเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง หากเกี่ยวข้องรับสินบนโรงไฟฟ้าชุมชน

“นักลงทุน-ชุมชน” แห่รับฟังการรายงานแนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนผลักดันนโยบายพลังงานชุมชนของพลังงานจังหวัด เขตตรวจราชการที่ 12 จ.ขอนแก่น จ.ร้อยเอ็ด จ.มหาสารคาม และ จ.กาฬสินธุ์

        เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 4 ก.พ.ที่ห้องประชุมเสียงแคนชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อมอบนโยบายพลังงานชุมชน เพื่อขับเคลื่อนพลังงาน มีการรายงาน แนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย โรงไฟฟ้าชุมชน และนโยบายด้านพลังงานอื่นๆ จากพลังงานจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และ มหาสารคาม และรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า และผู้ประกอบการธุรกิจปาล์มน้ำมันไบโอดีเซลในเขตพื้นที่ โดยมี ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น นายเอกราช ช่างเหลา ,นายวัฒนา ช่างเหลา ,นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.จากพรรค พปชร.ตัวแทนจากส่วนราชการ เข้าร่วมรับฟัง

  นายสนธิรัตน์ รมว.กระทรวงพลังงาน กล่าวว่าได้เร่งรัดโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการบริหารการรับซื้อไฟฟ้าโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่มีนายกุลิศ  สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เตรียมจะประชุมพิจารณารายละเอียดหลักเกณฑ์คัดเลือกโครงการ คาดว่าจะสามารถเปิดยื่นเสนอโครงการในรูปแบบเร่งรัด หรือ กลุ่ม Quick win จำนวน 100 เมกะวัตต์ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 นี้ จากนั้นจะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA)ได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ (COD)ได้ภายในปี 2563 หลังจากนั้นก็จะถึงคิวในส่วนของโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนรูปแบบทั่วไป หรือ กลุ่มสร้างใหม่จะเปิดให้ยื่นเสนอโครงการได้ภายในครึ่งแรกของปี 2563 จำนวน 600 เมกะวัตต์ เพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ (COD) ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป

   แต่โจทย์หลักสำคัญ คือโรงไฟฟ้าชุมชนต้องเกิดประโยชน์กับประชาชนฐานรากในชุมชนไม่น้อยกว่า 60% สร้างเศรษฐกิจระดับล่างให้เข้มแข็ง มีชีวิตที่ดีขึ้น สามารถขายวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ทั้งฟางข้าว ตอข้าวโพด ฯลฯ ขายให้โรงไฟฟ้าชุมชน เป็นรายได้ ลดการเผา ลดปัญหา ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ได้ด้วย ให้พี่น้องเกษตรกรมีความมั่นคง เพราเป็นการปลูกพืชพลังงาน เจตนาเพื่อเพิ่มรายได้ ต่อไร่ต่อปีให้ดีกว่าของเดิม ดังนั้นการทำสัญญากับโรงไฟฟ้าชุมชน หัวใจ คือรับซื้อ จำนวน 20 ปี

  นายสนธิรัตน์ ได้กล่าวเน้นย้ำถึงเรื่องการอนุมัติจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนว่า จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเนินงานร่วมกันกับชุนชน ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่โปร่งใส หากมีเจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องเรียกรับผลประโยชน์จากโครงการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชน จะลงโทษสถานหนัก แลให้ประชาชนร่วมเป็นหูเป็นตาแจ้งข่าวด้วย

  นายกิตติ ชีวะเกตุ

     ด้านนายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ตัวแทนผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า กล่าวว่าทางยูเอซีได้มีการทำโรงไฟฟ้าที่ อ.ภูผาม่าน  ซึ่งได้เตรียมการอยู่แล้ว เพราะว่าโครงการฯดังกล่าวได้มีการดำเนินการก่อสร้างโรงงานเสร็จแล้ว ซึ่งก็มีการเตรียมการในเรื่องของชุมชน ในเรื่องการให้วัตถุดิบ และผลผลิตของเกษตรกรที่จะเตรียมวัตถุดิบให้กับเรา ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมการอย่างพร้อมเพียงทุกอย่าง ทางโรงไฟฟ้าชุมชนที่ อ.ภูผาม่าน พร้อมที่จะเข้าโครงการ พร้อมที่เข้านำเสนอให้ทางกระทรวงพลังงานได้พิจารณา เพราะเรามีประสบการณ์ อยู่แล้วซึ่งก็คือโรงไฟฟ้าที่มีลักษณะคล้ายกันอยู่ที่เชียงใหม่ ซึ่งก็เดินเครื่อง มา  3-4 ปีแล้ว ซึ่งใช้วัตถุดิบที่ใช้คือหญ้าเนเปียร์แล้วก็ข้าวโพด ซึ่งก็คือต้นข้าวโพด ที่ชาวบ้าน ซึ่งที่ท่านมนตรีพูดถึงว่าเป็นของเสียจากวัสดุเหลือใช้ ในด้านการเกษตร นำมาใช้ด้วย ซึ่งสามารถลด PM 2.5 ที่จังหวัดเชียงใหม่ อย่างต้น

   นายกิตติ  กล่าวอีกว่าตัวอย่างเช่นข้าวโพด ปีหนึ่งเราใช้เป็น 10,000 ตัน โดยโรงไฟฟ้าชุมชนจะต้องใช้วัตถุดิบ เมกะวัตรประมาณวันละประมาณ 100 ตันต่อวัน ดังนั้นโครงการที่ อ.ภูผาม่าน ที่จังหวัดขอนแก่น มีทุกอย่างพร้อมสมบูรณ์ พร้อมที่จะนำเสนอ ให้ทางกระทรวงพลังงาน พิจารณาแล้ว ทางเราก็พร้อมที่จะเดินเครื่อง เพราะว่าทุกอย่างอุปกรณ์ติดตั้งเรียบร้อยหมดแล้ว เนื่องจากเราเคยทำเรื่องนี้มาแล้ว เรามีโมเดลในการที่จะทำให้ชุมชนมีส่วนร่วม กับโครงการของเรา อย่างเรื่องที่จังหวัดเชียงใหม่เราก็มีเกษตรกรได้เข้ามาร่วม เพราะว่าโรงไฟฟ้าชุมชนชน ของเราเนี่ยเราจะมีผลผลิตส่วนหนึ่งที่ได้ออกมาจากโรงงาน ซึ่งก็คือสารปรับปรุงดินหรือปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเราก็นำคืนไปสู่ชุมชน ด้วยการให้เขาเอาไปใช้ในการปลูกพืช เป็นส่วนที่เราคิดว่ามันเป็นการผสมผสานระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรกับชุมชน

  การก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนสามารถทำรายได้ให้กับชุมชนได้จริง เกิดการจ้างงานในชุมชนได้จริง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่กับชุมชนได้ แถมโรงไฟฟ้าชุมชนยังได้ช่วยมลพิษ PM 2.5 อีกด้วย เพราะในพื้นที่ชนบทมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด อ้อย เป็นจำนวนมาก ในหน้าแล้งมักจะเผาซังข้าวโพด อ้อยกันทุกปี ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ถ้านำวัตถุดิบเหล่านั้นมาป้อนโรงไฟฟ้าชุมชนก็จะลดปัญหามลพิษในอากาศได้อีกทางหนึ่งด้วย

    นายปรัชญา ทองแท่งไทย นายก อบต.วังสวาป กล่าวว่าพื้นที่ อ.ภูผาม่าน เป็นพื้นที่แห้งแล้ง ส่วนมากเกษตรกร จะปลูกพืชคือมันสำปะหลัง และปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ซึ่งเคยลงไปคุยกับเกษตรกร แล้วว่าจะมีรายได้มากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 2-3 เท่า จากที่เขาเคยปลูก ซึ่งจากเดิมรายได้ไร่หนึ่งไม่น่าจะถึง 10,000 หมื่น ต่อมาเมื่อมีการเข้าร่วมกับโรงไฟฟ้าชุมชน ปลูกหญ้าเนเปียร์ ก็จะมีรายได้ไร่หนึ่งตกประมาณ 30,000 บาท ต่อไร่ต่อปี ซึ่งได้ลองปลูกมา 3 ปีแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้มีการซื้อขายจริง เพราะว่าโรงไฟฟ้ายังไม่ได้เปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งตอนนี้รอเพียงความชัดเจนจากทางกระทรวงพลังงาน ถ้าให้เปิดเมื่อไหร่เราก็พร้อมดำเนินการทันที.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads