วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

เปิดโลกไดโนเสาร์แห่งเทือกเขาภูเวียง ที่ อ.เวียงเก่า

เปิดโลกไดโนเสาร์แห่งเทือกเขาภูเวียง ที่ อ.เวียงเก่า
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

เปิดโลกไดโนเสาร์แห่งเทือกเขาภูเวียง ที่ อ.เวียงเก่า

 ท่องเที่ยวอุทยานธรณีก้าวไกล ทรัพยากรธรณีไทยยั่งยืน

กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับอำเภอเวียงเก่า จัดงานมหกรรมเปิดโลกไดโนเสาร์แห่งเทือกเขาภูเวียง สนับสนุนนโยบายรัฐบาล เพื่อเป็นการเปิดมิติการท่องเที่ยวทางวิชาการในพื้นที่ศักยภาพอุทยานธรณีทั่วประเทศไทย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งศักยภาพอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ 20 มิถุนายน ที่ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น กรมทรัพยากรธรณี   ดร.สมหมาย  เตชวาล รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับนายมลชัย จันทโรธรณ์ นายอำเภอเวียงเก่า และนายเวียงศักดิ์  เปี่ยมสังวาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย (ในฐานะตัวแทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเวียงเก่า) ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมเปิดโลกไดโนเสาร์แห่งเทือกเขาภูเวียง (Khon Kaen Geopark Festival)” และการจัดประชุมสัมมนาฯ เรื่อง “การพัฒนาอุทยานธรณีประเทศไทย” ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน 2560 ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมสนับสนุนนโยบายรัฐบาล และบูรณาการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวิชาการในพื้นศักยภาพอุทยานธรณีประเทศไทย

ดร.สมหมาย กล่าวว่าการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวทางวิชาการในพื้นที่ศักยภาพอุทยานธรณีประเทศไทย (Thailand Geopark) ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งศักยภาพอุทยานธรณีเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และ เพื่อจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านการอนุรักษ์แหล่งทางธรณีวิทยา และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในเทือกเขาภูเวียง

 

ดร.สมหมาย กล่าวอีกว่าโดยกิจกรรมสำคัญภายในงานมีหลากหลายและอยู่ภายใต้แนวคิด “ท่องเที่ยวอุทยานธรณีก้าวไกล ทรัพยากรธรณีไทยยั่งยืน” อาทิเช่น การเปิดมิติการท่องเที่ยวทางวิชาการในพื้นที่ศักยภาพอุทยานธรณีทั่วประเทศไทย ได้แก่ อุทยานธรณีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น, อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล, อุทยานธรณีผาชันสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี, อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก จังหวัดตาก และการนำเสนอนิทรรศการการท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑ์ทางธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณีทั้ง 7 แห่งทั่วประเทศ และการประชุมสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาอุทยานธรณีประเทศไทย” เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนในเทือกเขาภูเวียง การจัดแสดงสวนป่าไดโนเสาร์ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์กลางคืน หรือ Night Museum และกิจกรรมเดินวิ่งเทิดพระเกียรติเพื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและเดินวิ่งมินิมาราธอน “ตามเส้นทางรอยเสด็จฯ…พิชิตเทือกเขาภูเวียง” การประกวดนางงามไดโนเสาร์ภูเวียง และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย

นายมลชัย กล่าวเพิ่มเติมว่าอำเภอเวียงเก่านั้นได้แยกจากตัวอำเภอภูเวียงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักนักในนามของอำเภอเวียงเก่า แต่พอมีการจัดงานมหกรรมเปิดโลกไดโนเสาร์แห่งเทือกเขาภูเวียงในครั้งนี้ เปรียบได้กับการเปิดบ้านของอำเภอเวียงเก่าให้ชาวไทยทั้งประเทศหรือทั่วโลกได้รับรู้ว่าเป็นถิ่นดินแดนแห่งอารยธรรมไดโนเสาร์ล้านปี พร้อมกันนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านและชุมชนได้มีโอกาสนำศิลปวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิต ตลอดจนสินค้าพื้นเมือง  มาร่วมกับกิจกรรมมหกรรมเปิดโลกไดโนเสาร์แห่งเทือกเขาภูเวียง ในครั้งนี้ โดยที่ทางอำเภอได้เปิดศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ไว้ให้สำหรับจำหน่ายของที่ระลึกหลากหลายสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน ที่ได้รับการอบรมมาอย่างดีจากทางอำเภอ ให้แก่นักท่องเที่ยวได้ซื้อของติดกลับไปฝากทางบ้าน

นายมลชัย กล่าวและว่า อำเภอเวียงเก่ามีความสัมพันธ์กับไดโนเสาร์อยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว บางทีเด็กคิดว่าไดโนเสาร์จะมีแต่ในหนังเป็นแต่เรื่องเล่าว่ามันไม่ใช่ของจริง แต่ความเป็นจริงแล้วสถานที่อำเภอเวียงเก่านั้นเป็นแห่งแรกที่มีการขุดค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์เป็นแห่งแรก และเป็นการยืนยันได้ว่ามีไดโนเสาร์อยู่จริงเมื่อ 130 ล้านปีมาแล้ว ในด้านวิชาการ ในส่วนของชุมชนเองนั้นได้มีโอกาสใช้สถานที่แห่งนี้เรียนรู้ไปด้วย แล้วส่วนหนึ่งก็อาจมีการอบรมให้ความรู้กับเยาชนในพื้นที่ต่อยอดความรู้นำชมสถานที่ เปรียบได้ดั่งมัคคุเทศก์ น้อยเลยทีเดียว

ด้านนายเวียงศักดิ์  กล่าวว่าพื้นที่ของอำเภอเวียงเก่านั้นมีความสำคัญต่อหุบเขาภูเวียงเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเดิมทีบริเวณดังกล่าวเป็นขุมทรัพย์ทางด้านอาหารทุกสิ่งทุกอย่างของพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ จึงมีความผูกพันกับสถานที่แห่งนี้ ต่อมาได้มีการขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ขึ้น แล้วมีการตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ขึ้น เพราะสาเหตุนี้จึงทำให้พี่น้องที่อาศัยอยู่ในที่นี้ เกิดความวิตกลังเล ว่าเป็นเขตสถานที่ราชการของกรมทรัพยากรธรณี อาจเป็นเหตุทำให้เข้าป่าไปมาหาสมุนไพรและของป่าเก็บมากินไม่ได้ เพราะกลัวทำผิดกฎหมาย แต่หลังจากนั้นเมื่อมีการลงพื้นที่ของศูนย์ฯ ประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านได้รับทราบ ว่าเป็นสถานที่ด้านวิจัยทางวิชาการเท่านั้น ทำให้ชาวบ้านคลายความวิตกกังวล และร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรของชาติไว้ให้ลูกหลานได้ดูได้ชมกัน อีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญที่จะบอกกล่าวคือหลังจากที่ชาวบ้านเข้าใจในการทำงานของศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ แห่งนี้ แล้วว่าได้นำความเจริญตลอดจนชื่อเสียง และรายได้มาสู่ครอบครัวในชุมชนละแวกนี้ ให้ได้อยู่ดีกินดีกันสืบต่อไป

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads