วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

 “คณะนิติฯ มข.”จับมือองค์กรเครือข่ายทางวิชาการ จัดการประชุมจัดการศึกษาในหลักสูตรใหม่

 “คณะนิติฯ มข.”จับมือองค์กรเครือข่ายทางวิชาการ จัดการประชุมจัดการศึกษาในหลักสูตรใหม่
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “คณะนิติฯ มข.”จับมือองค์กรเครือข่ายทางวิชาการ จัดการประชุมจัดการศึกษาในหลักสูตรใหม่


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ องค์กรเครือข่ายทางวิชาการจัดการประชุม (Plenary Session) เรื่อง Legal Education for Equality & Creativity Conference 2022 การจัดการเปลี่ยนการศึกษา เปลี่ยนกระบวนการขั้นตอนด้านการศึกษา การศึกษาเพื่อตลอดชีวิต ของการจัดการศึกษาในหลักสูตรใหม่


   เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ที่ ห้องประชุมประชาสโมสร 1-2 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์จังหวัดขอนแก่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ องค์กรเครือข่ายทางวิชาการจัดการประชุม (Plenary Session) เรื่อง Legal Education for Equality & Creativity Conference 2022 พร้อมทั้งการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์กับคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยรศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานสักขีพยาน ,ว่าที่รัอยตรี ดร.ถวัลย์ ระยาพร นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผศ.กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงฯนายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร อุปนายกฝ่าย ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายอนุพร  อรุณรัตน์ ผู้แทนกรรมการประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายสุรสิทธิ์ ทุมทาประธานสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ลงนามเป็นพยาน

โดยในช่วงเช้า เป็นพิธีเปิดและปาฐกถานำ “ฉากทัศน์มหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่ EDUCATION TRANSFORMATION”โดย รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิยะกูล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยาพิเศษ เรื่อง “การขับเคลื่อนหลักสูตรภายใต้แนวคิด HIGHER EDUCATION SANDBOX”
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทิศทางการจัดการศึกษานิติศาสตร์ : LAW KKU VISION 2030 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   โดยในช่วงที่ 2 การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์กับคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยรศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานสักขีพยาน ,ว่าที่รัอยตรี ดร.ถวัลย์ ระยาพร นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผศ.กิตติบดี ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงฯนายเกียรติศักดิ์ เหลืองอังกูร อุปนายกฝ่าย ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายอนุพร  อรุณรัตน์ ผู้แทนกรรมการประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายสุรสิทธิ์ ทุมทาประธานสภาทนายความจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ลงนามเป็นพยาน


  ส่วนช่วงที่ 3 การเสวนาการขับเคลื่อนแผนงาน SDGS: GOAL 16: PEACE JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONและเครือข่ายสถานศึกษา 8 โรงเรียน พร้อมทั้งการบรรยายพิเศษเรื่อง “อารยสุข เพื่อสนับสนุนแนวการสืบสาน รักษา ต่อยอด สู่การเป็นอารยเกษตรตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างสมดุล”โดย พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ อธิการบดีกิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก การสัมมนาวิชาการเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้นิติธรรมและสิทธิมนุษยชน”โดย 1. อาจารย์สุรสีห์ โกศลนาวินอาจารย์ประจำผู้ทรงคุณวุฒิ 2.ดร.อาคม ตุลาดิลกอาจารย์ประจำผู้ทรงคุณวุฒิ 3. อาจารย์ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่ 3 /อาจารย์พิเศษ 4. อาจารย์ปริศนา คำชายผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการพัฒนานักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มข. และการจัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่อง เครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับเครือข่ายสถานศึกษา 8 โรงเรียน


   ช่วงที่ 4 เป็นการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการศึกษานิติศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลโดยรศ.วนิดา แสงสารพันธ์ รองคณบดีฝ่ายบริหารงานวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนประธานคณะกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปี 1-4 อาจารย์ณรงค์วิชย์ มหาศิริกุล PD :LAW@KKU LMS PROJECTนักศึกษาที่ได้รับรางวัลประกวดนวัตกรรมการเรียนรู้ในรายวิชากฎหมาย และสโมสรนักศึกษาคณะนิติศาสตร์
   ช่วงที่ 5 ช่วงสุดท้ายนิทรรศการการจัดการสอนที่มุ่งเน้น LEARNING OUTCOME (EXHIBITIONS) และ
มอบรางวัลนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาโครงการสร้างการรับรู้สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนา
สำหรับนักศึกษา (RULE OF LAW AND HUMAN RIGHT FOR SDGS 2022) และโครงงานวิจัย


    รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล

รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในวันนี้ได้รับเชิญจากคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิด และ ปาฐกถา เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อความเท่าเทียม และเพื่อความยั่งยืน ของสังคม ที่ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก เลยมีโอกาสได้มาบรรยายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งก็เป็นเรื่องสอดคล้องกัน คือเรื่องของการจัดการเปลี่ยนการศึกษา เปลี่ยนกระบวนการขั้นตอนด้านการศึกษา การศึกษาเพื่อตลอดชีวิต ของการจัดการศึกษาในหลักสูตรใหม่ๆ ที่มีความต้องการของด้านสังคม ซึ่งสอดคล้องกับคณะนิติศาสตร์ ที่ได้จัดการสัมมนาในวันนี้ เพราะมีเนื้อหาในการสร้างเครือข่าย รูปแบบของการศึกษา ซึ่งจะสอดรับกับกระบวนทัศน์ใหม่พอดี


  รศ.ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์

ด้าน รศ.ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์  รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ตนในฐานะดูแลด้านการศึกษา ตามที่ท่านคณบดีคณะนิติศาสตร์ มข.ได้พูดถึงเรื่องการทำหลักสูตร แบบใหม่ที่จะไปสอดคล้อง กับที่จะไปขับเคลื่อนกระบวนการทัศน์ใหม่ ของการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยการแสวงหาความร่วมมือ จากหน่วยงานต่างๆเพื่อ มาช่วยกันขับเคลื่อนเพื่อที่จะทำหลักสูตร ดังนั้นคิดว่านี่เป็นแนวทางในการทำงานยุคนี้ ที่ต้องหาเครือข่าย โดนทางคณะนิติศาสตร์ จะมาจัดการ ในลักษณะที่แตกต่างจากของเดิม ซึ่งจะดูว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร สุดท้ายที่อยากเห็นนั้น ส่วนจะขับเคลื่อนไปได้อย่างไร ท่านคณบดีจะมีแนวทางของท่านเอง

ผศ.กิตติบดี   ใยพูล
   ผศ.กิตติบดี   ใยพูล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าวันนี้คณะฯจัดงานขึ้นมาก็เพื่อ จะแสดงความมุ่งมั่น ว่าเราจะจัดการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด เรามีความชัดเจนของนโยบาย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนให้เป็นมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอน ที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับสังคมเพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงและการเท่าทันต่อสังคมของโลก


   “ดังนั้นในวันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เรา ได้มีเครือข่าย ซึ่งเป็นทั้งหน่วยงานวิชาชีพ เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะ ให้กับนักกฎหมาย ในศตวรรษที่ 26 และขอขอบคุณทุกฝ่าย ท่านอธิการบดีฯ ท่านรองอธิการบดีฯ ทั้งผู้บริหารเครือข่ายเพื่อความร่วมมือ ที่มาให้ความอนุเคราะห์ มาจัดการศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้”ผศ.กิตติบดี กล่าว.


    

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads