วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

3 มหาวิทยาลัย ร่วมเปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ ใช้ประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ แห่งแรกของไทย

3 มหาวิทยาลัย ร่วมเปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ ใช้ประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ แห่งแรกของไทย
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

3 มหาวิทยาลัย ร่วมเปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ ใช้ประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ แห่งแรกของไทย

นักวิชาการจาก 3 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ แปลผลอายุร่างกาย จากผลตรวจเลือด แห่งแรกในประเทศไทย

   วันนี้17 มกราคม 2566 ที่ อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)  ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิด แถลงข่าวความสำเร็จและการเปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แปลผลอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ ตับ ไต หัวใจ ตับอ่อนจากผลตรวจเลือด ซึ่งสะท้อนภาวะร่างกายแบบเข้าใจง่ายรองรับการใช้งานในกลุ่มสถานบริการสุขภาพ/บริษัท health technology รวมถึงการใช้งานรายบุคคลในรูปแบบแอพลิเคชั่นและเวบไซด์ โดยมี ผศ.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศค้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ พร้อมด้วยศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.),ศ.พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนทีมนักวิจัย และท่ามกลางสื่อมวลชนที่สนใจ ทำข่าวผลงานวิจัยในครั้งนี้


  ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ

ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าวันนี้มีโครงการที่ดีหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญหรือ Al for healthcare ซึ่งทีมนักวิจัยมาจากหลากหลายคณะ ทำงานร่วมกันโดยใช้ข้อมูลสุขภาพที่มีอยู่ซึ่งครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากเขตสุขภาพ 7 8 9 10 โดยใช้เหมืองข้อมูลสุขภาพดี 59,675 ชุด และฐานข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพเชิงลึก จนกระทั่งนำมาสู่การใช้ได้จริงในการประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสำคัญ 4อวัยวะได้แก่ ตับ ตับอ่อน ไต ห้วใจ มีความแม่นยำเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน ร้อยละ 83.7 ในเพศหญิง และ 81.5ในเพศชาย ตัวโปรแกรมนี้เป็นตัวช่วยให้บุคคลระมัดระวังเรื่องการพักผ่อน พฤติกรรมและการบริโภค โดยหวังว่าโปรแกรมนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยรวมของประเทศได้”


  ผศ.สมชาย เชื้อวัชรินทร์

ด้าน ผศ.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศค้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์(Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ที่มีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแกนนำ ได้กล่าวว่า นวัตกรรมนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561-2564 แก่คณะวิจัยในรูปแบบคลัสเตอร์หรือกลุ่มวิจัยที่มี ศาสตราจารย์พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ โดยมีทีมวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล


ในหลายคณะได้แก่คณะเทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ศิริราช วิทยาศาสตร์และวิทยาลัยคอมพิวเตอร์นวัตกรรมHealth A! ที่จะมาช่วยประชาชนทั่วไปได้เข้าใจผลการตรวจสุขภาพของตนโดยง่าย ผ่านแอพลิเคชันมือถือ โดยช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสภาวะสุขภาพของตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพกายที่ดีต่อไป ซึ่งเป็นเทรนต์ใหม่ด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ A! เป็นส่วนช่วยในบริการด้านนี้ เมื่อมีการใช้งานจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางแล้ว ในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกอยู่กับประขาชนและระบบของสาธารณสุขของประเทศที่ เนันสาธารณสุขเชิงป้องกัน ที่จะช่วยลดภาระงบประมาณด้านนี้ของประเทศและรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”


   ด้านผศ.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศค้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์(Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ที่มีมหาวิทยาลัยมหิตลเป็นแกนนำ ได้กล่าวว่า นวัตกรรมนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561-2564 แก่คณะวิจัยในรูปแบบคลัสเตอร์หรือกลุ่มวิจัยที่มี ศาสตราจารย์พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ โดยมีทีมวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิตล
ในหลายคณะได้แก่คณะเทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ศิริราช วิทยาศาสตร์และวิทยาลัยคอมพิวเตอร์นวัตกรรมHealth A! ที่จะมาช่วยประชาชนทั่วไปได้เข้าใจผลการตรวจสุขภาพของตนโดยง่าย ผ่านแอพลิเคชันมือถือ โดยช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสภาวะสุขภาพของตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพกายที่ดีต่อไป
  ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ A! เป็นส่วนช่วยในบริการด้านนี้ เมื่อมีการใช้งานจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางแล้ว ในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกอยู่กับประขาชนและระบบของสาธารณสุขของประเทศที่ เนันสาธารณสุขเชิงป้องกัน ที่จะช่วยลดภาระงบประมาณด้านนี้ของประเทศและรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”

   ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์

ส่วน ศ.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า “Health AI เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ยกระดับเป็นนวัตกรรมจนสู่การเปิดบริการเชิงพาณิชย์ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายศูนย์ชุดตรวจวินิจฉัยโรค โดย บพข.ให้การสนับสนุนงานประมาณดำเนินงานของศูนย์พัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานทางเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads