วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

ธปท.สภอ.แจง!เศรษฐกิจภาคอีสาน ไตรมาสที่ 3 ปี 63 หดตัวน้อย

ธปท.สภอ.แจง!เศรษฐกิจภาคอีสาน ไตรมาสที่ 3 ปี 63 หดตัวน้อย
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ธปท.สภอ.แจง!เศรษฐกิจภาคอีสาน ไตรมาสที่ 3 ปี 63 หดตัวน้อย


ภาวะเศรษฐกิจอีสาน ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ที่ ห้องปัญญาวิจิตร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท.สภอ.)นายประสาท สมจิตรนึก ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประธานการแถลงข่าวเศรษฐกิจ ครั้งที่4/2563 ในวันอังคารที่ 3 พ.ย.2563 เวลา 09.45-11.30 น. ที่ ห้องปัญญาวิจิตร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ริมบึงแก่นนคร เขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยมีผู้บริหาร ตลอดจน เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชนร่วมรับฟังการแถลง ข่าวอย่างพอเพียง

นายประสาท สมจิตรนึก

นายประสาท สมจิตรนึก ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ว่าเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า มีการหดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยการบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวเล็กน้อยตามการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนและการใช้จ่ายภาคบริการ


นายประสาท กล่าวอีกว่าซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และวันหยุดยาวที่มากกว่าปีก่อน การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นตามรายจ่ายลงทุนที่เร่งเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลงจากหมวดก่อสร้างที่ขยายตัวตามพื้นที่ก่อสร้างและยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านผลผลิตเกษตรขยายตัวจากผลผลิตยางพาราและปศุสัตว์ ขณะที่ด้านราคาปรับลดลงจากราคาข้าวเป็นสำคัญ


อย่างไรก็ดีการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวสูงใกล้เคียงเดิม ตามการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตน้ำตาล ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงตามหมวดพลังงานที่หดตัวน้อยลงจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้า และค่าน้ำประปาที่เพิ่มขึ้นหลังหมดมาตรการบรรเทาค่าครองชีพในช่วง COVID-19 ด้านตลาดแรงงานปรับดีขึ้นตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ภาพรวมยังเปราะบาง สำหรับภาคการเงิน (ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563) เงินฝากและสินเชื่อคงค้างขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน โดยเงินฝากขยายตัวสูงจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐและความต้องการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อขยายตัวจากสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ


นายประสาท กล่าวด้วยว่า เศรษฐกิจอีสานมีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ไทยสามารถควบคุมการระบาดไวรัส COVID 19 ได้ดี ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ภาครัฐดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย และการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ


“อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงอยูบ้าง เช่น การกลับมาระบาดของไวรัส COVID 19 ในประเทศ และกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เปราะบาง จากการจ้างงาน และรายได้ที่ลดลง ขณะที่ระดับหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ อาจส่งผลต่อความไม่แน่นอนของการค้าโลก ตลอดจนสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศเพิ่มขึ้น”นายประสาท กล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads