วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

 “อาชีวะฯ ขอนแก่น” จับมือ พันธมิตร พัฒนาหลักสูตร AI for VEC ให้มีความทันสมัยแบบครบถ้วนสมบูรณ์

 “อาชีวะฯ ขอนแก่น” จับมือ พันธมิตร พัฒนาหลักสูตร AI for VEC ให้มีความทันสมัยแบบครบถ้วนสมบูรณ์
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “อาชีวะฯ ขอนแก่น” จับมือ พันธมิตร พัฒนาหลักสูตร AI for VEC ให้มีความทันสมัยแบบครบถ้วนสมบูรณ์

ผลมาจากการทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมผู้ประกอบการค้าซอฟต์แวร์และธุรกิจนวัตกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พัฒนาหลักสูตร AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ หนึ่งในเทคโนโลยีมาใหม่ที่กำลังแรง และอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามา Disrupt หลายๆ อุตสาหกรรม เป็นคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ ตัดสินใจได้อย่างเฉลียวฉลาดคล้าย ๆ มนุษย์

   เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 9 ก.ค.2564 ที่ ศูนย์ไอซี ที (ICT) วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น เขตเทศบาลนครขอนแก่น ดร.กรรณิกา  ยอดสง่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น เป็นประธานเปิดตัวโครงการพัฒนาหลักสูตร AI for VEC การทำงานในเชิงวิชาการอย่างเข้มข้นที่ต่อเนื่อง ผลมาจากการทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมผู้ประกอบการค้าซอฟต์แวร์และธุรกิจนวัตกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พัฒนาหลักสูตร AI ให้มีความทันสมัยความครบถ้วนสมบูรณ์ ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสำหรับฟาร์มสุกรอัตโนมัติ โดยมี ดร.นัยนา  เจริญผล รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ,ผศ.ภาณุพงษ์  วันจันทึก ผช.คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , ดร.ครรชิต  รองไชย ผู้ทรงคุณวุฒิ มทร. อีสานวิทยาเขตขอนแก่น ,ดร.กิตติ์กาญจน์  ปฏิพันธ์ หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารฯนักเรียน และนักศึกษา ร่วมงาน

ดร.กรรณิกา ยอดสง่า


  ดร.กรรณิกา ยอดสง่า ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น กล่าวว่าวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น มีเป้าหมายในการบริหารงานเพื่อก้าวย่างสู่ วิทยาลัยดิจิทัล (Digital College) โดยเริ่มจากให้ทีมผู้บริหารมีความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล โดยนำระบบดิจิทัลมาขับเคลื่อนและบริหารสถานศึกษา เช่นการนำระบบสแกนใบหน้าบุคลากรแทนการเซ็นต์ชื่อทำงาน การนำระบบอินฟาเรดมาตรวจสอบอุณภูมิผู้เรียนและบุคลากรก่อนเข้าวิทยาลัย การนำระบบเช็คชื่อด้วย Mobile App การมีนโยบายให้ผู้สอนผลิตสื่อดิจิทัลคนละรายวิชาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนในสถานการณ์โควิด และจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายยึดผู้เรียนเป็นสำคัญทั้ง On Site, On Demand, On Air,และ On Hand การประเมินผลโดยเน้นสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ (Competency base Assessment) ผ่านการประเมินที่หลากหลายรูปแบบ


   ดร.กรรณิกา  กล่าวอีกว่าในการดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตร AI for VEC ในวันนี้เป็นการทำงานในเชิงวิชาการอย่างเข้มข้นที่ต่อเนื่องมาจากการทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมผู้ประกอบการค้าซอฟต์แวร์และธุรกิจนวัตกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น คือ ดร.ครรชิต รองไชย ซึ่งเป็นบุคลากรมีความเชี่ยวชาญด้าน AI สมองกล และหุ่นยนต์เป็นอย่างยิ่ง โดยเป้าหมายในการการพัฒนาหลักสูตร AI for VEC ครั้งนี้จะเป็นลักษณะ แบบ Short Course  ในอนาคตเมื่อได้หลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสามารถเก็บเป็น Credit Bank นำมาเทียบโอนได้  และในปีนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นเปิดสาขาใหม่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัล คือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ และ สาขาธุรกิจการบิน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้เรียนและประชาชนที่สนใจในอนาคต


    ดร.กรรณิกา  กล่าวด้วยว่าในส่วนโมเดลนี้ เป็นโมเดลที่คัดเลือกแล้วจำนวน 20 ทีมทั่วประเทศ ซึ่งก็คือระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น สำหรับฟาร์มสุกร อัตโนมัติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่บุคลากรของเรา ที่ครูบาอาจารย์ในสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและ สาขาวิชาการตลาด ได้ร่วมมือกันพัฒนา ช่วยเหลือชุมชน ในระดับรากหญ้า ได้อาจารย์ที่ปรึกษาจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านได้ให้การสนับสนุนส่งเสริม ช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษา ส่วนโครงการนี้ก็จะเป็นโครงการที่ส่งเสริมด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบ อัตโนมัติและหุ่นยนต์ ระบบอัจฉริยะ ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับจากสวทช สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ และร่วมกับทิสโก้ และ Software Park Thailand


   ซึ่งเราทำเช่นนี้ก็เพื่อจะ พัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ให้เป็นสถานศึกษาดิจิตอล ห้องเรียนรู้ เรียนรู้เฉพาะทางด้านเทคโนโลยี ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ขอนแก่นซึ่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นของเรานั้น เป็นวิทยาลัยที่มีห้องเรียนรู้มีห้องเรียนรู้ที่เฉพาะทางมากที่สุดในประเทศ เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจ ที่บุคลากรจะผลักดันให้วิทยาลัยของเรา ให้เป็นสถานศึกษาดิจิตอล ในอนาคต คาดหวังว่าเราจะพัฒนาวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นเรานั้น ไปสู่วิทยาลัยดิจิตอล ด้วยในทุกๆงานและทุกๆงาน เพื่อที่จะให้ความสำคัญ เป็นการพัฒนาผู้เรียน เป็นคนรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 21″ดร.กรรณิกา กล่าวท้ายสุด


   ผศ.ภาณุพงษ์  วันจันทึก

ส่วน ผศ.ภาณุพงษ์  วันจันทึก ผช.คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Grid computing High Performance Computing ,Machine Learning , AI และ Robot กล่าวว่าแท้จริงแล้วได้มีการ MOU กันด้าน AI โดยทางคณะฯได้มีการส่งเสริมพัฒนา กับทางวิทยาลัยอาชีวะ ได้สักระยะหนึ่งแล้ว เช่นเอาเด็กไปแข่งขันหรือในด้าน พร้อมทั้งTraining ในด้านบุคลากร ส่วนวันนี้จะมาคุยเรื่องแผน พัฒนาบุคลากรด้าน AI โดยเฉพาะพัฒนาด้านหลักสูตร AI สำหรับนักเรียน และบุคคลทั่วไปที่อยากเข้ามาเรียน เพราะอาชีวะเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการพัฒนาหลักสูตรในด้าน AI ซึ่งเป็นการคิดที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติเราต่อไป ดังนั้นถ้าเราไม่คิดเรื่อง AI ประเทศเราจะมีการพัฒนาที่ล้าหลัง และศักยภาพในการแข่งขันก็จะไม่มี เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของทางวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น โดยเขาเรียกว่ามี Insulation ที่เยี่ยมมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่มีส่วนร่วมและผลักดัน ในกิจกรรมทุกอย่าง


   นายอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล

ด้านนายอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล นายกสมาคมการค้าซอตฟ์แวร์และธุรกิจนวัตกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ผู้จัดการบริษัท  Think Technology Ltd. กล่าวว่า ทางสมาคมของเรามีการส่งเสริมด้าน การสร้างคน เพราะว่าเราต้องการบุคลากร คอมพิวเตอร์ ที่มีคุณภาพ และสามารถออกไปทำงานได้จริง ซึ่งในยุคนี้ทักษะมาแรง มาแรงจนคนที่มีทักษะความสามารถ ส่วนด้านคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์จบเยอะ แต่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ถ้าชนะเลิศจะมาทางเรา ก็พร้อมที่จะส่งเสริม เผื่อมีงานรองรับ และทำในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นด้วย เพราะเราเชื่อมโยงกับองค์กร ใหญ่ๆเช่น บริษัท tcc คอมพิวเตอร์ในเครือไทยเบฟ โดยที่เราสามารถต่อเชื่อมจากส่วนกลางเข้ามาในที่ หรือในพื้นที่ได้ เด็กๆก็สามารถมีอาชีพมีงานทำได้ งานที่บ้านได้ด้วยตัวเอง


 ดร.กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์

    ดร.กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาหลักสูตร AI for VEC กล่าวว่าในวันนี้นับเป็นมิติใหม่ของการพัฒนา AI ของสายอาชีพโดยการให้สถานประกอบการ (ผู้ใช้ผลผลิต) มาบอกอาชีพ บอกสมรรถนะอาชีพด้าน AI และ มีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูงด้าน AI คือ ผศ.ภาณุพงษ์ วันจันทึก จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.ครรชิต รองไชย จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร AI ให้มีความทันสมัย ความครบถ้วน สมบูรณ์ เหมาะสำหรับผู้เรียนสายอาชีพและแจ้งว่าเรามี ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสำหรับฟาร์มสุกรอัตโนมัติ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาร่วมกันเพื่อช่วยเหลือชุมชนระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง โดยมีที่ปรึกษาคือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ Software Park Thailand นับเป็นความภาคภูมิใจผลงานหนึ่ง

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads