วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

 “ม.ขอนแก่น”จัดกิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15

 “ม.ขอนแก่น”จัดกิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “ม.ขอนแก่น”จัดกิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15


มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15ในงานได้นำเสนอและให้ผู้รับชมได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการบรรยายพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหัวข้อต่าง ๆ

   เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 26 มีนาคม 2565 ที่ ชั้น 4 ห้อง Smart Classroom อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15 (The 15th National Open Class) โดยมี รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิกรบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมี ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวต้อนรับ ในการนี้มี ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและอดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ,ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ,Prof. Yutaka OHARA, College of Education, Kanto-Gakuin(คันโต กักกูเอ) University,ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี เลขานุการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และประธานกรรมการบริหารหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข.,ดร.นิภาพร กุลสมบูรณ์ ร่วมเป็นวิทยากรผู้บรรยาย ซึ่งการจัดกิจกรรมในปีนี้ มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู บุคลากรทางการศึกษา คณาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ,ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมกว่า 1500 คน


  รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มข.กล่าวว่าการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15 (The 15th National Open Class) ขึ้น ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2565 ในรูปแบบFullOnlineผ่านwww.openclassthailand.com ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning Classroom Model: BLC) เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาสำหรับอาเซียน และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ร่วมกับ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด สมาคมคณิตศาสตรศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)


   กิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ หรือ National Open Class ดำเนินการมาปีนี้เป็นปีที่15 แล้ว วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมนี้ เพื่อเป็นเวทีให้ผู้สนใจได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน เกี่ยวกับ กระบวนการในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน โดยการนำเอานวัตกรรม Lesson Study “การศึกษาชั้นเรียน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมร่วมกับโครงการ APEC Lesson Study ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจ มาตลอด 15 ปี เป็นแนวคิดใหม่ที่จะปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาวิธีการสอนด้วยการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ยั่งยืน โดยมีจุดเน้นคือ 1) การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน 2) การพัฒนาใช้ห้องเรียนจริง 3) การเรียนรู้ร่วมกันของครูเพื่อทำความเข้าใจนักเรียนและยอมรับแนวคิดของนักเรียน และ 4) การพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา ดังนั้นการเปิดชั้นเรียนจึงถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้มีการสะท้อนและปรับการดำเนินงานให้ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อไป


   ซึ่งในกิจกรรมครั้งนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนโดยคุณครูที่ได้นำเอานวัตกรรมดังกล่าวไปพัฒนาในโรงเรียนตัวเอง จากการที่คุณครูในโรงเรียนพยายามช่วยกันทำความเข้าใจนักเรียน ทำงานร่วมกันในชั้นเรียน จนกลายเป็นชั้นเรียนที่เปิดกว้าง มีการศึกษาชั้นเรียนมาร่วมกันในช่วงสิ้นเทอม และนำมาซึ่งการแบ่งปันโดยการเปิดชั้นเรียนของตนเองที่ได้นำไปพัฒนา เพื่อให้เกิดพื้นที่และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาการและวิชาชีพร่วมกันในเวทีระดับชาติในวันนี้


   จากการบุกเบิกนำร่องใช้นวัตกรรมทางด้านการสอนตั้งแต่ปี 2542 จนกระทั่งเข้าสู่ระบบโรงเรียนเต็มรูปแบบในปี 2549 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงตอนนี้ 15 ปี มีการขยายผลไปโรงเรียนในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้รวมทั้งภาคกลาง รวมกว่า 300 โรงเรียนประกอบกับการทำวิจัยและพัฒนาทางด้านการสอนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ทำให้สามารถสร้างวัฒนธรรมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในโรงเรียนได้ ซึ่งนับเป็นการขับเคลื่อนที่ตอบโจทย์และสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG4) และส่งเสริมให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15 ให้ความสำคัญกับการบริการวิชาการจากความรับผิดชอบต่อสังคมสู่การ ร่วมการจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ มีกำหนดจัดขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องในรูปแบบ Onsiteแต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้การจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14 ปี ในปีพ.ศ. 2563 ถูกเลื่อนมาจัดในปี พ.ศ. 2564 และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นรูปแบบ Online เต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ทีมผู้จัดได้พยายามปรับเปลี่ยนและนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยสนับสนุน อาทิเช่น การบันทึกเทปจากชั้นเรียนจริง การบรรยายพิเศษผ่านระบบออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ต่างประเทศ การจัดทำนิทรรศการเสมือนจริง หรือเป็นVirtual Exhibition ผลจากการดำเนินงานในปีที่แล้ว ทำให้เห็นว่า แม้ผู้เข้าร่วมจะไม่สามารถเดินทางมารวมตัวเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในสถานที่เดียวกัน แต่ก็ยังสามารถเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งส่งเสริมให้เห็นว่าเป็นบรรยากาศแบบการเรียนรู้แบบใหม่อย่างยั่งยืน ที่ตอบสนองและเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน


   ดังนั้น แม้สถานการณ์ในปัจจุบันจะยังไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมแบบ onsite ได้เช่นเดิมเพื่อให้การจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15 ปี ในปีพ.ศ. 2565 ดำเนินต่อไป และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทีมผู้จัดได้เตรียมการดำเนินงานภายใต้มาตรการป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และกำหนดจัดในรูปแบบ Online เต็มรูปแบบอีกครั้ง
   โดยกิจกรรมภายในงานครั้งนี้ ประกอบด้วย1) การเปิดชั้นเรียน โดยครูผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมการสอนจากในประเทศจำนวน 6 ชั้นเรียน และได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ อาจารย์ Hiroyuki Abe จากHokkaido University of Education Iwamizawa School ประเทศญี่ปุ่น
2) การบรรยายพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า Prof. Yutaka OHARA, Collegeof Education, Kanto-Gakuin University ประเทศญี่ปุ่น และผมเข้าร่วมให้การบรรยายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิดขั้นสูง กับ A3) การเสวนาและนำเสนองานวิจัยในชั้นเรียน โดยครูที่ใช้นวัตกรรมการการพัฒนาชั้นเรียน4) การนำเสนอ Best Practice ในด้านต่างๆ โดยผู้อำนวยการโรงเรียน5) สารคดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ เน้นการเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended-Learning Classroom Model: BLC)6) การนำเสนอวิจัยในชั้นเรียน โดยครูที่นำการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิดไปใช้ในภาคปฏิบัติและพัฒนาให้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน และ7) นิทรรศการเสมือนจริง ของโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชั้นเรียน และหน่วยงานอื่นๆ
กว่า 200 โรงเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านทางออนไลน์ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาศึกษานิเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคคลที่สนใจ รวมจำนวนกว่า 1,500 คน


  รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล

ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากคำกล่าวของ รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มข.ทำให้ทราบว่ามีความพยายามในการ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ของสถาบันวิจัย และพัฒนาวิชาชีพครูสําหรับอาเซียน อาชีพครู และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ด้วยการเป็นหน่วยงานหลัก ในการผลิตอาชีพครู พัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา ทั้งในรูปแบบ เปิดชั้นเรียนจริง พัฒนาในอาชีพครู เพื่อเชื่อมโยงระหว่างระบบปิด และระบบครูประจำการ เป็นเวลานานมากกว่า 15 ปี ซึ่งส่งผลในระบบการจัดการศึกษา เพื่อการเรียนรู้เองและเพื่อการเรียนรู้ การศึกษา ตลอดชีวิต อีกทั้งยังรองรับเพื่อในอาชีพครู ตลอดชีวิต อีกครั้ง ยังรองรับ เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในช่วงชีวิต การทำงานในส่วนนี้


   นับเป็นการขับเคลื่อนที่มีส่วนผลักดัน ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อบริการสังคม ชุมชน และในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศและในงานต่างๆทั้งในประเทศ นับว่าเป็นการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา การพัฒนาการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาชั้นเรียนทั่วทุกภูมิภาคของไทย ตอบสนองความต้องการของประเทศ ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรม(The 15th National Open Class) ในครั้งนี้ ก็อยากให้ทุกท่านได้เรียนรู้นวัตกรรมการศึกษาแบบ เปิดชั้นเรียน ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้มามากกว่า 100 ปีในประเทศญี่ปุ่น โดยเน้นให้นักเรียนได้เห็นชั้นเรียนแบบนวัตกรรม เน้นให้นักเรียน ได้เสริมทักษะ ในรูปแบบชั้นเรียนที่เน้นการเรียนรู้แบบผสมผสาน การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ไปใช้ในภาคปฏิบัติและในการวิจัยในชั้นเรียนต่อไป


   ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา

ส่วน ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับว่าในนามรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น รู้สึกเป็นเกียรติ
และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้มากล่าวต้อนรับท่านผู้มีเกียรติทุกท่านจำนวนกว่า1,500 คน ที่ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15 (The 15″National Open Class) ในครั้งนี้ อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากในหลายภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่พวกเราในแวดวงของวงการการศึกษา ส่งผลให้การจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบจากที่เราเคยจัดกิจกรรมในรูปแบบ Onsite ในทุกๆ ปีที่ผ่านมา ต้องเปลี่ยนมาเป็นการจัดกิจกรรมแบบ Online เต็มรูปแบบ


   โดยอย่างที่ทุกท่านทราบดีว่าเราได้เริ่มจัดกิจกรรมในรูปแบบ Online อย่างเต็มรูปแบบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14 ซึ่งถือเป็นความท้าทายของเราและทีมงานเป็นอย่างมากที่จะต้องพยายามจะจัดกิจกรรมในรูปแบบ Onine ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านได้เข้าร่วมเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งถึงแม้ในปีที่แล้วจะเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบOnline เป็นครั้งแรก แต่เราก็ได้รับ Feedback ที่ดีเป็นอย่างมาก ทำให้เราและทีมงานได้รับกำลังใจที่จะพัฒนาการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Online ให้ดียิ่งๆขึ้นไป
    ซึ่งมาในปีนี้เราก็ยังเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Online อย่างเต็มรูปแบบเช่นกัน ซึ่งตนก็มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15 (The 15th NationalOpen Class) ในครั้งนี้ นั้นมีความพร้อมในทุกๆด้าน เพื่อให้ทุกๆท่านได้เข้าร่วมเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างเต็มที่ โดยกิจกรรมในครั้งนี้ มีพื้นที่ที่จัดขึ้นให้เราได้เรียนรู้ร่วมกันหลากหลายกิจกรรม.


  

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads