วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

“สช.”ทำงานกับเครือข่ายสื่อฯ กขป.รุกงานสื่อสาธารณะ ปูพรมทุกพื้นที่

“สช.”ทำงานกับเครือข่ายสื่อฯ กขป.รุกงานสื่อสาธารณะ ปูพรมทุกพื้นที่
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“สช.”ทำงานกับเครือข่ายสื่อฯ กขป.รุกงานสื่อสาธารณะ ปูพรมทุกพื้นที่

ระดมเครือข่ายสื่อมวลชน ของ 13 เขต ทั่วประเทศ ร่วมเสนอแนวความคิด วางแผน นำข่าวประชาสัมพันธ์ เชิงบวกด้านสุขภาพ ให้เข้าถึงประชาชน ทุกแพลตฟอร์ม แผนงาน

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ ห้องประชุมอัปรา 2 โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมเครือข่ายด้านสื่อสารมวลชนคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมี นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีการนำเข้าข้อมูลที่สำคัญ แลกเปลี่ยนประสบการณ์สถานการณ์งานสื่อสารในพื้นที่ปัญหา อุปสรรค เป้าหมาย และแนวทางการทำงานสื่อสารโดย นส.ยุวลักษณ์ เหมะวิบูลย์ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารสังคม (กส.)และ สำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ (สนพ.)ตลอดจนหารือแลกเปลี่ยน ประเด็น “การพัฒนาและบริหารงานสื่อสารสังคมในพื้นที่”สานพลังภาคีเครือข่ายสุขภาวะชุมชน – เครื่องมือในการสื่อสาร – ช่องทางการสื่อสารในพื้นที่โดย นายบัณฑิต มั่นคง สำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ (สนพ.)นายชูชาติ ตรีรัถยานนท์ กลุ่มงานสื่อสารสังคม (กส.)วางแผน การบริหารงานสื่อ และเนื้อหาเพื่อเผยแพร่การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชน 1-13 โดย สำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ (สนพ.) และกลุ่มงานสื่อสารสังคมการบริหารงานสื่อและเนื้อหาเพื่อเผยแพร่การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชนคณะทำงานสื่อสารสังคม จัดประชุมเครือข่ายสื่อ ของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ทั้ง 13 เขต ที่รับผิดชอบทุกจังหวัดทั่วประเทศ เข้าหารือเพื่อวางแผนการนำเสนอข่าวด้านสุขภาพ ผ่านสื่อมวลชนในพื้นที่ ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชาชนทุกกลุ่ม ให้ได้รับข่าวสารด้านสุขภาพให้ถูกต้องและเข้าใจง่าย

    นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการ คสช. กล่าวว่า ทางคณะกรรมการเห็นว่า สื่อมวลชน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในการนำเสนอข่าว โดยเฉพาะข่าวเชิงบวกด้านสุขภาพ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด โดยเฉพาะสื่อมวลชนในแต่ละพื้นที่ จะเข้าใจรูปแบบการนำเสนอได้ดีกว่า ทั้ง รูปแบบการถ่ายทอด เช่น การใช้ภาษาในการสื่อสารให้ประชาชน ในพื้นที่เข้าใจสารได้มากขึ้นและรวดเร็ว รวมถึง ประเด็นสุขภาพในพื้นที่ ที่ กขป.แต่ละเขต นำเสนอประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ มาปรึกษาหารือ ถึงแนวทางการแก้ไข ทั้งในเชิงนโยบาย และ กระบวนการของชุมชน ซึ่งที่ผ่านการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ทั้งปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนชน ยังสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร โดยในครั้งนี้ ทาง สช.สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง ให้กับเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่ ทั้ง 13 เขตสุขภาพทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนในการทำงานด้านสื่อสารให้มีความล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยผ่านทาง เครือข่ายสื่อและ อนุกรรมการสื่อ ของ กปข. แต่ละเขต ที่ทำงานสื่อมวลชนอยู่แล้ว เข้ามาเป็นเครือข่ายและช่วยผลัก นำเสนอข่าวสารด้านสุขภาพ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลในการรับรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือ ของประชาชน ให้ตระหนักและใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน ให้ยั่งยืนต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads