วันอังคาร, 17 กันยายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
“คณะเทคโนโลยี มข.”ถ่ายทอดองค์ความรู้ การแปรรูปน้ำนมข้าว ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จ.ขอนแก่น

“คณะเทคโนโลยี มข.”ถ่ายทอดองค์ความรู้ การแปรรูปน้ำนมข้าว ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จ.ขอนแก่น

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

“คณะเทคโนโลยี มข.”ถ่ายทอดองค์ความรู้ การแปรรูปน้ำนมข้าว ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จ.ขอนแก่น

คณะเทคโนโลยี มข.จัดกิจกรรมร่วมกับสำนักงานเกษตร จ.ขอนแก่น อบรมและฝึกปฏิบัติการทฤษฎีของการแปรรูปน้ำนมข้าว ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4 อำเภอ ของ จ.ขอนแก่น รวมถึงการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยในกระบวนการแปรรูป สำหรับภาคปฏิบัตินั้น ได้มีการนำผลผลิตทางการเกษตรซึ่งได้แก่ ข้าวทับทิมชุมแพ มาแปรรูปเป็นน้ำนมข้าวทับทิมชุมแพ และส่วนที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ เพื่อให้เกษตรกรได้เล็งเห็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ในกระบวนการแปรรูป และเพื่อความยั่งยืนในธุรกิจการแปรรูปอาหาร

ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์
   ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่าคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น เพื่อดูแลและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และชุมชน (Social contribution) ผสานการทำงานร่วมกับจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านกิจกรรมฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตามพันธกิจส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมของคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยี โดยสนับสนุนกิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีวัตถุประสงค์ พัฒนาศักยภาพผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัดตามบริบทพื้นที่ ซึ่งบุคคลเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด จำนวน 26 รายและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 26 ราย รวมเป็น 52 ราย จากทั้งสิ้น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมแพ ,อำเภอบ้านฝาง อำเภอพล และอำเภอแวงใหญ่


ผศ.ดร.อารยา กล่าวอีกว่าซึ่งในการอบรมและฝึกปฏิบัติการ ณ อาคารปฏิบัติการแปรรูปอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มี ผศ.ดร.ปฏิมากร คล้ายประสิทธิ์ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้และวิธีการแปรรูปแก่กลุ่มเกษตรกรในครั้งนี้ คือ “การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยภาคทฤษฎีได้มีการบรรยายหลักการ ทฤษฎีของการแปรรูปน้ำนมข้าว รวมถึงการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยในกระบวนการแปรรูป สำหรับภาคปฏิบัตินั้น ได้มีการนำผลผลิตทางการเกษตรซึ่งได้แก่ ข้าวทับทิมชุมแพ มาแปรรูปเป็นน้ำนมข้าวทับทิมชุมแพ และส่วนที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต ได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ เพื่อให้เกษตรกรได้เล็งเห็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้ในกระบวนการแปรรูป และเพื่อความยั่งยืนในธุรกิจการแปรรูปอาหารอีกด้วย


ผศ.ดร.อารยา กล่าวเพิ่มเติมว่าการฝึกอบรมในครั้งนี้มีตัวแทนเกษตรกร เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนเกษตรกรจากอำเภอชุมแพ อำเภอบ้านฝาง อำเภอพล และอำเภอแวงใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 200 ราย ซึ่งกิจกรรมการฝึกอบรมได้จัดขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ 29 และวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2567 และวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 และสิ้นสุดกิจกรรมการฝึกอบรม ในวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 การอบรมฝึกปฏิบัติครั้งนี้เป็นบูรณาการการส่งเสริมอาชีพ การดูแลสิ่งแวดล้อม การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการสร้างความผาสุกของชุมชนและสังคมในจังหวัดขอนแก่น จากการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งได้รับการสนับสนุนอำนวยการจาก นายธงชัย มูลคำศรี เกษตรจังหวัดขอนแก่น ในการส่งตัวแทนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มาเข้ารับการอบรมในครั้งนี้.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD