วันอังคาร 16 เมษายน 2024

ไทย-เวียดนาม ร่วมมือเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ไทย-เวียดนาม ร่วมมือเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ไทย-เวียดนาม ร่วมมือเพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง


 เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เวียดนามและไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการตลอดสี่ทศวรรษที่ผ่านมานับตั้งแต่ก้าวสำคัญนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้พัฒนาขึ้นในหลายด้านไฮไลท์ความสัมฟันธ์ระหว่างสองประเทศคือการเยือนไทยของเลขาธิการ เหงวียน ฟู ชอง ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗  มิถุนายน ๒๕๕๖ ในระหว่างการเยือนครั้งนี้  เวียดนามและไทยได้ยกระดับความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” และกลายเป็นสองประเทศแรกในอาเซียนมีความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ด้วยกัน
 เวียดนามและไทยมีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมมากมายและมีความใกล้เคียงกันในทางภูมิศาสตร์ ในแง่ของภาษาเพียงอย่างเดียวใน บรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวียดนามและไทยมีน้ำเสียงที่คล้ายคลีงกันมากที่สุดคำไทยบางคำฟังดูเหมือน ภาษาเวียดนาม ภาษาไทยคนเหมืองที่พบในเวียดนามมีตระกูลภาษาเดียวกัน อักษรแต่ละตัวต่างกัน ทำให้คนไทย สามารถได้เข้าใจได้ ชาวไทยและเวียดนามมีความคล้ายคถึงกันพื้นฐานและอาศัยอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเดียวกัน (รวมถึงเวียดนาม ไทย  เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา) จึงมีแนวโน้มที่จะใกล้ชิดกันและร่วมมือร่วมใจกันในกระบวนการพัฒนา
 ในแง่ของจำนวนประชากร ประชากรทั้งหมดของเวียดนามและไทยมีมากกว่า ๑๗๐ ล้านคน คิดเป็นมากกว่า ๗๐% ของประชากรในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งมีขนาดประมาณ ๒๔๐ ล้านคน เทียบเท่ากับประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก ขนาด GOP ของทั้งสองประเทศมีมูลค่าเกือบ ๙ แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า ๙๐% ของรายได้รวมของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมดรวมกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและอิทธิพลของเวียดนาม ไทย และความสัมพันธ์ของสองประเทศในพื้นที่ภาคพื้นทวีปที่มีประเทศอาเชียนอยู่ครึ่งหนึ่งนี้
 นอกจากความเหนือกว่าในด้านขนาดประชากรและขนาดเศรษฐกิจแล้วเวียดนามและไทยยังมี ๑๓ จังหวัด/เมืองที่สร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรและไมตรีซึ่งจังหวัดกว๋างตรี (เวียดนาม) และจังหวัดมุกดาหาร (ประเทศไทย)ได้สถาปนาความสัมพันธ์ฉันมิตรมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘
 จากสถิติพบว่ามีคนไทยเชื้อสายเวียดนามมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนที่อาศัยและทำงานในประเทศไทย
และเห็นได้ง่ายว่าชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในประเทศไทยได้มีส่วนสำคัญเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทย มีส่วนสนับสนุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจข้ามชาติไปพร้อมๆกัน ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศในด้านการค้า วัฒนธรรม และความร่วมมือทางการศึกษา
 ดังนั้น ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามจึงเกิดขึ้นจากองค์ประกอบของความเชื่อมโยงทางธรรมชาติ และยังคงได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจากความสำเร็จของทั้งสองประเทศในด้านต่างๆ อันที่จริงความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย-เวียดนาม มีเงื่อนไขและโอกาสที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ความสัมพันธ์การพัฒนาแบบร่วมมือนี้ไม่เพียงเพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังเพื่อความมั่นคง การพัฒนา และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของประชาชนในภูมิภาคอีกด้วย
 ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมื่อเวียดนามดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยก็เริ่มมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ในการดำเนินกิจกรรมการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่อนุภูมิภาคใกล้เคียง ตัวเลขแสดงให้เห็นว่าการลงทุน ภายนอกของประเทศไทยเกินขนาดการดึงดูดการลงทุนโดยตรงในประเทศเป็นปีที่สี่ติดต่อกันในช่วงปี ๒๕๕๙-๒๕๖๒ในภูมิภาคอาเซียน การลงทุนภายนอกสะสมประจำปีของไทยเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์เท่านั้น ในช่วงที่ผ่านมา เวียดนามได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมและเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนส่วนใหญ่ของไทยในต่างประเทศเราจึงเริ่มชินกับชื่อบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศไทย เช่น Central Group, Siam Cement Group, Amata Group, CP Group…ผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในไทย เวียดนาม
 แนวโน้มของการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเป็นสิ่งจำเป็นตามธรรมชาติในการตอบสนองความต้องการ
ในการขยายพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ในบรรดาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ความเชื่อมโยงดังกล่าวได้เกิดขึ้นและพัฒนาขึ้นเช่นกัน
 สถานการณ์ปัจจุปันแสดงให้เห็นว่าไทยและเวียดนามเป็นสองประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการผูกมัดความเชื่อมโยงเหล่านี้ประเทศไทยด้วยยุทธศาสตร์”ลุ่มแม่น้ำโขง”จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มากมายจากการส่งออกสินค้าและบริการและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศที่เหลือ
 โดยผลประโยชน์ของไทยครึ่งหนึ่งจากความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมาจากเวียดนาม
 เวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศผ่านการเปลี่ยน FDI จากไทยเป็นเวียดนามรวมถึง FDIจากบริษัทไทย เป็น ที่น่าสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีองค์ประกอบการแข่งขันโดยตรงแต่ตรงกันข้ามสอดคล้องกับความจำเป็นในการปรับโครงสร้างห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มในภูมิภาคและทั่วโลก ตัวอย่างเช่น พานาโซนิคย้ายโรงงานไปเวียดนามเพื่อผลิตโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า ของใช้ในบ้าน ฯลฯ เนื่องจากข้อดีของค่าแรงที่ถูกกว่าและในขณะเดียวกันก็ปรับโครงสร้างโรงงานในไทยเพื่อผลิตแบตเตอรี่ให้กับลูกค้าไฟฟ้า ฯลฯ รถยันต์ และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น
 การวิเคราะห์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าความเข้าใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ประกอบกับความจำเป็นในการร่วมมือและการพัฒนาของทั้งสองประเทศจะสร้างแรงผลักดันให้กับความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทย หลังจาก ๔๖ ปีผ่านไป ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศยังคงมีช่องว่างมากมายและเป็นแรงผลักดันใหม่สำหรับการพัฒนาที่ครอบคลุมและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น หวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศจะบรรลุหลักชัยสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นเสาหลักและสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองทั่วทั้งภูมิภาค.

สมบูรณ์   สุขชัยบวร…รายงาน

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads