“มนุษย์-สังคม ม.ขอนแก่น”เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน สร้างสังคมสูงวัยสุขภาพแข็งแรง
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เต็มรูปแบบ จากข้อมูลของ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), 2564 พบว่า ในช่วงปี 2562 มีอัตราจำนวนเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคน ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ในที่สุด ซึ่งจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” โดยมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า ที่โรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี วงศ์ศิริ หัวหน้า “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ: การดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการนวดเพื่อผ่อนคลาย”พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักชนก ชำนาญมาก ประจำสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะกรรมการดำเนินโครงการ นักศึกษา บุคลากร จึงลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุด้วยการนวด นอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแล้ว กิจกรรมที่จัดขึ้นยังถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและมีคุณค่าทางสังคม เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นโครงการที่เน้นส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงทั้งกายและใจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี วงศ์ศิริ หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เต็มรูปแบบ จากข้อมูลของ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), 2564 พบว่า ในช่วงปี 2562 มีอัตราจำนวนเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคน ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ในที่สุด ซึ่งจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” โดยมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด
ความท้าทายกับการพัฒนาชุมชน—การที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้นนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็น เด็กและผู้สูงวัยในชุมชนซึ่งยังต้องการการพัฒนาและส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมุ่งขับเคลื่อนการบริการชุมชนภายใต้ ความท้าทายของการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เกิดการพัฒนาเด็กและเยาวชน ควบคู่ไปกับการดูแลผู้สูงวัยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
เด็กและเยาวชนคือกำลังสำคัญ—โครงการบริการวิชาการการเสริมสร้างศักยภาพแกนนำสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ถูกขับเคลื่อนภายใต้การดำเนินงานโครงการบริการวิชาการมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์สู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มุ่งประเด็นไปที่การพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ โดย อาจารย์ ดร.รักพงษ์ แสนศรี หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร วีระนาคินทร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.นิภาพรรณ เจนสันติกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินโครงการ นักศึกษา สภาเด็กและเยาวชน ได้ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนบทบาทของสภาเด็กและเยาวชน ให้มีความเข้มแข็งและสามารถเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ด้านการรู้เท่าทันสื่อและยาเสพติด ที่ ห้องประชุมเจิมขวัญ โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ไม่เพียงแต่เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุจะทำอย่างไรให้ปลอดภัยและแข็งแรง—แน่นอนว่าความต้องการของลูกหลานล้วนต้องการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงมาเป็นอย่างแรก โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ: การดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการนวดเพื่อผ่อนคลาย ภายใต้การดำเนินงานโครงการบริการวิชาการมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์สู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านทางสังคม การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” ยังต้องการการพัฒนาและการดำเนินงานแบบสหวิชาการ จะเห็นได้ว่าโครงการสู่ชุมชนที่ผ่านมาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นั้น ได้มีการบูรณาการศาสตร์จากหลากหลายสาขาเพื่อการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมและได้เรียนรู้อย่างรอบด้านยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้บริบทของสังคมจะเปลี่ยนไปและกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มขั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังคงขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังจะก่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนที่จะช่วยพัฒนาชุมชนและสังคม พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดสังคมที่อยู่ร่วมกับความแตกต่างในช่วงวัยได้อย่างมีความสุขและพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต.
อ่านรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม“โครงการบริการวิชาการการเสริมสร้างศักยภาพแกนนำสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2567”
:https://www.facebook.com/RASHUSOKKU/postspfbid02dqG4tGckP3ZgVzHnNsyp94XF7Njg6pbKWnwRX23W3QkNFftTXXfP4PbHVT53xaTFl
“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ: การดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยการนวดเพื่อผ่อนคลาย”
:https://www.facebook.com/RASHUSOKKU/postspfbid0oLZ6kZREDjJVpY3WVDRGScBkZfzDE4KSaYgerMroZLoEf9sHTrjUjixyaFCicPaEl.