วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

“ปชช.อ.เวียงเก่า”รับฟังความคิดเห็น การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ จ.ขอนแก่น

“ปชช.อ.เวียงเก่า”รับฟังความคิดเห็น การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ จ.ขอนแก่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“ปชช.อ.เวียงเก่า”รับฟังความคิดเห็น การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ จ.ขอนแก่น

อ.เวียงเก่า เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (ปัจฉิมนิเทศโครงการ)โครงการศึกษาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ จ.ขอนแก่น เพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภค-บริโภค แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อน แห่งใหม่ของ จ.ขอนแก่นพร้อมทั้งสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำการเกษตร

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น นายกิติพงศ์ อุระวัตร นายอำเภอเวียงเก่า เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 (ปัจฉิมนิเทศโครงการโครงการ)ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ จังหวัดขอนแก่น โดยมี ดร.พัฒนา นุศรีอัน เกษตรและสหกรณ์ จ.ขอนแก่น นายสุรสิทธิ์ เคนพรม หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตร จ.ขอนแก่น, นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ , หัวหน้าส่วนราชการระดับต่างๆ,หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ, สถาบันการศึกษา, ผู้แทนกรมชลประทาน, สำนักบริหารโครงการ ส่วนสิ่งแวดล้อม, ผู้แทน บริษัทสามารถ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด ,ผู้แทน บริษัท อินเตอร์ เทค คอนซัลแตนส์ จำกัด และประชาชนผู้สนใจ เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 153 คน

นายกิติพงศ์ อุระวัตร

นายกิติพงศ์ อุระวัตร นายอำเภอเวียงเก่า กล่าวว่า ความจำเป็นของโครงการฯที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลสรุปลักษณะโครงการที่สำคัญ สรุปผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ร่างมาตรการป้องกันแก้ไข และติดตามการตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องรับทราบ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมายมาใช้ประกอบการกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สอดคล้องกับความต้องการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


นายกิติพงศ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ประชาชนจะได้รับคือเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค เมื่อการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเสร็จแล้ว ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ พร้อมทั้งสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำการเกษตร และการนำน้ำไปใช้อุปโภค-บริโภค รวมไปถึงการเติมน้ำ ในแหล่งน้ำในพื้นที่ท่อลำเลียงน้ำที่ไหลผ่าน ท่อลำเลียงน้ำซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งซ้ายและฝั่งขวาต่างก็ได้รับผลประโยชน์ ทั้ง 3 ตำบลในพื้นที่อำเภอเวียงเก่า และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

นายสุรชาติ มาลาศรี

ด้าน นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กล่าวว่า สืบเนื่องเมื่อปีพ.ศ 2551 ประชาคมคนรักเวียงเก่า ได้ทำหนังสือเสนอถึง ฯพณฯสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอรับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างเขื่อนเก็บน้ำเพื่อเมืองเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ คือ โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านโนนสวรรค์ และอ่างเก็บน้ำบ้านโนนสูง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร


นายสุรชาติ กล่าวด้วยว่าต่อมาในปีพ.ศ 2554 สำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน ได้สำรวจสภาพพื้นที่และวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการ พบว่าโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านโนนสวรรค์ ตำบลเมืองเก่าพัฒนา มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นโครงการชลประทานขนาดกลางโดยได้เลื่อนจุดที่ตั้งขึ้นไปด้านเหนือน้ำ เพื่อลดผลกระทบต่อที่ทำกินของประชาชน และกำหนดชื่อโครงการเป็น”โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้”และศึกษาวางโครงการแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2555


นายสุรชาติ กล่าวอีกว่าโครงการอ่างเก็บน้ำ ห้วยจรเข้วัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับพื้นที่เพาะปลูกและเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคของประชาชน มีที่ตั้งหัวงาน และอ่างเก็บน้ำอยู่ท้ายฝายแก่งวังไฮ 400 เมตร ตั้งอยู่ที่หมู่ 10 บ้านโนนสวรรค์ ตำบลเมืองเก่าพัฒนา และหมู่ 3 บ้านโพธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเก่า จังหวัดขอนแก่น หัวงานและอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 1,267 ไร่ โดยอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูเวียง ในเขตป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม(โซน C) จำนวน 481 ไร่ ซึ่งอยู่ระหว่าง 50 ไร่ แต่ไม่ถึง 500 ไร่ จึงเป็นโครงการที่เข้าข่ายประเภทและขนาดโครงการ ที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือที่เรียกว่า IEE ตามมติ ครม.เกี่ยวกับป่าอนุรักษเพิ่มเติม (26 เมษายน 2554) เพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาให้ความเห็นชอบ และใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้างตามขั้นตอนต่อไป


“ผลจากการศึกษาลักษณะโครงการที่เหมาะสม พบว่าอ่างเก็บน้ำ มีความจุที่ระดับเก็บกักปกติ 12.48 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับผลประโยชน์ ประกอบด้วยพื้นที่ชลประทาน และพื้นที่ชุมชนรวม 17,900 ไร่ ส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำความยาวรวม 24.60 กิโลเมตรเป็นท่อส่งน้ำสายหลักฝั่งซ้าย 14.30 กิโลเมตร และฝั่งขวา 14.30 กิโลเมตร ส่งน้ำเพื่อการชลประทานในฤดูฝน 13,500 ไร่ และฤดูแล้ง 5,000 ไร่ และส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในเขตตำบลเมืองเก่าพัฒนา ตำบลในเมือง และตำบลเขาน้อย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งใหม่ ที่จะเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวปัจจุบันในอำเภอเวียงเก่าได้ด้วย”นายสุรชาติ กล่าว

นางฉวีวรรณ สีอุทา

ส่วน นางฉวีวรรณ สีอุทา อายุ 62 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 122 หมู่ 4 บ้านเตาปูน ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น อาชีพเกษตร ทำไร่ทำนา กล่าวว่า ตนเองมีพื้นที่ๆจะดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ แต่ว่าเพื่อเป็นการเสียสละในเรื่องส่วนตัว ให้กับส่วนรวม โดยที่ตัวเองได้รับผลกระทบเสียหายแต่ว่าดิฉันไม่มีคำคัดค้านอะไรถ้าว่า จะดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้จริงๆ มันก็อาจจะมีผลประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนต่อคนส่วนมากจะได้รับผลประโยชน์ ดิฉันจึงอยากให้รีบเร่งจัดการก่อสร้างเร็วโดยไม่มีข้อโต้แย้งอันใดกัน เพราะคิดว่าจะมีผลประโยชน์ต่อเกษตรกรต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads