วันอังคาร 16 เมษายน 2024

คะแนนเสียงดี “ดร.อัษฎางค์” ขึ้นเวทีดีเบต! เปิดวิสัยทัศน์แรงจูงใจสมัคร นายก อบจ.ขอนแก่น

คะแนนเสียงดี “ดร.อัษฎางค์” ขึ้นเวทีดีเบต! เปิดวิสัยทัศน์แรงจูงใจสมัคร นายก อบจ.ขอนแก่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

คะแนนเสียงดี “ดร.อัษฎางค์” ขึ้นเวทีดีเบต! เปิดวิสัยทัศน์แรงจูงใจสมัคร นายก อบจ.ขอนแก่น

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเวทีดีเบตวิสัยทัศน์ผู้สมัคร เสนอนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริการส่วนจังหวัดขอนแก่น


เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 ธันวาคม 2563 ที่ห้องประชุมวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมกิจกรรม และเสนอนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ขอนแก่น ซึ่งจะมีการเลือกกันในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 นี้ จำนวน 6 หมายเลข คือ 1.ดร.อัษฏางค์ แสวงการ ผู้สมัครนายก อบจ.ขอนแก่น หมายเลข 4
2 นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ ผู้สมัครนายก อบจ.ขอนแก่น หมายเลข 6 3.นายศรุต เบ้าจรรยา ผู้สมัครนายก อบจ.ขอนแก่น หมายเลข 7 4.นายนิสิต แก้วประเสริฐ ผู้สมัครนายก อบจ.ขอนแก่น หมายเลข 8
5.พ.อ.ชาตรี ไกรพีรพรรณ ผู้สมัครนายก อบจ.ขอนแก่น หมายเลข 9 และ6.นายนพดล สีดาทัน ผู้สมัครนายก อบจ.ขอนแก่น หมายเลข 10


โดยกิจกรรมดังกล่าวนั้น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดขึ้นเพื่อให้ผู้สมัคร นายก อบจ.ขอนแก่น มีแสดงวิสัยทัศน์ของตัวเองให้ประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่นได้รับทราบ ว่าจะแก้ปัญหาในด้านใดให้ชาวขอนแก่นบ้าง โดยให้ผู้สมัครที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้แสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “มองอนาคตท้องถิ่นไทย ผ่านวิสัยทัศน์ ผู้สมัครนายก อบจ.” โดยให้แต่ละคนแสดงวิสัยทัศน์ของตัวเองคนละ 3 นาที ซึ่งผู้สมัครนายกอบจ.ในการเลือกตั้งครั้งนี้ทั้งหมด 10 คน แต่มาร่วมกิจกรรมเพียง 6 คนเท่านั้น โดยมี รศ.ดร. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น และนักศึกษา รวมถึงประชาชน ที่ให้ความสนใจเข้ารับฟังการแสดงวิสัยทัศน์กว่า 100 คน


สำหรับนโยบายและวิสัยทัศน์ของ ดร.อัษฎางค์ แสวงการ หัวหน้ากลุ่มมหานครขอนแก่น 1 ในผู้สมัครนายก อบจ.ขอนแก่น ขึ้นเวทีดีเบต เปิดวิสัยทัศน์แรงจูงใจในการสมัคร นายก อบจ.ขอนแก่นว่า แรงจูงใจในการเข้ามาอาสาพัฒนาขอนแก่น ในนามผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ว่าท้องถิ่นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาเชื่อมโยงระดับชาติ เราว่างเว้นในการเลือกตั้งท้องถิ่นประมาณ 8 ปี ในส่วนของตนเองและกลุ่มที่ลงสมัครในครั้งนี้ ได้มีนโยบาย และมีความผูกพันกันในพื้นที่ และเราก็รู้ว่างบประมาณในท้องถิ่น หรืองบของ อบจ.นั้นสามารถดูแลท้องถิ่นได้ เราจึงมีความเชื่อมั่นว่าท้องถิ่นดูแลตัวเองได้ ก็จึงเกิดการกำหนดนโยบายขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ นโยบายเรื่องการศึกษา นโยบายเรื่องการขนส่ง นโยบายเรื่องการทำเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่ แม้กระทั่งนโยบายเรื่องการกำจัดขยะที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ นั่นก็คือการทำโดยครบวงจร สิ่งหนึ่งในตรงนี้เป็นนโยบายที่เราเขียนไว้ และร่างขึ้นมา เพื่อเอานโยบายตรงนี้ไปบอกกับประชาชน


ดร.อัษฎางค์ กล่าวด้วยว่าทางด้านยุทธศาสตร์ ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกหลาย ๆ โซน หลาย ๆ กลุ่มเป้าหมายของแต่ละพื้นที่ที่มันต่างกัน แต่โดยภาพรวมก็คือนโยบายที่กล่าวในเบื้องต้น เป็นนโยบายที่จับต้องได้ อย่างกล่าวไว้ ด้วยเหตุผลที่ท้องถิ่นเขาดูแลตัวเองได้ เรามีความเชื่อมั่นอย่างนั้น เมื่อเกิดความเชื่อมั่น งบประมาณของท้องถิ่นสามารถลงไปสู่พี่น้องประชาชน รากหญ้าตรงนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ด้านการศึกษา มีโรงเรียนที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีไม่ถึง 20 กว่าโรงเรียน ซึ่งถ้าเราจัดการศึกษาโดยให้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน จำนวนสถานศึกษาที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะต้องมีมากขึ้น


ดร.อัษฎางค์ กล่าวอีกว่ายกตัวอย่างแม้กระทั่งในเรื่องของการให้สังคมอยู่อย่างเป็นสุข ซึ่งเดี๋ยวนี้ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน อยู่ในหมู่บ้านมีจำนวนมาก เราก็ต้องไปสร้างในเรื่องของการดูแลสาธารณสุข ดูแลผู้สูงอายุโดยให้แนวคิดต่าง ๆ ไป แม้กระทั่งในเรื่องของแรงงาน ขอนแก่นเป็นตลาดแรงงานที่มีมาก ทำไมถึงให้คนขอนแก่นต้องเดินทางไปถึงกรุงเทพมหานคร เดินทางไปภาคตะวันออก หรือเดินทางไปใต้ จริง ๆ แล้วขอนแก่นมีการใช้ตลาดนัดพบแรงงาน ในตรงนี้เราจึงน่าเป็นคนที่ต้องประสาน ผมจึงบอกและคิดกันว่าเราต้องประสานกันทุกภาคส่วน อบจ.ต้องประสานทุกภาคส่วน


ดร.อัษฎางค์ กล่าวเสริมว่าในส่วนของการเชื่อมโยงระหว่างคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ประธานกลุ่มมหานครขอนแก่น กล่าวว่าดังที่ได้กราบเรียนไว้ว่าท้องถิ่นเป็นตัวที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ จริง ๆ คำว่าคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า จริง ๆ แล้วมันเป็นคำที่บอกว่า ถ้าจริง ๆ แล้วถ้าทุกคนเป็นคนที่มีความคิด ทุกคนมีแนวนโยบาย นี่แหละคือเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มความคิด ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นอายุ 18 ปีที่อยู่ในวัยเลือกตั้งหรืออายุสัก 60/70 เราก็ต้องที่จะ หนึ่งถ้าเขาเห็นว่าท้องถิ่นต้องการพัฒนา นั่นหมายถึงว่าในบ้านหรือในภูมิภาคเรานี่ ถ้าเขาคิดว่าท้องถิ่นเขาสามารถดูแล เขาจะเสนอแนวความคิดเข้ามา ดังนั้นเราจะต้องไปปลุกความคิด ปลุกความเข้าใจรักท้องถิ่นเขา เขาจะได้นำแนวทางนี้เสนอขึ้นมา ดั้งนั้นนโยบายที่เราทำมันจับต้องได้ อย่างเช่น บางชุมชนมันเรื่องของกีฬาที่มันสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เราก็ต้องกำหนดนโยบายนี้ลงไปที่เยาวชน ซึ่งเราก็เห็นได้ว่าจังหวัดขอนแก่นมีนักกีฬาประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก แต่มันไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เราพูดว่าเราต้องการส่งเสริม แต่เวลาที่เราปฏิบัติจริงๆ แล้วไม่ ดังนั้นเราต้องทำตรงนี้เพื่อมันเป็นแนวทางนโยบายไปสู่เยาวชนให้เขาเกิดแรงกระตุ้น เขาเรียกว่ากำลังใจที่จะทำตรงนี้


ต่อคำถามที่ว่าในเรื่องของการขันอาสาเข้ามาเป็นนายกฯเพื่อแข่งกับนายก อบจ.ขอนแก่น คนเดิมนั้นมีความหนักใจหรือไม่ว่าอย่างไหร ดร.อัษฎางค์ กล่าวว่าเป็นเรื่องปกติว่าการเลือกตั้งมันมี 4 ปีครั้ง ใครที่รับเลือกตั้งก็บริหารในช่วง4ปี แต่สิ่งหนึ่งที่คำถึงก็คือ เราเห็นว่าการพัฒนาเราว่าจะมีนโยบาย แล้วสิ่งที่เราเห็นมันน่าจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่า เราก็จึงคิดว่าเราจะกำหนดนโยบายเหล่านี้ลงมาสู่พื้นที่ ส่วนจะเป็นฐานกลุ่มเดิม หรือผู้สมัครที่เคยได้เป็นนายกคนเดิมนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ว่าเราต้องนำนโยบายที่อยากให้พี่น้องประชาชน หรือในท้องถิ่นเราได้ใช้นี่ หรือได้เกิดประโยชน์ เราก็นำนโยบายลงไปสู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจและให้ข้อคิด และเลือกกลุ่มมหานครขอนแก่น เพราะถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยน ทีมผู้บริหาร เพื่อที่จะได้เข้ามารับใช้ดูแลประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads