วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

“มข.”ผนึก EU หนุนสมาร์ทฟาร์ม เพื่อเกษตรกร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

“มข.”ผนึก EU หนุนสมาร์ทฟาร์ม เพื่อเกษตรกร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“มข.”ผนึก EU หนุนสมาร์ทฟาร์ม เพื่อเกษตรกร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย


เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 11 กันยายน 2563 ที่ หมวดพืชผัก อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ พร้อม 8 ภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อดำเนินโครงการ “Sustainable developmeNt Smart Agriculture Capacity : [SuNSpaCe]” ในความดูแลของ สหภาพยุโรป หรือ EU (European Union) โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.กล่าวรายงานโครงการ พร้อมด้วย รศ. ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข. ซึ่งได้รับเกียรติจากนายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น เกษตรจังหวัดขอนแก่น แสดงความยินดี พร้อมทั้งผู้บริหาร 8 องค์กร กลุ่มเกษตรกร และ สื่อมวลชน ร่วมงานกว่า 100 คน ณ หมวดพืชผัก อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มข.กล่าวว่า โครงการ SUNSpaCe ได้รับโอกาสจาก สหภาพยุโรป หรือ EU ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการ พร้อมกับหลายมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพื่อ นำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรเพื่อให้สามารถจัดการและดำเนินการทำการเกษตรได้แบบทันท่วงที เปลี่ยนแปลงการทำการเกษตรแบบเก่า คือพออยู่พอกิน เป็นเกษตรขนาดเล็กหรือขนาดกลาง


ซึ่งนอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ แล้วยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม เป็นไปตามนโยบายด้านประชาคม หรือ ผู้มีส่วนได้เสียของมหาวิทยาลัย (People)ปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัย (Research transformation) ทำวิจัยตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือตามปัญหาของประเทศ ปรับเปลี่ยนเป้าหมายการทำวิจัยให้ไกลกว่าการตีพิมพ์ สู่การนำไปใช้จริง เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่หรือนวัตกรรม การผลักดันงานวิจัยเพื่อนวัตกรรมเชิงพานิชย์

รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช

ด้าน รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.กล่าวว่า โครงการ “Sustainable developmeNt Smart Agriculture Capacity : [SuNSpaCe]” ได้รับทุนงบประมาณสนับสนุนจาก Erasmus+ (Erasmus – EuRopean Community Action Scheme for the Mobility of University Students) ซึ่งเป็นโครงการของสหภาพยุโรปเพื่อสนับสนุนการศึกษา เพื่อฝึกอบรมเยาวชนและในยุโรป โดยมีงบประมาณ 14,700 ล้านยูโร จะเปิดโอกาสให้ชาวยุโรปกว่า 4 ล้านคนได้ศึกษาฝึกอบรมและได้รับประสบการณ์ในต่างประเทศ ปัจจุบัน Erasmus+
ไม่เพียงเปิดโอกาสให้นักเรียนเท่านั้น ยังเปิดโอกาสสำหรับบุคคลและองค์กรที่หลากหลาย รวมถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้รับโอกาสนั้นด้วย โดยการทุ่มเทเขียนโครงการกว่า 2 ปี ของคณะบริหาร ฯ จนกระทั่งสำเร็จในที่สุดในวันนี้


“โครงการ SUNSpaCe คือ การจัดทำกรอบการทำงานที่เปิดใช้งานเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าใจการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการพัฒนาแนวทางการเรียนรู้ที่พร้อมปรับเปลี่ยนได้อยู่เสมอ และมีเครื่องมือที่พร้อมใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการฝึกอบรม ทั้งนี้ในความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งหวังและสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยร่วมกัน นำเทคโนโลยี IoT ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิต พัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการบูรณาการด้านการศึกษาและพัฒนาเป็นจุดถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตร (smart farming) ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกประสบการณ์สำหรับนักศึกษา บุคลากร ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจทั่วไป อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในเชิงวิชาการและปฏิบัติการ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาทางด้านการเกษตรทันสมัย (smart faring) ให้แก่ผู้สนใจ” คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.กล่าว

รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร

ส่วน รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข.กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้มุ่งแนวคิดของการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลบนห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม ซึ่งเกษตรกรสามารถจัดการและดำเนินการทำการเกษตรได้แบบทันท่วงที ประกอบกับมีการนำเอาข้อมูลที่ประกอบข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อใช้ในวางแผน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการทำการเกษตรของตนเองได้อย่างเหมาะสม บนพื้นที่ทำการเกษตรขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ซึ่งนอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ
โดยใช้เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และองค์ความรู้ทางด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น


ทั้งนี้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข. ได้รับเชิญให้เข้าร่วมดำเนินโครงการ Sustainable developmeNt Smart Agriculture Capacity [SuNSpaCe] โดยมี ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและสังคม ร่วมในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว และมีมหาวิทยาลัยที่เป็นหลัก คือ University Lyon2 ULL , University of the West of Scotland – UWS, Corvinus University of Budapest – CUB ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้จากฝั่งยุโรปให้กับมหาวิทยาลัยที่เป็นภาคีเครือข่ายในฝั่งเอเชีย โดยมี Chiang Mai University – CMU, KhonKaen University – KKU, Kantipur Engineering College – KEC, Acme Engineering College – AEC, Royal University of Bhutan – RUB เป็นประเทศในการทดลองและวิจัยในการทำ Pilot Site และ Smart Lap
การดำเนินโครงการที่ผ่านมานั้นได้มีการประชุมและเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่เดือน มกราคม 2562 โดยโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2564 จากความเชี่ยวชาญของในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น ความร่วมมือด้านการเกษตรทันสมัยจะถูกถ่ายทอดมายังเกษตรกรตามศักยภาพและพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อขยายผลการพัฒนาไปยังเกษตรกรอื่นๆ อีกมากกว่า 300 ราย อาทิ การใช้อุปกรณ์ตรวจวัดความชื่นของดินในไร่นา การตรวจวัดสารเคมีในดิน การใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิของอากาศเพื่อการให้น้ำอย่างเหมาะสม เป็นต้น.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads