วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

“กฟก.ขอนแก่น” ลงพื้นทำสัญญากู้ยืมเงิน เกษตรกร

“กฟก.ขอนแก่น” ลงพื้นทำสัญญากู้ยืมเงิน เกษตรกร
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“กฟก.ขอนแก่น” ลงพื้นทำสัญญากู้ยืมเงิน เกษตรกร

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ได้ลงพื้นที่ทำสัญญางบกู้ยืม และชี้แจงเอกสารการเบิกจ่ายงบกู้ยืม พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจการขึ้นทะเบียนหนี้และการจัดการหนี้สินของเกษตรกรตามขั้นตอนต่อไป โดยไม่มีดอกเบี้ย

  เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564 ที่ กลุ่มเกษตรกรซับสมบูรณ์ ตำบลซับสมบูรณ์ อำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น.ส.อภิญญา อุทัยแสน พนักงานอาวุโส รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้นางสาวจุฑารัตน์ จันทร์โสม พนักงานอาวุโส และเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ พร้อมด้วยนายรังสิต ชูลิขิต และนายประดิษฐ์ สิงสง อนุกรรมการ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ได้ลงพื้นที่ทำสัญญางบกู้ยืม และชี้แจงเอกสารการเบิกจ่ายงบกู้ยืม โดยมีกลุ่มเกษตรกรร่วมประชุม รับฟังการชี้แจง และทำสัญญา


นายประดิษฐ์ สิงสง อนุกรรมการ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าในลงพื้นที่ร่วมกับ สนง.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น เพื่อทำสัญญากู้ยืม และชี้แจงเอกสารการเบิกจ่ายเงิน ให้แกสมาชิกองค์กรกลุ่มเกษตรกรซับสมบูรณ์ อ.โคกโพธิ์ชัย ที่ได้รับเงินกู้ยืมจากกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวนเงิน 840,000 บาท พร้อมกันนี้ได้ชี้แจงทำความเข้าใจการขึ้นทะเบียนหนี้และการจัดการหนี้สินของเกษตรกรตามขั้นตอนต่อไป โดยไม่มีดอกเบี้ย


ด้าน นายรังสิต ชูลิขิต อนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสำนักงานสาขาจังหวัดขอนแก่น กำกับดูแล เกษตรกร สมาชิก ของกองทุน ฯพื้นที่โซน 1 อำเภอเมือง,อำเภอบ้านฝาง และอำเภอพระยืนกล่าวด้วยว่าสำหรับการลงพื้นที่ร่วมกับ สนง.กองทุนฟื้นและพัฒนาเกษตรกร ขอนแก่น เพื่อทำสัญญากู้ยืมเงินและชี้แจงเอกสารการเบิกจ่ายเงินขององค์กรเกษตรกร 2 องค์ 1.องค์กรกลุ่มผู้เลี้ยงไหมบ้านโสกแต้ ม.2 ต.ป่าหวายนั่ง อ.บ้านฝาง ได้รับเงินกู้ยืมโครงการเลี้ยงโค 1.2 ล้านบาท 2. องค์กรผู้ปลูกข้าวโพดบ้านฝาง ต.หนองบัว อ.บ้านฝาง ได้รับเงินกู้ยืมโครงการปลูกข้าวโพดและรวบรวมผลิต 5 แสนบาท


ส่วน น.ส.อภิญญา อุทัยแสน พนักงานอาวุโส รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากการที่นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) สำหรับความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้และการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรในองค์กรสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูฯ ของปีงบประมาณ 2564 ได้มีผลการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด โดยในส่วนของการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งเป็นหนี้ในระบบตามระเบียบที่กำหนด ภายใต้การเข้าไปช่วยเหลือจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. การฟื้นฟูอาชีพให้กับสมาชิกในรูปของกลุ่มหรือองค์กร ที่มีการเสนอแผนฟื้นฟู ได้รับการสนับสนุนทั้งในรูปเงินกู้ยืมและในรูปเงินอุดหนุน

โดยนับตั้งแต่มีการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ มาจนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการอุดหนุนและสนับสนุนแล้วรวมทั้งสิ้น 11,361 กลุ่ม คิดเป็นจำนวนเกษตรกรที่ได้ประโยชน์ 270,000 กว่าราย และ 2. การแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งเป็นหนี้ในระบบตามที่ระเบียบกำหนด เช่น หนี้สถาบันการเงินต่างๆ ได้มีการช่วยเหลือด้วยการเข้าไปซื้อหนี้และซื้อทรัพย์คืนจากเจ้าหนี้ แล้วนำมาไว้ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อให้เกษตรกรมาซื้อคืนภายหลัง รวมจำนวนทั้งสิ้น 30,161 ราย โดยใช้ทุนหมุนเวียนในการนี้ประมาณ 7,000 ล้านกว่าบาท.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads