วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

ธปท.สภอ. แจง!ค่าครองชีพสูงยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน

ธปท.สภอ. แจง!ค่าครองชีพสูงยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ธปท.สภอ. แจง!ค่าครองชีพสูงยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดการแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 3 ปี 2565 เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 3 ปรับดีขึ้นจาก ไตรมาสก่อน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและรายได้เกษตรที่ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การผลิตหดตัว มากขึ้น จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ (supply disruption) ที่ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ค่าครองชีพที่อยู่ใน ระดับสูงยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน


เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 ที่ ห้องปัญญาวิจิตรธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท.สภอ.) ริมบึงแก่นนครเขตเทศบาลนครขอนแก่น นายศรัณย์  ธำรงรัตน์  ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประธานการแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 3 ปี 2565 โดยมีโดยมี นางรวิวรรณ์  ศิริเกษมทรัพย์  ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,นายนพดล  บูรณะธนัง รองผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,นายสุวัฒน์  วิเชียรศิริ รองผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ,นายวิศลย์  ปรีชา รองผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,นางกาญจนา  ภาพพิมาย ผู้จัดการศูนย์ ศูนย์จัดการธนบัตรขอนแก่น และสื่อมวลชนทุกแขนงร่วมให้ความสนใจการแถลงข่าวในครั้งนี้


  นายศรัณย์  ธำรงรัตน์

นายศรัณย์  ธำรงรัตน์  ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล่าวว่าเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาส 3 ปรับดีขึ้นจาก ไตรมาสก่อน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและรายได้เกษตรที่ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การผลิตหดตัว มากขึ้น จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ (supply disruption) ที่ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม ค่าครองชีพที่อยู่ใน ระดับสูงยังเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน 1.การอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง ตามการใช้จ่ายในหมวดบริการ สินค้าคงทน และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ 2.การลงทุนภาคเอกชน หดตัวเล็กน้อยตามการลงทุนด้านการก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่อง และการลงทุนด้านเครื่องจักรที่ชะลอตัวลง 3.การใข้จ่ายภาครัฐ หดตัวต่อเนื่อง ตามรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน


    4.การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัวน้อยลงทั้งการส่งออกและนำเข้าจากจีนเป็นสำคัญ5.รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง จากด้านราคาเป็นสำคัญ ตามราคาปศุสัตว์และมันสำปะหลัง ขณะที่ผลผลิตชะลอลง 6.ภาคอุตสาหกรรม หดตัวมากขึ้น ตามการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงจากปัญหา Supply Disruption ในจีนที่เพิ่มขึ้น 7. การจ้างงานเพิ่มขึ้น ตามจำนวนผู้มีงานทำในระบบที่เพิ่มขึ้น (ม.33) และจำนวนผู้ว่างงานใหม่ในระบบที่ลดลง (ม.38) 8.อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 6.89 ตามราคาอาหารสด ได้แก่ เนื้อสัตว์ และผักสดเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาพลังงานชะลง 9. ภาคการเงิน ฝากเงินชะลอตัว ทั้งเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน ส่วนสินเชื่อขยายตัวเล็กน้อย ตามความต้องการเงินทุนของธุรกิจที่เริ่มฟื้นตัว หลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย


    “แนวโน้มเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2565 คาดว่า ปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลดีจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้น ขณะเดียวกันรายได้เกษตรยังขยายตัวดีจากผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น จะช่วยให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวแม้ยังมีแรงกดดันจากภาวะค่าครองชีพ ที่อยู่ในระดับสูง สำหรับการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ อาทิ การผลิตอาหารและเครื่องดื่มคาดว่า ขยายตัวตามกิจกรรมการทางเศรษฐกิจในประเทศ ที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การผลิตเพื่อส่งออกยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบมาตรการ Zero-COVIDในจีน และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัว”นายศรัณย์  กล่าว.

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads