ผ่าทางตัน!อนุกรรมการอ้อยระดับท้องถิ่นเขต 26 หนองบัวลำภู เสนอแนะการจัดการเศษใบอ้อย
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ที่ ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู นายอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการอ้อยระดับท้องถิ่นเขต 26 จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งที่ 1/2568 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 4 เขตบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย 5 ผู้แทนโรงงานน้ำตาล ผู้แทนสมาคมชาวไร่อ้อย และมีนายชัยรัตน์ ยอดทัพ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งดำเนินการจัดประชุมโดย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู หนองบัวลำภู โดยที่ประชุมมีมติดังนี้ 1. สนับสนุนให้มีการเพิ่มจำนวนรถตัดอ้อยในพื้นที่ เพื่อเพิ่มปริมาณอ้อยสดเข้าสู่โรงงาน ทั้งนี้ควรมีการลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย 2. รัฐบาลควรมีความชัดเจนเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดี (120 บาท/ตัน) ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการนำไปใช้จัดการเศษวัสดุในไร่อ้อยของตนเอง3. การจัดการใบอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว โดยใช้รถสางใบอ้อย แต่ต้นอ้อยต้องไม่ล้ม ดังนี้
3.1ใช้รถสางใบอ้อยขนาด 24,27 แรงม้า โดยขยายระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตรใช้รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กติดพ่วงด้วยเครื่องสางใบอ้อย 3.2 ใช้มอเตอร์ไซค์สางใบอ้อย เหมาะสำหรับแปลงเกษตรกรรายย่อยใช้ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่เกษตรกรทั่วไปนิยมปลูก ทั้งนี้การ สางใบอ้อยโดยวิธีต่างๆไม่สามารถกำจัดเศษซากในไร่อ้อยได้จะต้องมีเครื่องจักรและวิธีการอื่นตามเข้าไปดำเนินการ 4. แรงงานการตัดอ้อย รัฐควรผ่อนผันให้แรงงานต่างชาติเข้ามาตัดอ้อยได้ง่ายขึ้น ในห้วงเวลาสั้นๆ ที่ผ่านมาขั้นตอนการปฏิบัติยุ่งยากและค่าใช้จ่ายต่อหัวค่อนข้างสูง
5.การกำจัดใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว ดังนี้
5.1 ขายส่งโรงไฟฟ้าชีวมวล แต่ปัจจุบันยังมีข้อจำกัด คือ โรงไฟฟ้าในพื้นที่จำนวนน้อย เครื่องจักรที่ใช้จัดการใบอ้อย ยังมีราคาสูง ไม่คุ้มทุนต่อการผลิต เหมาะสำหรับแปลงอ้อยที่อยู่รอบๆลงไฟฟ้าชีวมวลเท่านั้น 5.2 จัดการใบอ้อยแบบสับลงดิน โดยใช้ผานพรวน โดยทิ้งใบอ้อยไว้ในแปลงให้มีความแห้งกรอบ 1-2 เดือน และอ้อยเริ่มแตกยอด จากนั้นจึงใช้ผานพรวนเข้าจัดการใบอ้อย 5.3 จัดการใบอ้อยโดยใช้น้ำหมักยูเรีย (ยูเรีย 25 กก. ผสมน้ำ 200 ลิตร หมักไม่น้อยกว่า 7 วัน) ฉีดพ่นได้ 4-5 ไร่ จะทำให้ใบอ้อยย่อยสลายได้เร็วขึ้น ไถกลบใบง่ายขึ้น 5.4 ใช้เครื่องจักรในการบดใบอ้อยลงในแปล
งโดยติดกับรถแทรกเตอร์ ทำให้ไถกลบได้ง่ายขึ้น5.5 ส่งเสริมเอกชนที่ผลิตเครื่องจักรกลในการกำจัดเศษซากวัสดุในไร่อ้อย ในลักษณะส่งเสริมการลงทุน คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรซื้อได้ในราคาไม่แพงส่วนข้อสุดท้าย ข้อที่ 6.การวิจัยและพัฒนา นำใบอ้อยและยอดอ้อยมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางและ/หรือสร้างมูลค่าเพิ่มที่เป็นรูปธรรม.