วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

 “ว่าที่ ร.ต.ธนุ” รองเลขาฯ สพฐ.ลงพื้นที่ ขอนแก่น เฟ้น!หาติดตามตัวแทน รร.คุณภาพของชุมชน

 “ว่าที่ ร.ต.ธนุ” รองเลขาฯ สพฐ.ลงพื้นที่ ขอนแก่น เฟ้น!หาติดตามตัวแทน รร.คุณภาพของชุมชน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “ว่าที่ ร.ต.ธนุ” รองเลขาฯ สพฐ.ลงพื้นที่ ขอนแก่น เฟ้น!หาติดตามตัวแทน รร.คุณภาพของชุมชน


เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ลงพื้นที่ติดตามโรงเรียนคุณภาพของชุมชน ณ โรงเรียนห้วยหว้าวิทยาคม อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ได้รับการต้อนรับจาก ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 และคณะผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการศึกษาที่ 9 (บ้านฝางโซนใต้) ตลอดจนชาวบ้านที่มาร่วมให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง

ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา

ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศธ.) ที่ต้องการยกระดับรายได้ของทุกจังหวัดทั่วประเทศด้วยการยกระดับการศึกษา โดยบริหารจัดการโรงเรียนใน 3 รูปแบบ คือ โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และโรงเรียน stand alone นั้น สำหรับความจำเป็นในการสร้างโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีจำนวนเด็กนักเรียนลดลง แต่มีจำนวนโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา ส่วนโรงเรียนดีสี่มุมเมือง เนื่องจากอัตราการแข่งขันของโรงเรียนในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น มีนักเรียนเกินอัตราต่อห้องเรียน ทำให้มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้ และเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมชนบท ขณะที่โรงเรียน stand alone ที่มีความยากลำบากในการเดินทาง เช่น บนพื้นที่สูง บนเกาะแก่ง ก็ยังต้องคงให้มีไว้ แต่ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพอย่างเต็มที่


ร.ต.ธนุ กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องการสร้างโอกาสทางการศึกษา ที่ผ่านมาเราสามารถทำได้ครอบคลุมพอสมควร แต่ยังขาดในเรื่องของคุณภาพคน โดยปัจจัยที่จะทำให้คนมีคุณภาพได้ก็คือโรงเรียนต้องมีคุณภาพ ทั้งครูที่เก่ง อาคารสถานที่พร้อม หรือเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าโรงเรียนที่มีขนาดเล็กอยู่แล้วจะยิ่งเล็กลง ขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่ก็จะยิ่งขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นเราต้องสร้างโรงเรียนคุณภาพให้เกิดขึ้นและกระจายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีบริบทที่แตกต่างกัน ไม่สามารถเหมือนกันทั้งหมดได้ ในส่วนนี้ จังหวัดจะเป็นฐานในการกำหนดเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของตัวเอง


ร.ต.ธนุ กล่าวอีกว่าสำหรับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา โดยการจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษา เพื่อสามารถบริหารงานทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานใน 3 ลักษณะ คือ การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพชุมชน, โรงเรียน Stand Alone และโรงเรียนมัธยมสี่มุมเมือง
“กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการบูรณาการด้านการศึกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 ณ หอประชุมคุรุสภา โดย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสึกษาธิการ เป็นประธาน เพื่อมอบนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และการจัดทำแผนการบูรณาการด้านการศึกษา เพื่อให้สามารถบริหารในทุกด้านของการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยให้มีโรงเรียนคุณภาพของชุมชน จังหวัดขอนแก่น ที่ขอรับงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2565 จังหวัดขอนแก่น โดยทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ได้คัดเลือกโรงเรียนคุณภาพของชุมชน คือโรงเรียนห้วยหว้าวิทยาคม อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านให้ตรงตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ” ว่าที ร.ต.ธนุ กล่าว

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads