วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

มข.จับมือ โลตัส ใช้ประโยชน์จากอาหารที่เหลือ จากการจำหน่าย ส่งต่อให้เกษตรกร เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน

มข.จับมือ โลตัส ใช้ประโยชน์จากอาหารที่เหลือ จากการจำหน่าย ส่งต่อให้เกษตรกร เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มข.จับมือ โลตัส ใช้ประโยชน์จากอาหารที่เหลือ จากการจำหน่าย ส่งต่อให้เกษตรกร เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน

ขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน (Zero Food Waste โดยใช้ประโยชน์จากอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย ในร้านอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น ผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารปรุงสำเร็จ ส่งต่อให้แก่เกษตรกรเพื่อเป็น อาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน อันเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่ด้วยการนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับกรรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน


     วันนี้ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. ที่ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับมอบหมายจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ร่วมลงนามกับนายบุญชัย ชีพอารนัย ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก ภาคเหนือ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ในพิธีลงนามบันทึกข้อดกลงความร่วมมือขับเคลื่อนนวัดกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มคำ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Crcular Economy) ต่อยอดโครงการกินได้ไม่ทิ้งกันของไลตัส เพื่อลดชยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2030(Zero food waste to landfl! by 2030) ผู้ลงนามเป็นพยาน ประกอบด้วย รศ.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข. และ นางนภัสจิรา อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้จัดการอาวุโส แผนกความยั่งยืนองค์กร บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด โดยมี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง สาขาวิชากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา, ดร.ชุตินันท์  ชูสาย อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ และผู้บริหารบริษัท เอก-ชัยดีสทริบิวชั่น ชิสเทม จำกัด ร่วมเป็นเกียรติในพิธี และ สื่อมวลชนทุกแขนง ที่ให้ความสนใจร่วมทำข่าวในครั้งนี้


“บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ แสดงถึงเจตนารมณ์ที่เห็นพ้องต้องกันระหว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ชิสเทม จำกัด ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรที่ให้ความความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อย่างยั่งยืน (Environmental, Social and Governance; ESG) ผ่านการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนจากอาหารส่วนเกินของโลตัส ภายใต้โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน (Zero Food Waste โดยใช้ประโยชน์จากอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย ในร้านอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น ผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารปรุงสำเร็จ ส่งต่อให้แก่เกษตรกรเพื่อเป็น อาหารเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน อันเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วยการนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน


  ” มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยคณะเกษตรศาสตร์ ได้มอบหมายให้ ศ.ยุพา หาญบุญทรง และ ดร.ชูตินันท์  ชูสาย เป็นหัวหน้าโครงการและผู้ดำเนินโครงการ รับผิดชอบประสานและคัดเลือกเกษตรกรในเครือข่ายที่เลี้ยงหนอนแมลง
โปรตีนให้พื้นที่ต่างๆ ในการรับบริจาคและจัดสรรอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายภายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารห้างสรรพสินค้าของ บริษัทฯ การให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในด้านวิชาการและเทคนิคของกระบวนการเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน รวมถึงร่วมมือกับบริษัทในการขยายผลของโครงการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามแนวทางความยั่งยืน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนวัตกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน (Zero Food Waste) สู่แมลงโปรตีน(Black Soldier Fly) ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ชิสเทม จำกัด ดำเนินโครงการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจ จะเป็นต้นแบบการ ดำเนินโครงการที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งความร่วมมือนี้ ยังเป็นก้าวแรกและก้วสำคัญในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านแมลงโปรตีนให้เป็นที่รู้จักต่อไป”

  ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ

ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “โครงการแมลงโปรตีน ที่ริเริ่มโดย ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง สาขาวิชากีฎวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงแมลงสำหรับผลิตโปรตีนทางเลือกให้กับชุมชนเป็นอาชีพและพึ่งพาตนเอง ลดต้นทุนอาหารสัตว์ สร้างผู้ประกอบการให้เกิดธุรกิจใหม่ภายใต้ ‘BCG Economy Model’ และพัฒนาให้เป็นแหล่งวัตถุดิการผลิตอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีโรงเรือนต้นแบบการวิจัยและการผลิตแมลงอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ณ หมวดแมลงอุตสาหกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มข.ซึ่งเป็นต้นแบบของการผลิตแมลงโปรตีนเพียงแห่งเดียวในขณะนี้ ที่สามารถผลิตแมลงโปรตีนที่มีปริมาณและคุณภาพสูงได้ตลอดทั้งปี และมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรหรือผู้สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน


    ศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าโดยความร่วมมือกับโลตัสในครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อน ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวล้อม ตามแนวทางความยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะประสานและคัดเลือกเกษตรกรในเครือข่ายที่เลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนให้พื้นที่ต่างๆในการรับบริจาคและจัดสรรอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายจากสาขาของโลตัส และช่วยให้คำแนะนำเกษตรกรด้านวิชาการและเทคนิคของกระบวนการเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน รวมถึงร่วมมือกับโลตัสในการขยายผลของโครงการต่อไป


   ศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวต่อว่าบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้นี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นต้นไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศาสตราจารย์ยุพา หาญบุญทรง และ ดร.ชุตินันท์  ชูสาย อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเป็นหัวหน้าโครงการและผู้ดำเนินโครงการ ในการทำหน้าที่ประสานและคัดเลือกเกษตรกรในเครือข่ายที่เลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนให้ขึ้นที่ต่างๆ เพื่อให้มีโอกาสในการรับบริจาคและจัดสรรอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายภายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารของบริษัท ให้คำแนะนำแก่เกษรกรในด้านวิชาการและเทคนิคของกระบวนการเลี้ยงหนอนแมลงโปรตีนจากอาหารที่เหลือจากการจำหน่ายภายในฐเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารห้างสรรพสินค้าของบริษัท และร่วมมือกับบริษัทในการขยายผลของโครงการ ซึ่งรวมถึงองค์ความรู้ และเครือข่ายเกษตรกร ผู้เลี้ยงหนอนแมลงโปรตีน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางความยั่งยืน


   ศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวท้ายสุดว่าด้านโลตัส จะบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากโลตัส 30 สาขาในจังหวัดขอนแก่น และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) นำร่องสนับสนุนเครือข่ายเกษตรกร ภาคอีสาน 24 ราย ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ทางการเกษตรกว่าครึ่ง เตรียมขยายผลสู่การสนับสนุนเกษตรกรทั่วไทย


     ด้าน น.ส.สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะธุรกิจคัาปลีกแบบomnichanne! ที่มุ่งน้นการจำหนำยอาหารคุณภาพสูง โลตัส ตระหนักถึงบทบาทของเราในการช่วยลดขยะอาหาร โดยเริ่มจากภายในธุรกิจของเราเอง ภายใต้เป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เรามุ่งหน้าลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี 2030 โลตัส ได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากสาขาของเรา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ภายใต้โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน โดยเริ่มนำร่องจากโลตัสสาขาใหญ่ในกรุงเทพ และปริมณฑล โดยร่วมมือกับมูลนิธิ SOS ในการนำอาหารส่วนเกินที่ยังรับประทานได้ ส่งมอบให้ผู้ที่ยากไร้ แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหารซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”


    “ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โลตัส เดินหน้าขยายโครงการไปสู่พื้นที่อื่น 1 รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรในการหาทางออกในการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้ว อาทิ โครงการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับสวนสัตว์ โครงการทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร รวมถึงการร่วมมือในครั้งนี้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการนำอาหารส่วนเกิน อาทิ ผัก ผลไม้ และอาหารสดประเภทอื่น ๆ จากโลตัส 30 สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริจาคให้กับเกษตรกรในเครื่อข่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำไปใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly- BSF) ซึ่งเป็นแมลงที่ปลอดภัยต่อพืชและชุมชน ไม่เป็นพาหะนำโรค และตัวหนอนยังมีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งโปรตีน โอเมก้า วิตามินและแร่ธาตุ นำไปใช้ประโยชน์ทางกาเกษตรได้ตลอดวัฏจักรหนอน-ดักแด้-แมลง สามารถเสริมสัตว์สำเร็จรูป และมูลหนอนยังนำไปเป็นปุ๋ยชีวภาพได้”
  “ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในเตือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา โลตัส ได้บริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำไปเลี้ยงแมลงโปรตีนแล้วกว่า 10,000 กิโลกรัม คิดอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักเนื้อหนอน (อัตราแลกเนื้อ) เท่ากับกว่า 3,400 กิโลกรัม ซึ่งเกษตรกรสามารถนำหนอนเหล่านี้เสริมในอาหารสัตว์ ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ไปได้กว่า 50% นอกจากนี้ยังได้ปุ๋ยจากมูลหนอนอีกกว่า 2,200 กิโลกรัม และซากแมลงโปรตีน ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วยเช่นกัน ความตั้งใจของเราคือการขยายผลโครงการแมลงโปรตีนไปสู่กลุ่มเกษตรกรอื่น เพื่อนำแมลงโปรตีนและผลพลอยได้ไปใช้ในการเกษตร รวมถึงศึกษาแนวทางต่อยอดการใช้ประโยชน์จากแมลงโปรตีนทางการเกษตรเพิ่มเติมต่อไป”


    นายบุญชัย ชีพอารนัย

ด้าน นายบุญชัย ชีพอารนัย ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก ภาคเหนือ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวว่าโลตัส ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกแบบ omni-channel มุ่งมั่นที่จะทำให้ลูกค้าของเรา “รู้สึกดีดีทุกวัน ที่โลตัส” ผ่านการจำหน่ายสินค้าคุณภาพสูงในราคาที่เอื้อมถึง และการให้บริการแบบไร้รอยต่อทั้งในสาขากว่า 2,300 แห่ง และช่องทางออนไลน์ ควบคู่ไปกับสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของทุกภาคส่วนโลตัส มุ่งเน้นการจำหน่ายอาหารคุณภาพสูง ผ่านการเป็น Inspiring Fresh & Food Destination หรือการเป็นศูนย์รวมอาหารและอาหารสดชั้นนำ


  นายบุญชัย กล่าวอีกว่าในฐานะห้างค้าปลีกที่จำหน่ายอาหารในปริมาณมาก เราตระหนักถึงบทบาทของเราในการช่วยลดขยะอาหาร โดยเริ่มจากภายในธุรกิจของเราเอง ภายใต้เป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เรามุ่งหน้าลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี 2030 โลตัส ได้เริ่มบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดจากสาขาของเรา ตั้งแต่ปี 2017 ภายใต้โครงการ กินได้ไม่ทิ้งกัน โดยเริ่มนำร่องจากการนำอาหารส่วนเกินที่ยังรับประทานได้ ส่งมอบให้ผู้ที่ยากไร้ ในกรุงเทพและปริมณฑลร่วมกับมูลนิธิ SOS และเดินหน้าขยายโครงการไปสู่พื้นที่อื่น ๆ รวมถึงการร่วมมือกับพันธมิตรในการบริหารจัดการอาหารส่วนเกินที่ไม่สามารถรับประทานได้แล้ว อาทิ โครงการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับสวนสัตว์ โครงการทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหารซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


     “วันนี้ โลตัสมีความยินดีที่ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการนำอาหารส่วนเกิน อาทิ ผัก ผลไม้ และอาหารสดประเภทอื่น ๆ จากโลตัสกว่า 30 สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริจาคให้กับเกษตรกรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อนำไปใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) ซึ่งปลอดภัยต่อพืชและชุมชน ไม่เป็นพาหะนำโรค และสามารถใช้ทดแทนอาหารสัตว์สำเร็จรูป โดยสามารถช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้กว่า 50% นอกจากนี้ มูลหนอนและซากแมลงวันลายเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วยเช่นกัน” นายบุญชัย กล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads