“ก.ธ.จ.ขอนแก่น” ลงพื้นที่สอดส่อง สนง.พาณิชย์ขอนแก่น โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการค้าการลงทุนสินค้า OTOP SMEs
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดขอนแก่น โดยการนำของ ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ รองประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุม เพื่อลงพื้นที่สอดส่องโครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการค้าการลงทุนสินค้า OTOP SMEs และผลิตภัณฑ์จังหวัด งบประมาณปี 2567 ซึ่งโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้ของการปฏิบัติงานตามหลักคุณธรรม จริยธรรม เเละธรรมาภิบาล
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า ที่ ชั้น 2 อาคาร 2 กลุ่มงานส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น บริเวณศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ รองประธาน ก.ธ.จ.ฯปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน ก.ธ.จ.ขอนแก่น พร้อมด้วย นายบูรพงศ์ วรรักษ์ธารา ก.ธ.จ.ขอนแก่น,นายอาทร กันตวธีระ ก.ธ.จ.ขอนแก่น,นายสวัสดิ์ พรมโสภณ ก.ธ.จ. ขอนแก่น,นายดวงเด่น ลีลรัตนปัญญา ก.ธ.จ.ขอนแก่น,นายเรืองยศ แวดล้อม ที่ปรึกษาก.ธ.จ.ขอนแก่น (ฝ่ายบริหาร),นายหมวดตรีชูไทย วงศ์บุญมี ที่ปรึกษา.ก.ธ.จ(ฝ่ายประชาสัมพันธ์) และนายนิรุช สุวรรณแสง ที่ปรึกษา ก.ธ.จ. (ฝ่ายกฏหมาย)ลงพื้นที่สอดส่องโครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการค้าการลงทุนสินค้า OTOP SMEs และผลิตภัณฑ์จังหวัด งบประมาณปี 2567 ซึ่งดำเนินการเสร็จแล้ว ของหน่วยงานสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดขอนแก่น,นายนิยุทธ์ สืบสาย นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษฯ ,นางสาวสิรินาฎร์ เศรษฐมาตย์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษฯ ,นางสาวปริษาณ์ พืชไพศาล นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการฯและนางสาวพิชญ์สินี รอบรู้ นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น ร่วมชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
นายศารุมภ์ โหม่งสูงเนิน พาณิชย์จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า”กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการเร่งรัดการส่งออกไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการผ้าทออีสานในการสร้างมูลค่าและภาพลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักในบทบาท “ไทย เมืองหลวงผ้าทอโลก” ปัจจุบัน “ผ้าทออีสาน” สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในองค์รวมทั้งผู้ผลิต ผู้แปรรูป และผู้ค้า โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาร่วมบูรณาการทำงานกับทุกฝ่าย เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดและหาช่องทางการจำหน่ายให้เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ด้วยอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของผ้าทออีสาน รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล จึงทำให้วันนี้ผ้าทออีสานของไทยมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
นายศารุมภ์ กล่าวอีกว่าในการต้อนรับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดขอนแก่น โดยการนำของดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ รองประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ขอนแก่นเป็นประธานการประชุม เพื่อลงพื้นที่สอดส่องโครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการค้าการลงทุนสินค้า OTOP SMEs และผลิตภัณฑ์จังหวัด งบประมาณปี 2567 ซึ่งโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 กิจกรรม ได้เเก่ กิจกรรมการจัดแสดงและจำหน่ายผ้าไหม/ผลิตภัณฑ์ไหมนานาชาติ งบประมาณ 2.4 ล้านบาท เเละ กิจกรรมการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จังหวัดขอนแก่นและ การเจรจาจับคู่ธุรกิจ (ต่างภูมิภาค) งบประมาณ 3,970,000 บาท เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้ของการปฏิบัติงานตามหลักคุณธรรม จริยธรรม เเละธรรมาภิบาล
ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ได้ลงพื้นที่สอดส่องโครงการเรียนฟรี 15 ปีและเงินอุดหนุน โรงเรียนมณีอนุสรณ์(เอกชน) ถ.รื่นรมย์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีนายสุเทพ บุญยฤทธิ์รักษา ผู้ได้รับใบอนุญาต พร้อมทั้งนายยุพเทพ บุญยฤทธิ์รักษา ผู้อำนวยการฯ ,นางสาวฤทัยเทพ บุญยฤทธิ์รักษา ผู้จัดการฯ ตลอดจน ครูผู้สอน ร่วมทำการชี้แจง เกี่ยวกับโครงการเรียนฟรี 15 ปีและเงินอุดหนุน โรงเรียนมณีอนุสรณ์(เอกชน) ในการนี้มีตัวแทนจากกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ร่วมรับฟังและ ร่วมชี้แจง
นายสุเทพ บุญยฤทธิ์รักษา ผู้ได้รับใบอนุญาต โรงเรียนมณีอนุสรณ์ กล่าวว่า นักเรียนโรงเรียนมณีอนุสรณ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 462 คน มีจำนวนบุคลากร ที่เป็นผู้บริหารเป็นครูประจำการครูพี่เลี้ยงครูต่างชาติ รวมทั้งสิ้น 54 คน ซึ่งงบประมาณที่ได้รับ ปีการศึกษา 2567 จากรัฐบาล แยกเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน 216,156 บาทเงินอุดหนุนค่าอุปกรณ์การเรียน 71,395 บาทเงินหมุนลงเครื่องแบบนักเรียน 136,375 บาทเงินอุดหนุนกิจกรรมพัฒนา 96,985 บาท เงินอุดหนุนรายบุคคล 456,055.95 บาท เงินอุดหนุนอาหารเสริมนม 279,870 บาท และเงินอุดหนุนอาหารกลางวัน 923,780 บาท
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า โรงเรียนมณีอนุสรณ์ศึกษา ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อใช้เป็นกรอบ การดำเนินงานและขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษา โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมายผลผลิต แผนงาน โครงการ กิจกรรม งบประมาณ และนโยบายของหน่วยงานตันสังกัดที่กำหนดเพิ่มเติม โดยกำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเนันการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท ขยายโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง ครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการจัดทำ
แผนปฏิบัติการครั้งนี้ ประกอบด้วย สภาพปัจจุบัน ทิศทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปงบประมาณโครงการ รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม และการกำกับติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
“ขอขอบคุณคณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ2567 ให้สำเร็จลุล่วงเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษา ส่งผลให้นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพตามศักยภาพเท่าเทียมกัน”นายสุเทพ กล่าว.