วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

“ร.ร.สนามบิน จ.ขอนแก่น”ต้องเป็นหนึ่ง อ่านออกเขียนได้ 100%

“ร.ร.สนามบิน จ.ขอนแก่น”ต้องเป็นหนึ่ง อ่านออกเขียนได้ 100%
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “ร.ร.สนามบิน จ.ขอนแก่น”ต้องเป็นหนึ่ง อ่านออกเขียนได้ 100%

โรงเรียนสนามบินขอนแก่น ต้องเป็น 1 เสมือนกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่นเขต 1 ที่ต้องเป็นหนึ่งดังนั้น ต้องพัฒนาให้เด็กอ่านออกเขียนได้ 100%

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่ห้องประชุมเจ้าคุณอลงกต โรงเรียนสนามบิน เขตเทศบาลนครขอนแก่น นายบุญเย็น โหว่สงคราม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1(สพป.ขอนแก่น เขต 1) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ครั้งที่ 2/2565 ของโรงเรียนสนามบิน โดยมี ดร.วรโชติ พัฒน์ดำรงจิตร ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ ตลอดจนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ, นายธนวรรธน์ ธะนะคำมา ผู้อำนวยการโรงเรียนสนามบิน นายสมพงษ์ บุญนาม,นางกุลปรียา กากแก้ว, นายอรรคพร จอมคำสิงห์, น.ส.อินทุอร โควังชัย รองผู้อำนวยการฯ, นายปิโยรส ถนอมดำรงศักดิ์ ผช.ผอ. และคณะครูผู้เกี่ยวข้อง ในการนำเสนอข้อมูลในการประชุม ซึ่งมีระเบียบวาระที่น่าสนใจคือมาตรการส่งเสริมการอ่านในชั้นระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งได้มีการหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกัน โดยมีสาระเนื้อหาสำคัญดังนี้


ดร.วรโชติ พัฒน์ดำรงจิตร ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ กล่าวว่าภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมของชาติและยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทยทุกคน แต่ปัญหาที่พบ คือ เด็กไทยในระดับประถมศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ยังมีปัญหาด้านการอ่านเขียนภาษาไทย ซึ่งมีทั้งที่อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง ส่วนขั้นที่รุนแรงอย่างน่าวิตกถึงขนาดที่ว่า “อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” ก็ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง


ดร.วรโชติ กล่าวอีกว่าเชื่อว่าทุกท่านตระหนักและเห็นความสำคัญของการอ่านเขียนภาษาไทย เพราะถือเป็นพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบไปถึงการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ถ้าหากนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอื่น ๆ ตกต่ำตามไปด้วย นั่นคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ


ด้านนายธนวรรธน์ ธะนะคำมา ผู้อำนวยการโรงเรียนสนามบิน กล่าวชี้แจงว่า จากข้อมูลการสำรวจเพื่อคัดกรองเด็กที่มีปัญหาด้านการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของ ครูระดับชั้นป. 1 ถึง ป. 2 ของโรงเรียนสนามบินนั้น ในภาพรวมที่อ่านออกเขียนได้จะมีอยู่ 2 ห้องเรียน อ่านออกเขียนได้ปานกลางมีอยู่ 3 ห้องเรียน ส่วนที่เหลืออ่านออกและเขียนได้ น้อยเลย “ตัวเลขข้างต้นเป็นการสะท้อนปัญหาระบบการศึกษาไทยพอสมควร จะพบว่าทั้งชั้น ป.1และ ป.2 มีนักเรียนต้องปรับปรุงเรื่องการอ่านออก-เขียนได้ ประมาณจำนวนห้องเรียนที่ทีมาก ถือว่ามียอดสูง แต่ก็ถือว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความกล้าที่จะเผชิญความจริง ไม่มีการอะลุ่มอล่วยทำให้ยอดเด็กอ่านหนังสือไม่ออกมาต่ำ เพื่อปกปิดความล้มเหลวของโรงเรียนและครู ของโรงเรียนสนามบิน ซึ่งในขั้นตอนต่อไปคงต้องมีการประชุมผู้ปกครอง เพื่อมาทำความเข้าใจในบริบทของลูกหลานของท่านเหล่านี้เพื่อที่จะให้เด็กได้อ่านออกเขียนได้ต่อไปในอนาคต


นายธนวรรธน์ กล่าวต่อไปว่าอย่างไรก็ดี อยากฝากให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าเราไม่ได้มองว่าเด็กกลุ่มนี้คือปัญหาหรือความบกพร่อง และจะไม่ตำหนิครูเพราะถือเป็นความผิดพลาดล้มเหลวที่ระบบการศึกษา ซึ่งเรากำลังหาทางแก้ไขอยู่ และดีที่เราจับจุดถูกและเร็ว มิฉะนั้นการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ตกต่ำอื่นๆ จะไม่สามารถแก้ได้ ซึ่งต่อไปทางโรงเรียนจะมี platform ในการติดผลงานของการเรียนการสอนของครูผ่านโปรแกรม Google site ซึ่งสามารถดูได้กับครูทุกคนตลอดจนถึงผู้อำนวยการ เพราะการเข้าถึงเพียงแต่สแกนคิวอาร์โค้ดก็สามารถเข้าไปดูได้เลย


ส่วน น.ส.อินทุอร โควังชัย รองผู้อำนวยการฯ กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายยังไม่เป็นที่น่าพอใจ คือให้ต้องอ่านออกเขียนได้ 100% กล่าวคือโรงเรียนสนามบินมีนักเรียนนับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 จำนวน 2,741 คน ทางโรงเรียนเตรียมนำร่องปูพรมพัฒนาทักษะการอ่าน -เขียนให้กับนักเรียนชั้น ป.1 และ ป.2 โดย แยกกลุ่มเป็นกลุ่มนักเรียนที่เก่งกับกลุ่มที่ต้องปรับปรุงหรือเรียนเขียนอ่านออกระดับกลางให้มีความที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการเอาเด็กมาสอนในช่วงเช้า เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กที่อ่านออกเขียนไม่ได้ไม่ให้เกิดปมด้อย ซึ่งตั้งเป้าว่าภายใน 1 เดือนในการเร่งรัดให้นักเรียน ป.1และป.2 ทุกคนจะต้องอ่านออกเขียนได้ ส่วนนักเรียน ป.3-ป.6 ทุกคนจะต้องอ่านรู้เรื่อง นำนวัตกรรมไปต่อยอด เน้นย้ำให้ครูประจำชั้นสอนเสริมในชั้นที่สูงขึ้นไป ก็คงจะเป็นความหวังของทุกคนที่อยากจะให้ความฝันนี้เป็นจริงในเร็ววัน


น.ส.อินทุอร กล่าวด้วยว่าสิ่งสำคัญคือครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน เพราะนักเรียนบางคนแค่เพียงสะกดคำก็อ่านคำนั้นได้ แต่บางคนต้องใช้วิธีให้สะกดคำ เทียบคำที่เคยอ่านได้ หรืออ่านซ้ำ ๆ ส่วนบางคนอาจจะใช้วิธีสอนแบบปกติไม่ได้เลย ดังนั้น ครูจะต้องสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันไป มีเทคนิคการสอนและใช้สื่อหลากหลาย ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ต้องทำให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ ไม่เป็นทุกข์เมื่อถึงเวลาเรียนเพียงเพราะรู้สึกว่าภาษาไทยเป็นเรื่องที่ยาก


น.ส.อินทุอร กล่าวท้ายสุดว่าคงถึงเวลาแล้วที่จะหยิบยกปัญหาการอ่านออกเขียนได้มาวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า หากผู้บริหารระดับนโยบายพร้อมที่จะขับเคลื่อนผลักดันให้คุณครูทุกคนร่วมแรงร่วมใจช่วยกันพัฒนาคุณภาพเด็กไทย โดยการเริ่มต้นจากการอ่านออกเขียนได้ 100 % ก็คงจะไม่ไกลเกินความฝัน เพราะถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขเพื่อ “ตัดไฟแต่ต้นลม” ก่อนที่จะวิกฤติมากเกินกว่าที่จะเยียวยาแก้ไข.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads