วันอาทิตย์, 24 พฤศจิกายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
AIS อุ่นใจไซเบอร์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “จับเข่าคุย คุ้ยไต๋สแกมเมอร์”สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ จังหวัดขอนแก่น

AIS อุ่นใจไซเบอร์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “จับเข่าคุย คุ้ยไต๋สแกมเมอร์”สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ จังหวัดขอนแก่น

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

AIS อุ่นใจไซเบอร์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “จับเข่าคุย คุ้ยไต๋สแกมเมอร์”สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ จังหวัดขอนแก่น


 
AIS อุ่นใจไซเบอร์ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมเสวนา เพื่อสร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์ พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันโลกออนไลน์และกระบวนการช่วยเหลือหากต้องตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ในกิจกรรม “1212 ETDA Workshop สร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์” แก่นักศึกษาในจังหวัดขอนแก่น


 นายโชติวัฒน์ อุ่นพิกุล
ในส่วนของ AIS  โดย นายโชติวัฒน์ อุ่นพิกุล หัวหน้างานปฏิบัติการด้านเทคนิค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ AIS กล่าวว่า “นอกเหนือจากการพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนและยกระดับการสื่อสาร และเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมดิจิทัลให้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยการนำ 2 แกนหลัก ได้แก่ นำเทคโนโลยี (Technology) มาพัฒนาเพื่อสร้างเครื่องมือในรูปแบบของบริการดิจิทัลที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นAIS Secure Net, Google Family Link และ สายด่วนโทรฟรี 1185 – AIS Spam Report Center ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ ตลอด 24 ชั่วโมง การสร้างองค์ความรู้ (Wisdom) เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่านหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” และจากการทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราเห็นแนวทางแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงระดับความรู้และทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนของประชาชนในแต่ละกลุ่ม ในชื่อของ ‘ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)’ ที่ถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย อีกด้วย”
 
สำหรับผู้ที่สนใจสร้างภูมิและเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ง่ายๆ กับหลักสูตร AIS อุ่นใจไซเบอร์ ฟรี ผ่าน https://learndiaunjaicyber.co.th/หรือ Application AIS อุ่นใจ Cyber ทั้งระบบ android และ iOS

 

และสำหรับผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ได้ที่ sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf หรือองค์กรใดสนใจนำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล (Thailand Cyber Wellness Index) ไปใช้วัดผลและขับเคลื่อนต่อ สามารถติดต่อได้ที่ aissustainability@ais.co.th

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD