วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

“กฟก.ขอนแก่น”ลงพื้นที่ตรวจสอบพยานหลักฐานอุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร

“กฟก.ขอนแก่น”ลงพื้นที่ตรวจสอบพยานหลักฐานอุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “กฟก.ขอนแก่น”ลงพื้นที่ตรวจสอบพยานหลักฐานอุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจสอบพยานหลักฐานอุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร สนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามเจตนารมณ์ ของกองทุนฟื้นฟูฯที่จะสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม การพื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร และการจัดการหนี้ของเกษตรกร


   วันนี้ 5 ม.ค.2566 นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น (กฟก.ขอนแก่น) ร่วมกับนายสุเนตร แก้วคำหาร รองประธานอนุกรรมการฯ คนที่ 1, นางพรรณี มะลิ ,นางอนงค์ ทวีแสง และนายภัยนรินทร์ เพ็ชรแสน คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจสอบพยานหลักฐาน อุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร 3 รายพื้นที่ อ.น้ำพอง  จ.ขอนแก่น ได้แก่นางคำสี ชานกัน บ้านคำบง ต.สะอาด อ.น้ำพอง,นางสุปราณี ปัตตะ บ้านโนนดงมัน ต.สะอาด อ.น้ำพอง และน.ส.นัฎฐกาญจน์ ม่วงซอ บ้านคำจั่น ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง


   นางพรรณี มะลิ หนึ่งในคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ที่ลงพื้นที่ตรวจสอบพยานหลักฐาน อุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร 3 ราย เปิดเผยว่าในรายของนางคำสี ชานกัน อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 132 หมู่8 บ.คำบง ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ไม่ควรให้ผ่านการอุทธรณ์ด้วยสาเหตุ เนื่องจากเอกสารที่ยื่นการพิจารณานั้น เป็นหนี้ร่วมกับบุตรสาวซึ่งไม่ได้เกิดจาก การทำการเกษตร แต่เกิดจากการเป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และจากการสอบถามตัวเกษตรกรเพิ่มเติม ก็ไม่สามารถให้ข้อมูลเป็นที่ชัดเจนได้


   ส่วนในรายของนางสุปราณี ปัตตะ อาศัยอยู่บ้านโนนดงมัน หมู่ 6 ต.สะอาด อ.น้ำพอง เห็นควรให้ผ่านการพิจารณาด้วยเพราะ ดูจากเอกสารหลักฐานประกอบ และการสอบถามเกษตรกรผู้ที่ให้เช่าที่แล้ว เป็นข้อมูลที่เชื่อได้ว่า เป็นหนี้ที่เกิดจากการทำเกษตรจริง แต่สมควรให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมคือ เอกสารพยานบุคคลควรเป็นผู้นำชุมชน เช่นผู้ใหญ่บ้านหรือเกษตรกร ที่ทำการเกษตรข้างเคียง


   ด้าน นายสานิต เชิดโคกศรี หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษครกร สาขา จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งเป็นหน่วยงานองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544 และ 2563 ตามเจตนารมณ์ของกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่จะการสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการจัดการหนี้ของเกษตรกร


   นายสานิต กล่าวต่อไปว่าการลงพื้นที่ตรวจสอบพยานหลักฐาน อุทธรณ์ขอขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกร ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอน วิธีการการจัดการหนี้ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 2.เพื่อสร้างกระบวนการติดตามแบบมีส่วนร่วม สำนักงานสาขาจังหวัด องค์กรเกษตรกร อนุกรรมการจังหวัด ภาคีความร่วมมือ ในการรวบรวมข้อมูล และตรวจสอบความมีอยู่ จริงขององค์กรเกษตรกรและสมาชิกองค์กรที่เคยได้รับงบสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาฯ และองค์กรเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุน และ ตรวจสอบความมีอยู่จริงรายชื่อ เกษตรกรสมาชิกที่ที่ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร และ3.เพื่อสะสางข้อมูลทะเบียนองค์กรเกษตรกรและสมาชิกทะเบียนเกษตรกรสมาชิกที่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้ของเกษตรกร


  

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads