วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

มข.ติวเข้ม!ด้าน AI ทิศทางและโอกาสของเทคโนโลยีต่อการปรับกระบวนทัศน์ เพื่อให้เท่าทันต่อโลกปัจจุบัน

มข.ติวเข้ม!ด้าน AI ทิศทางและโอกาสของเทคโนโลยีต่อการปรับกระบวนทัศน์ เพื่อให้เท่าทันต่อโลกปัจจุบัน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มข.ติวเข้ม!ด้าน AI ทิศทางและโอกาสของเทคโนโลยีต่อการปรับกระบวนทัศน์ เพื่อให้เท่าทันต่อโลกปัจจุบัน


โครงการดังกล่าวคาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะเป็นบุคคลที่มีความพร้อมและมีทักษะในอนาคต โดยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางความคิด (New Paradigm Shift) โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และประยุกต์เข้ากับกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่ง ๆ ขึ้นได้


       เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น นายกสภามหาวิทยาลัยเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมประสบการณ์และสร้างองค์ความรู้ในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (A.I. Experiential Learning Programs) โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล   อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับ และ กล่าวถึงทิศทางและโอกาสของเทคโนโลยีต่อการปรับกระบวนทัศน์ เพื่อให้เท่าทันต่อโลกปัจจุบัน พร้อมด้วยท่านทูต สุรพล เพชรวรา และรศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มข.และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจน คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้ที่เข้าร่วมการประชุม


   รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าตามที่สภามหาวิทยาลัยได้มีนโยบายที่จะให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี (KKU Digital University) และได้กำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยครั้งสำคัญ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนทางด้านการศึกษา (Education Transformation) และดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ถือว่าเป็น Driving force ที่สำคัญใน Disruptive Technology ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 นี้ ดังนั้น การทำความเข้าใจ AI และผลกระทบที่เกิดจาก AI โดยผ่านประสบการณ์การเรียนรู้โดยตรงจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างเร่งด่วนในทุกประเทศ


    รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวอีกว่า ดังนั้นโครงการส่งเสริมประสบการณ์และสร้างองค์ความรู้ในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (A.I. Experiential Learning Programs) ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-23 มิถุนายน 2564 เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา (Education Transformation) ในกลยุทธ์ที่ 2 การจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในทิศทางในอนาคตและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น A.I., Blockchain, Cloud Computing, Big Data, Edge Computing และ Quantum Computing


  รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

ด้าน รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการส่งเสริมประสบการณ์และสร้างองค์ความรู้ในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (A.I. Experiential Learning Programs) ที่จัดขึ้นในครั้งนี้นั้น 1) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
2) เพื่อส่งเสริมให้นำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาปรับกระบวนทัศน์ด้านการเรียนการสอน การพัฒนางานวิจัย และงานที่เกี่ยวข้อง และ 3) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มและพัฒนานวัตกรรมที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์


    รศ.ดร.ไมตรี กล่าวเพิ่มเติมว่าโดยมีรูปแบบการดำเนินงานและเข้าร่วมกิจกรรมแบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ        บนแพล็ตฟอร์มที่ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) ที่เวบไซต์ https://vconf.kku.ac.th ซึ่งการเข้าร่วมในเวบไซต์ดังกล่าว จะมีกิจกรรมที่ประกอบด้วย
   1. การสัมมนาออนไลน์ (Virtual Forum) เรื่อง การเปลี่ยนแปลงโดยเทคโนโลยีใหม่ ๆและการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษา หรือ (Digital Disruption and Paradigm Shift in Education) ในวันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ประกอบด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น หน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงภาคเอกชน ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์  มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในทิศทางของอนาคตที่ส่งผลต่อการศึกษาและองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
   2. การจัดนิทรรศการออนไลน์ (Virtual Exhibition) ตลอดทั้งเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 โดยนำเสนอผลงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และเครือข่ายมหาวิทยาลัย มาร่วมจัดแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ การประยุกต์ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยมีผลงานจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา , KKU Medical Hub , KKU Smart Farm , KKU Smart City KKU Smart Learning , นวัตกรรมเทคโนโลยีจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยปัญญาประดิษฐ์ไทย (Thailand A.I. University Consortium) , นวัตกรรมจากภาคเอกชนในด้าน A.I.,  Robotic and Automation
3. การฝึกอบรมออนไลน์ (Virtual Classroom) สร้างประสบการณ์จากการฝึกปฎิบัติจริง (A.I. Experiential Learning Program) ซึ่งประกอบด้วย
3.1   การอบรมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้น (Basic Program) A.I. Visual Programming และ Data Science/A.I. Process จำนวน 2 วัน
3.2   การอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ที่เริ่มเข้าใจการทำงานเบื้องต้น (Intermediate Program) เรื่อง Expert System และ Python Programming จำนวน 3 วัน
3.3   การอบรมหลักสูตรสำหรับผู้ที่เข้าใจการทำงานและต่อยอดพัฒนางาน (Advanced Program) เรื่อง Computer Vision และ A.I. and Edge Computing จำนวน 4 วันซึ่งผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตร และสามารถนับเป็น Non-Degree Credit ได้อีกด้วย


  ท่านทูต สุรพล เพชรวรา

ท้ายสุดท่านทูต สุรพล เพชรวรา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวถึงผลลัพธ์ (Outcomes) จากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวคาดหวังว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะเป็นบุคคลที่มีความพร้อมและมีทักษะในอนาคต โดยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางความคิด (New Paradigm Shift) โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ใ
นการพัฒนาหลักสูตร และประยุกต์เข้ากับกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่ง ๆ ขึ้นได้ .

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads