วันพุธ 24 เมษายน 2024

ลุยถก!พ.ร.บ.เข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

ลุยถก!พ.ร.บ.เข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ลุยถก!พ.ร.บ.เข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น


เดินหน้าพิจารณาพ.ร.บ.”การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเมืองการปกครอง ในการเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565ที่ โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นายสมศักดิ์ คุณเงิน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. …. เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเมืองการปกครอง ในการเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น”โดยมีนายสรชาติ วิชยสุวรรณพรหม เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ….กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวต้อนรับ ในการนี้รศ.ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ คณบดีวิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มข.รศ.วนิดา สารแสงพันธ์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มข.ร่วมเป็นวิทยากร ซึ่งมี หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน เข้าร่วมสัมมนา

นายสรชาติ วิชยสุวรรณพรหม

นายสรชาติ วิชยสุวรรณพรหม กล่าวว่า การสัมมนาภายใต้โครงการสัมมนาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเมืองการปกครอง ในการเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นจัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ…. เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.ซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องมีการดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นและกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกคส่วนท้องถิ่นสามารถเข้าชื่อกันเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นได้สะดวกและมีความเหมาะสมยิ่งประกออบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง กำหนดให้ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึ่งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ

รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกชั้นตอนเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปการจัดสัมมนาในวันนี้ จึงเป็นโอกาสนดีที่ได้รับความร่วมมือจากทุกท่านณ ที่นี้ ซึ่งมาจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.และร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ..รวมถึงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนารับทราบและมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย โดยสามารถนำข้อมูลผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวมาวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตรากฎหมาย เพื่อนำมาสู่การทบทวนปรับปรุง และพัฒนาร่างกฎหมายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป


ด้านนายศักดิ์  คุณเงิน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. …. กล่าวว่าคณะกรรมาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องได้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นและร่าง พ.ร.บ.ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ปี 2542 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้บัญญัติไว้ในข้อความที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560
รัฐบาลจึงได้เสนอกฎหมายดังกล่าวสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏร โดยทั้ง 2 ฉบับผ่านการรับหลักการ และตั้งกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว 1 ฉบับ คือร่าง พ.ร.บ.เข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
ส่วนร่าง พ.ร.บ.ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการซึ่งพิจารณาผ่านวาระแรกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนภายในท้องถิ่น ประชาชน จึงเป็นผู้มีสิทธิในการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นให้เป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads