“คณะวิศวฯมข.”จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจด้านวิชาการ กับ “บ.พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด”และรับมอบรถ จยย.ไฟฟ้า ไว้ใช้ประโยชน์ 35 คัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจด้านวิชาการ พร้อมทั้งส่งมอบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อใช้งานสำหรับบุคลากร และนักศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 35 คันและส่งมอบสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ได้จำนวน 2 สถานี
เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ห้องสมุดภูมิภิรมย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. เป็นประธานลงนามความร่วมมือทางวิชาการ พร้อมรับมอบรถจักรยานยนต์ เพื่อใช้งานสำหรับบุคลากร และนักศึกษา กับ นายพุทธพงศ์ สมใจ กรรมการ บริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด โดยมี นายพิเชษฐ์ ดุจวรรณ ตัวแทนบริษัทฯ ส่งมอบกุญแจ รถจักรยานยนต์ให้กับ รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร และ ผศ.ภาณุพงษ์ วันจันทึก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และคณาจารย์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ท่ามกลางสื่อมวลชนที่สนใจร่วมทำข่าวจำนวนมาก
นายพุทธพงศ์ สมใจ
นายพุทธพงศ์ สมใจ กรรมการ บริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด กล่าวว่า บริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด เราเป็น smart city platform ซึ่งเรามุ่งเน้นในการใช้พลังงาน ในการเป็น smart city platform ได้อย่างมีประโยชน์ในการใช้งานเพื่อลดคาร์บอน ซึ่งมาเปิดให้มีการทดลองเป็นครั้งแรก เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร ได้มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนถ่าย การใช้งานกับรถที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อน มาสู่ระบบที่เป็นยานยนต์ไฟฟ้า ระบบแรกที่เราใช้คือ smart city platform ของระบบ 60 โวลต์ จะเป็นระบบ Coach Room ของทางมหาวิทยาลัย เราจะพัฒนาโดยพฤติกรรมการบริโภค เบต้าที่เกิดขึ้นในระหว่างการทดลอง ในระหว่างที่เราทดลองนั้น เราได้มีการพัฒนาบุคลากร นักศึกษา ความร่วมมือทางด้านหลักสูตร การฝึกอบรม การสร้างบุคลากร ของยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ในระบบ เพื่อให้ความรู้ในเวลาที่เราออกนอกระบบ มหาวิทยาลัยจะมีบุคลากร พร้อมที่จะรองรับในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคต
นายพุทธพงศ์ กล่าวอีกว่า ซึ่งตอนนี้เรามีความร่วมมือกับหลายมหาวิทยาลัยในระดับต้นๆของประเทศไทย เราคิดว่าภาคการศึกษานี้จะเริ่มเปิดใช้งานจริง ในระหว่างนี้ก่อนถึงเปิดภาคเรียนการศึกษา เราจะมีการทดลอง ซึ่งในวันนี้เราได้นำรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อ พยัคฆ์ มอเตอร์ รุ่น ELEKTRA ขนาด 2,400 วัตต์ วิ่งได้เร็วสูงสุด 65 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง วิ่งระยะทางสูงสุด 140 กิโลเมตร 2 ระบบ 2 มอเตอร์ แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบตเตอรี่ลิเธียม ประเภทลิเธียมไอออน NMC รองรับการชาร์จไฟได้มากกว่า 1,000 ครั้ง มามอบให้คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทดลองทั้งหมดจำนวน 35 คัน พร้อม ส่งมอบสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ได้ จำนวน 2 สถานี เป็นตู้ Vios ระบบ 10 โวลต์ จำนวน 2 ตู้ Power next และซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการ เพื่อที่จะศึกษาดูพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อมของในการใช้บริการ และเราจะร่วมพัฒนาไปด้วยกัน
ตอนนี้จะให้ใช้ในเฉพาะในแฟลตฟอร์มของมหาวิทยาลัยก่อน ประมาณกลางปีหลังเราจะมีแพลตฟอร์ม 72 โวลต์ ที่ให้บริการ สำหรับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งตอนนี้เรามีจำนวน 12 มหาวิทยาลัยแล้ว และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการพร้อมๆกัน ในปีการศึกษาที่จะถึงนี้ คือเรามองว่าแพลตฟอร์ม 60 โวลต์นี้ ในระบบโค๊ชรูม คือสเต็ปในการพัฒนาระบบขึ้นไปทีละสเต็ป จากระบบเราเปิดปิด ระบบโค๊ชรูม คือมหาวิทยาลัย ก้าวสู่ระบบที่เป็นเซมิกึ่งปิดกึ่งเปิด รถจักรยานยนต์มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และเข้าสู่ระบบเปิดเป็นรูปแบบก็คือ เช่น food Delivery ทุกอย่างจะมีสเต็ปของมัน
การสร้างอีเว้นท์ของบุคลากรก็คือ คีย์ที่สำคัญที่สุดในระบบแพลตฟอร์มทั้งหมด เราต้องการให้พัฒนาบุคลากร และนักศึกษาให้มีความรู้ บริหารจัดการยานยนต์ไฟฟ้า ปกติจักรยานไฟฟ้า ตอนนี้ราคาอาจจะแพงกว่ารถที่ใช้น้ำมันนิดหน่อย แต่ว่าถ้าบวกกับการใช้งานและการสิ้นเปลืองพลังงาน แล้วโดยรวมจะถูกกว่า และที่สำคัญก็คือมันไม่ปล่อยมลพิษ อันนี้คือคีย์สำคัญ บุคลากรนักศึกษาต้องบอกก่อนว่าคือคีย์ที่สำคัญที่สุด ที่จะก้าวสู่ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ขนาดรถรองรับแบตเตอรี่ได้จำนวน 2 ลูก หรือ ขนาด 60 โวลต์ 25 MR ลูกหนึ่งจะวิ่งได้ 70 กิโลเมตร สองลูกจะเล่นได้ 140 กิโลเมตร ซึ่งตอนนี้ถ้าเป็นราคา ที่เราเปิดจำหน่ายอยู่ประมาณ 50,000 กว่าบาท
รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร
ด้าน รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.กล่าวว่า ในนามของคณะวิศวรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสต้อนรับทุกท่าน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ บริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด เป็นการลงนามครั้งแรกระหว่าง 2 หน่วยงาน พร้อมรับมอบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้จำนวน 35 คันในวันนี้ ตามที่ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษาและบริษัทธุรกิจเอกชน ในการวิจัยและพัฒนาด้านรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นไปที่ด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ประสิทธิภาพของมอเตอร์ วัสดุที่ยั่งยืน ระบบสารสนเทศบริหารจัดการ การวิเคราะห์ข้อมูล และการออกแบบที่นวัตกรรม รวมไปถึงการร่วมกันพัฒนาเสริมสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าและระบบโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาหลักสูตรหรือโมดูลเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า และระบบโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักสูตร non degree รวมถึงเพื่อสร้างโอกาสในการต่อยอดการพัฒนาผลงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์ที่อาจเกิดขึ้นจากการร่วมมือกัน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการ หรือเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ได้ นั้น ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจอัน สำคัญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันได้แก่ การวิจัยและสร้างองค์ความรู้
รศ.ดร.รัชพล กล่าวต่อว่า เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันดำเนินการ ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ เช่น การวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และการออกแบบระบบสารสนเทศบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาหลักสูตรและ การฝึกอบรมเฉพาะทางด้านรถยนต์ไฟฟ้า ให้กับนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป รวมถึงการผลิตเครดิต คาร์บอนโดยส่งเสริมการพัฒนาที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษและสนับสนุนการปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน และการขนส่งสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้การเดินทางในเมืองเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น
ซึ่งคณะจะนำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปใช้ ให้กับบุคลากร และนักศึกษาได้ใช้ประโยชน์พร้อมทั้งสารต่อไปสู่โครงการด้าน Smart City โครงการ Smart Mobility และโครงการ Carbon Credit ต่อไป.