วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

อฟอ. นำสื่อมวลชนขอนแก่น ศึกษาดูงานการดำเนินงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร

อฟอ. นำสื่อมวลชนขอนแก่น ศึกษาดูงานการดำเนินงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

อฟอ. นำสื่อมวลชนขอนแก่น ศึกษาดูงานการดำเนินงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 26 ตุลาคม 2563 ที่ ห้องประชุมสำนักงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำฯ เขื่อนสิรินธร นายชาญชัย พรนิคม นายช่างระดับ 7 โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อฟอ.) นำสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เข้าศึกษาดู การดำเนินงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร (Hydro-Floating Solar Hybrid Project) กำลังผลิตไฟฟ้า 45 เมกกะวัตต์ (MWac) ใช้พื้นที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 450 ไร่ (พื้นที่โครงการฯ 760 ไร่) ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร โดยมีนายนิคม โกเอี่ยม หัวหน้าหน่วย ประสานงานและบริหารทั่วไป ,นางสุวิทา โชติก หัวหน้าหน่วยวิศวกรรมและก่อสร้าง และนายอาทิตย์ พรคุณา วิศวกรระดับ 10 กองไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร เป็นวิทยากร พร้อมทั้งหัวหน้าหน่วยฯ -ผู้ปฏิบัติงาน หก-ทน. และผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน บริษัทบีกริม เพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ชนะการประมูลงานก่อสร้างโครงการฯ ร่วมนำเสนอข้อมูลแนวการดำเนินงานโครงการฯ ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฯ ในปัจจุบัน และการสร้างสะพานทางเดินชมธรรมชาติ ความยาว 410 เมตร เพื่อเป็นแลนมาร์คของจังหวัดอุบลราชธานีสนับสนุนเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ตลอดจนปัญหา-อุปสรรค ผลกระทบต่อการดำเนินงานโครงการฯ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน , ประโยชน์ของโครงการฯ ในด้านต่างๆ ต่อสื่อมวลชน

นางสุวิทา โชติก

นางสุวิทา โชติก หัวหน้าหน่วยวิศวกรรมและก่อสร้าง กล่าวว่า โรงฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ เป็นการนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการตั้งบนพื้นดิน ซึ่งที่นี่จะเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนวัตกรรมนี้จะใช้การผสมผสานของพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันและใช้พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางคืน โดยพื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะใช้พื้นที่ทั้งหมด 450 ไร่ ซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้วันละ 45 เมกะวัตต์ เพื่อเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำของเขื่อนสิรินธรที่ผลิตได้ 36 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าจะเป็นการลดงบประมาณการผลิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


โดยแผงโซลาร์เซลล์ที่กำลังนำมาติดตั้งนี้จะเป็นวัสดุที่น้ำหนักเบาไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชน เป็นการใช้พื้นที่ผิวน้ำของเขื่อนสิริธรในการติดตั้งไม่กระทบกับพื้นที่การเกษตรของชุมชนรอบข้าง เพราะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ต่อเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการวิจัยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำขนาดเล็ก ที่บริเวณสันเขื่อนสิรินธร ปรากฏว่า ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศน์ใต้น้ำ เช่น สาหร่ายชนิดต่างๆ รวมถึงสัตว์น้ำ ซึ่งกลับเป็นผลดีเสียอีก เพราะพันธุ์ปลาต่างๆ ได้ใช้เป็นที่หลบอาศัยอีกด้วย นอกจากนั้น ยังเป็นการลดการระเหยของน้ำได้ ซึ่งการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และเป็นการตอบสนองความต้องการในการใช้ไฟฟ้าที่มีอัตราความต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต

ทางด้าน นายนิคม โกเอี่ยม หัวหน้าหน่วยประสานงานและบริหารทั่วไป โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่า ขณะนี้ ทางโครงการมีความก้าวหน้าประมาณ 50% โดยได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานและการก่อสร้างถนนเพื่อใช้ในการลำเลียงอุปกรณ์เข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และได้ทำการขนส่งอุปกรณ์ แผงเซลล์แสงอาทิตย์และทุ่นลอยจากประเทศจีนเข้ามาแล้วบางส่วน อย่างไรก็ตามจากปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าของโครงการ ซึ่งตามแผนกำหนดเดิม จะแล้วเสร็จภายในปลายปี 2563 แต่อาจจะต้องเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จออกไปเป็นประมาณกลางปี 2564

 


นายนิคม กล่าวอีกว่าสำหรับโรงไฟฟ้าแห่งนี้ มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 760 ไร่ และมีพื้นที่ในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 450 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด


นายนิคม กล่าวด้วยว่าโดยหลักการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 45 เมกะวัตต์ เมื่อมีแสงแดดเต็มที่ และการผลิตไฟฟ้าจะเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) โดยการรวม 2 พลังงาน คือ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ และพลังน้ำจากเขื่อนสิรินธร โดยมีระบบควบคุมและการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เสริมความต้องการการไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการลดข้อจำกัดในการผลิตกระแสไฟฟ้า ของเซลล์แสงอาทิตย์ ในขณะที่สภาพแสงแดดไม่เอื้ออำนวย


นายนิคม กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากนี้ โครงการยังได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยการสร้างทางเดินชมธรรมชาติ (Natural Walkway) บริเวณริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เพื่อเป็นจุดชมธรรมชาติ และสามารถมองเห็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ฯ ได้ชัดเจน เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลฯ อีกด้วย ส่วนข้อเสนอจากกลุ่มผู้ประกอบแพเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชน ให้นำสายเคเบิ้ลลงใต้น้ำ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำนั้น ทางโครงการเราได้ทบทวนตามข้อเสนอ โดยได้ออกแบบให้นำสายเคเบิ้ลนำลงใต้น้ำ แทนเพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยของกลุ่มผู้ประกอบการแพท่องเที่ยวอีกด้วย.

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads