วันเสาร์, 23 พฤศจิกายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
พลิกฟื้นดินอีสาน! มข. ผลักดัน BCG Model ผ่านโครงการ”ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60″

พลิกฟื้นดินอีสาน! มข. ผลักดัน BCG Model ผ่านโครงการ”ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60″

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

พลิกฟื้นดินอีสาน! มข. ผลักดัน BCG Model ผ่านโครงการ”ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60″

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ตามแนวทาง BCG Model ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากถั่วเหลือง เพื่อการจัดการและพัฒนาความสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายวิจัย บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด และ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการผลิต”เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60 ” ฤดูฝน

 

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้การอำนวยการของ  รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน ลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ตามแนวทาง BCG Model ที่มุ่งเน้น การใช้ประโยชน์จากถั่วเหลืองเพื่อการจัดการและพัฒนาความสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกอ้อย ที่ แปลงทดลองการผลิต”เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60″ ในฤดูฝน ที่ไร่บัวพักเกวียน บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ตามแนวทาง BCG Model ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากถั่วเหลือง เพื่อการจัดการและพัฒนาความสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายวิจัย บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด และ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการผลิต”เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60″ ฤดูฝน ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สำหรับการขยายการผลิตถั่วเหลืองหลังการทำนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ก่อนฤดูกาลปลูกอ้อยและเพิ่มผลผลิตอ้อย รวมทั้งช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บ คาร์บอนในดิน


ผศ.ดร.สมพงศ์ จันทร์แก้ว หัวหน้าสาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ หัวหน้าทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า “ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60 “เป็นถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตในพื้นที่“หากสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ มข 60 หมุนเวียนตลอดปี ทั้งในพื้นที่ดอนช่วงฤดูฝนในแปลงอ้อยที่มีการรื้อ ตอและพักแปลง และ ฤดูแล้งหลังการทำนาในพื้นที่ได้ จะทำให้สามารถส่งเสริมและขยายพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง เป็นวงกว้างได้ โดยไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์และความไม่เหมาะสมของพันธุ์ต่อพื้นที่ ซึ่งการลงพื้นที่ติดตามครั้งนี้ ถือเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้า และ ตรวจสอบประสิทธิภาพของโครงการที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น และ เป็นการยืนยันถึงความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และภาคเอกชนในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม”


  ด้าน ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน เปิดเผยว่า การดำเนินงานในโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในด้าน SDG 2 และ SDG 15 ซึ่งเน้นการพัฒนาพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงและมีประสิทธิภาพในการบำรุงดิน เป็นการตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตและยกระดับความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ นอกจากนี้ การสร้างความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ถั่วเหลือง


เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของดินและอาหารสัตว์ ยังเป็นการสนับสนุน SDG 9 โดยการนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นและบริษัทมิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ ผ่านการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมต่อไป.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD