วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

“กฟผ.” แบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้าประชาชน อุ้มค่าเอฟทีกว่า 36,000 ล้านบาท พร้อมปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 14,800 ล้านบาท

“กฟผ.” แบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้าประชาชน อุ้มค่าเอฟทีกว่า 36,000 ล้านบาท พร้อมปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 14,800 ล้านบาท
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“กฟผ.” แบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้าประชาชน อุ้มค่าเอฟทีกว่า 36,000 ล้านบาท พร้อมปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 14,800 ล้านบาท
กฟผ. ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน อุ้มค่าเอฟทีกว่า 36,000 ล้านบาท รุดปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ โดยเลื่อนปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 ที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ออกไป 1 ปี และเดินเครื่องโรงไฟฟ้าบางโรงด้วยน้ำมันเตา-ดีเซล แทนก๊าซฯ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 14,800 ล้านบาท

ดร.จิราพร ศิริคำ

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะโฆษก กฟผ.เปิดเผยว่า ในสถานการณ์วิกฤตพลังงานที่ราคาก๊าซธรรมชาติหรือ LNG ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2564 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่อ่อนค่าลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น กฟผ. ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนเป็นอย่างยิ่ง จึงเร่งดำเนินการ ตามแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ด้วยการปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ โดยเลื่อนแผนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 ที่มีกำหนดปลดออกจากระบบผลิตไฟฟ้าในวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศลงได้ คาดว่า การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 ซึ่งใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิตประมาณ 2,160 ล้านหน่วย เทียบเท่ากับการใช้ LNG ประมาณ 15,330 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้ถึงประมาณ 12,200 ล้านบาท และ กฟผ. ยังได้ปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าบางปะกงและโรงไฟฟ้าเอกชนในภาคตะวันตกให้มาใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล แทนการใช้ก๊าซฯ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2564 เพื่อลดการนำเข้า LNG คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณ 1,235 ล้านหน่วย เทียบเท่ากับการใช้ LNG 7,839 ล้านลูกบาศก์ฟุต ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้ถึง 2,600 ล้านบาท
      ดร.จิราพร ศิริคำ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้แบกรับต้นทุนเชื้อเพลิงค่าก๊าซฯ แทนผู้ใช้ไฟฟ้าในงวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 ไปก่อนเป็นการชั่วคราวอีกประมาณ 36,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กฟผ. ยังเตรียมพร้อมแผนรองรับอื่น ๆ ไว้อีกด้วย อาทิ การปรับแผนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำต่างประเทศให้สอดคล้องรองรับกับสถานการณ์ และแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ประเภทพลังงานหมุนเวียน เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม พร้อมทั้งจัดตั้ง War Room เพื่อติดตามข้อมูลราคาเชื้อเพลิงแต่ละประเภท และพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจาก LNG ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้วิกฤตพลังงานในครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads