วันพฤหัส, 19 กันยายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
“อบจ.ขอนแก่น”จับมือ “มข.”ขับเคลื่อนอุทยานธรณีขอนแก่น สู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก

“อบจ.ขอนแก่น”จับมือ “มข.”ขับเคลื่อนอุทยานธรณีขอนแก่น สู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

“อบจ.ขอนแก่น”จับมือ “มข.”ขับเคลื่อนอุทยานธรณีขอนแก่น สู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก

การร่วมกันเผื่อผลักดันให้อุทยานธรณีขอนแก่นก้าวขึ้นสู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกหรือ UNESCO Global Geopark ทั้งประเด็นการส่งเสริมงานวิจัยด้านธรณีวิทยาและธรณีโบราณคดี การจัดการเรียนรู้สู่ชุมชน การใช้พื้นที่อุทยานธรณีเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในกาสร้างบัณฑิตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดเส้นทางการท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และอาหารที่ชูจุดเด่นของอุทยานธรณี


เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ ห้องประชุมฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน ชั้น 5 สิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ทีมบริหารอุทยานธรณีขอนแก่นได้เข้าประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนอุทยานธรณีขอนแก่นสู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geopark) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน,ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มข.พร้อมทั้งรองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม ,ผศ.ดร.อัมพร แซ่เอียว หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ,ผศ.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร, ผศ.ดร.พิมพ์นิภา หิรัณย์สร พร้อมด้วยคณาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี รศ. ดร.รัชฎา ตั้งวงค์ไชย ,ผศ.ดร. วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน ได้ให้การต้อนรับนายธาดา พรหมสาขา ณ สกลนคร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น, นายกิตติชัย อุทธา ผู้อำนวยการส่วนศึกษาฯที่ได้รับมอบหมายจาก ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในฐานะผู้อำนวยการอุทยานธรณีขอนแก่น พร้อมทั้ง น.ส.ผกาสวรรค์ ปรัชญคุปต์ ผู้จัดการอุทยานธรณีขอนแก่น และทีมทำงานของอุทยานธรณีขอนแก่น


โดยการประชุมมุ่งเน้นในประเด็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันเผื่อผลักดันให้อุทยานธรณีขอนแก่นก้าวขึ้นสู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกหรือ UNESCO Global Geopark ทั้งประเด็นการส่งเสริมงานวิจัยด้านธรณีวิทยาและธรณีโบราณคดี การจัดการเรียนรู้สู่ชุมชน การใช้พื้นที่อุทยานธรณีเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในกาสร้างบัณฑิตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดเส้นทางการท่องเที่ยว รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และอาหารที่ชูจุดเด่นของอุทยานธรณีด้วยหรือที่เรียกว่า Geoproduct and Geofood ซึ่งนับเป็นการประชุมหารือที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจในการบูรณาการเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นและให้คนในพื้นที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อไป


  ผศ. ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี เปิดเผยว่าวิสัยทัศน์ของคณะเทคโนโลยี มข. คือ องค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม อุทยานธรณีขอนแก่น หรือ Khon Khaen Geopark (ขอนแก่น จีโอ ปาร์ค) ถูกขนานนามว่าเป็นอาณาจักรไดโนเสาร์แห่งหุบเขาภูเวียงและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มากไปด้วยทรัพยากร ถูกจัดให้เป็นศูนย์ศึกษาและวิจัยไดโนเสาร์ประจำภาคอีสานที่มีแหล่งศึกษาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นแหล่งศึกษาความรู้ด้านธรณีวิทยาที่สำคัญอีกแห่งในประเทศไทยที่นำเสนอพื้นที่ ที่มีภูมิประเทศหินทรายที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น เขตอุทยานธรณีขอนแก่น ได้แก่ แนวเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง พร้อมกับพื้นที่ อำเภอเวียงเก่า และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น รวมพื้นที่ประมาณ 1,038 ตารางกิโลเมตร


“อุทยานธรณีขอนแก่น เป็นอุทยานธรณีระดับประเทศ (National Geopark) ซึ่งได้รับการประเมินได้ใบเหลือง สำหรับการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกหรือ UNESCO Global Geopark เมื่อปี 2566 และจะได้รับการประเมินอีกครั้งหนึ่งในปี 2568 เพื่อพิชิตใบเขียวให้ได้เป็นอุทยานธรณีระดับโลกแห่งที่ 3 ของไทย”ผศ. ดร.อารยา กล่าว.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD