วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

ขอนแก่น เตรียมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา (เครือข่ายภูพาน)เป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่อีสานตอนกลาง

ขอนแก่น เตรียมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา (เครือข่ายภูพาน)เป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่อีสานตอนกลาง
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ขอนแก่น เตรียมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา (เครือข่ายภูพาน)เป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่อีสานตอนกลาง


หน่วยบริหารงาน มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ร่วมบูรณาการกับ จังหวัดขอนแก่น กระทรวงมหาดไทย ,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,สภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา (เครือข่ายภูพาน)โดย มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ เป็นผู้ขอใช้ในการจัดทำประโยชน์สาธารณชน เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่อีสานตอนกลาง


    เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ที่ ห้องรับรอง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ดร.สมศักดิ์ คุณเงิน สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เขต 7 ประธานที่ปรึกษาสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายสุรสิทธิ์ เคนพรม หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ,นายวรเชษฐ ชาวเหนือ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ ตัวแทน ดร.พัฒนา นุศรีอัน เกษตรกรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น , หัวสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดขอนแก่น, ผอ.กลุ่มงานกฏหมาย สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัดขอนแก่น ,นายสมร ทิพบุญชู ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฏร คนที่ 2 , และ ดร.วรพนธ์ จันทรธีระยานนท์ ได้เข้าพบ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  เพื่อหารือโดยมีข้อปรึกษาดังนี้

1).เรื่องการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา (เครือข่ายภูพาน)โดย มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ เป็นผู้ขอใช้ในการจัดทำประโยชน์สาธารณชน เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่อีสานตอนกลาง   2.) หน่วยบริหารงาน มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ ร่วมบูรณาการกับ จังหวัดขอนแก่น กระทรวงมหาดไทย ,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,สภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมดำเนินการ  3.) เป้าหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ ,โคกหนองนาโมเดล เป็นต้น


  นายสุรสิทธิ์ เคนพรม

นายสุรสิทธิ์ เคนพรม หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า สำหรับเกษตรกร ,ยุวเกษตร ,และทุกภาคส่วนที่สนใจในศาสตร์พระราชา  โดยขอใช้พื้นที่ของ สปก. จำนวน 100 กว่าไร่เศษ โดยมอบหมายให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการตามแนวทางข้อสั่งการจากส่วนกลาง และเร่งรัดดำเนินการการขอใช้พื้นที่ ตามคำขอของ มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ พร้อมมอบหมายให้ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการบุกรุกที่ดินของรัฐ และให้หัวหน้าสำนักงานให้ข้อมูลรายละเอียดการดำเนินการร่วมกับจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปรายงานความคืบหน้าการดำเนินการต่อไป
      หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวอีกว่าถ้าสามารถจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ขึ้นได้ ประการที่1.)จะเป็นเครือข่ายศูนย์ภูพาน และทางภูพาน ก็จะช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้ศูนย์ขอนแก่น  2.)จะให้ภาคการเกษตร สำหรับเกษตรกร ที่ต้องการเรียนรู้ด้านการเกษตร จะต้องมีฐานเรียนรู้ครบวงจรครอบคลุมทุกด้าน เช่น พืชผักผลไม้ พืชสมุนไพร พืชเศรษฐกิจ(ข้าว) ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง เป็นต้น โดยให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,กระทรวงมหาดไทย ทุกกรมที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบจัดทำฐานเรียนรู้ พร้อมจัดให้มีเกษตรกรที่มีภูมิลำเนาในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงพื้นทีศูนย์ฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการรับผิดชอบแต่ละฐานร่วมกับส่วนราชการ โดยมี “ มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์” เป็นผู้บริหารศูนย์ ให้เกิดความคล่องตัว โดยภาคราชการเข้ามาสนับสนุน และต้องการให้สถาบันการศึกษา  ประกอบด้วย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น  ได้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ ในการใช้องค์ความรู้ที่เป็นงานวิจัย และนวัตกรรมสมัยใหม่ เข้ามาสนับสนุนให้สอดคล้องกับการทำการเกษตร ในทุกมิติ     
   3.)อยากให้สถานศึกษาทุกแห่งทั้งในจังหวัดขอนแก่น และอีสานตอนกลาง ได้สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กนักเรียนทั้งประถม และมัธยม จัดให้เด็กเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานด้านการเกษตร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึมซับ รากเหง้าวัฒนธรรมดั้งเดิม และปัจจุบันของประเทศ และให้เกิดการพัฒนาสู่การปฏิบัติจริงในฐานเรียนรู้ เพื่อนำมาปรับใช้กับการสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่  4.) สถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการแพร่ระบาดโรคอุบัติใหม่ (Covid-19) พร้อมทั้งปรากฏการทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบทั่วโลก
    โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ที่ประชาชนไม่สามารถประกอบอาชีพ- ดำเนินชีวิตได้เป็นปรกติ อีกทั้งมีความเสี่ยงความมั่นด้านอาหาร อาจนำไปสู่เกิดการขาดแคลนด้านอาหารในอนาคต เพราะผลกระทบที่เกิดจากภัยธรรมชาติ  จึงเห็นควรให้ประชากรของเราได้เรียนรู้พร้อมนำไปปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อม และภาวะความเสี่ยงด้านอาหาร และสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับ ระดับครอบครัว ,ชุมชน ประเทศ อีกทั้งจะได้ตอบโจทย์เรื่อง ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ กับตนเอง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งทางคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการนี้ อยากเห็นให้มันเกิดขึ้นในการเตรียมความพร้อมคนของเราเพื่อจะได้รับมือกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น จะเป็นการช่วยลดผลกระทบในระยะยาว สำหรับประชาชนคนไทยในปัจจุบัน และอนาคต.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads