วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

ศัลยแพทย์ ด้านประสาท รพ.ศรีนครินทร์ มข.”เจ๋ง!รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีใส่ขดลวด ให้รอดชีวิต

ศัลยแพทย์ ด้านประสาท รพ.ศรีนครินทร์ มข.”เจ๋ง!รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีใส่ขดลวด ให้รอดชีวิต
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ศัลยแพทย์ ด้านประสาท รพ.ศรีนครินทร์ มข.”เจ๋ง!รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีใส่ขดลวด ให้รอดชีวิต


คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเสนอผลงานวิจัยการรักษาพยาบาลโดยวิธีใส่ขดลวดมีความคุ้มค่า และลดอัตราการพิการหรือเสียชีวิตได้ ผ่านที่ประชุมของ สปสช.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รัฐบาลไฟเขียว ลดค่าใช้จ่าย ช่วยผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง เข้าถึงการรักษาพ้นภาวะพิการ หรือเสียชีวิต


เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 กรณีที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศูนย์ความเป็นเลิศโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ได้ผลิต งานวิจัย เรื่อง ความคุ้มของการรักษาพยาบาลโดยวิธีใส่ขดลวดขึ้น โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส) โดยทีมนักวิจัย ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากผู้ป่วยในประเทศไทย กว่า 10 ปี และเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ กว่า 5 ปี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การรักษาพยาบาลโดยวิธีใส่ขดลวดมีความคุ้มค่า และลดอัตราการพิการหรือเสียชีวิตได้ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
นายแพทย์ พิชเยนทร์ ดวงทองพล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทศัลยแพทย์ ประจำโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้เปิดเผนถึงการวิจัยนี้ว่า “งานวิจัยที่ว่าด้วยความคุ้มของการรักษาพยาบาลโดยวิธีใส่ขดลวด ทีมนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเมื่อได้ผลการศึกษาวิจัยแล้ว จึงได้นำเสนอต่อที่ประชุมของ สปสช.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย ผศ.นพ.อำนาจ กิจควรดี เป็นผู้นำเสนอให้เห็นถึงความคุ้มของการรักษาพยาบาลประชาชนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองโดยวิธีใส่ขดลวด จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบ ผ่านการอนุมัติให้ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทอง สามารถเบิกจ่ายเงินค่าผ่าตัดโดยวิธีการใส่ขดลวด (Coiling) ได้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยมีประกาศว่า ให้ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดสมองโป่งพองแล้วแตกต้องทำการผ่าตัดโดยใช้วิธีใส่ขดลวด สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ เส้นละ 13,500 บาท หรือ 1 คนจะใช้ ประมาณ 4 เส้น สามารถเบิกจ่ายได้กว่า 50,000 บาท จากปกติผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทองไม่สามารถเบิกจ่ายการรักษาด้วยวิธีใส่ขดลวดได้เลยซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงถึงกว่า 100,000 บาท ”

ผศ.นพ.อำนาจ กิจควรดี

ด้าน ผศ.นพ.อำนาจ กิจควรดี แพทย์ผู้เชียวชาญด้านประสาทศัลยแพทย์ ประจำโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เปิดเผยว่า“โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้ก่อตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองขึ้น โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองโป่งพองของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีจำนวนมากกว่า 100 ราย ที่ต้องรับการผ่าตัด แต่สามารถรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการใส่ขดลวดได้แค่ 10 % เท่านั้น เนื่องจากค่าผ่าตัดแบบใส่ขดลวดจะมีค่าใช้จ่ายเกือบหนึ่งแสนบาท ที่เป็นปัญหาสำหรับประชาชนผู้มีความยากจน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้


ผศ.นพ.อำนาจ กล่าวด้วยว่า ดังนั้นข้อจำกัดที่ความยากจนจึงได้ถูกหยิบขึ้นมาเพื่อเป็นโจทย์ของงานวิจัยที่ว่าด้วยความคุ้มของการรักษาพยาบาลโดยวิธีใส่ขดลวด พบว่าผลการศึกษาของการรักษาเมื่อรักษาโดยการใช้ขดลวด มีความคุ้มในด้านค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด เมื่อเทียบกับผลการรักษาหรือค่าใช้จ่ายหากเกิดความพิการขึ้น”
ผศ.นพ.อำนาจ กล่าวอีกว่า ฉะนั้นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทอง สามารถเบิกจ่ายเงินค่าผ่าตัดโดยวิธีการใส่ขดลวด (Coiling) ได้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป นับว่างานวิจัย ความคุ้มของการรักษาพยาบาลโดยวิธีใส่ขดลวดชิ้นนี้ เป็นงานวิจัยที่ก่อให้เกิดผลดีต่อประชาชนผู้มีข้อจำกัดในค่ารักษาพยาบาล โดยมี ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานสำคัญในการร่วมผลักดันโครงการ จนเกิดผลสำเร็จเป็นอย่างดีต่อประชาชนชาวไทยทั้งประเทศได้เข้าถึงบริการเพื่อสุขภาพโดยไม่มีข้อจำกัด


   ผศ.นพ.อำนาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง เป็นโรคที่คนไข้จะมาพบแพทย์เมื่อมีภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งอยู่ในภาวะเร่งด่วนในการรักษา และมีโอกาสเส้นเลือดจะแตกซ้ำได้สูง อันจะนำมาสู่การเสียชีวิตหรือพิการ วิธีการรักษาจะมีการผ่าตัดเพื่อหนีบกระเปาะหลอดเลือดโป่งพองนั้น (Clipping) หรือใส่ขดลวดสปริง (Coiling) ขึ้นอยู่กับรอยโรคของผู้ป่วย ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโดยการใส่ขดลวดสปริง ที่ได้ผลดี มีบาดแผลน้อย สามารถทำได้ในบริเวณที่ผ่าตัดได้ยาก แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
“ที่ผ่านมาผู้ใช้สิทธิ์บัตรทองในประเทศไทย ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาโดยการใส่ขดลวดสปริง ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงต้องผ่าตัดแบบเปิดกะโหลกศรีษะ ส่งผลต่อการรักษาออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะพิการและชีวิตสูง ซึ่งจะส่งผลต่องบประมาณการดูแลประชากรผู้ป่วยของรัฐ”ผศ.นพ.อำนาจ กล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads