วันเสาร์ 20 เมษายน 2024

กฟผ. ต่อยอดความสำเร็จการพัฒนาแหล่งน้ำ “ชุมชนบ้านห้วยยาง” ระดมนักวิชาการให้ความรู้การงดใช้สารพิษใกล้แหล่งน้ำ

กฟผ. ต่อยอดความสำเร็จการพัฒนาแหล่งน้ำ “ชุมชนบ้านห้วยยาง” ระดมนักวิชาการให้ความรู้การงดใช้สารพิษใกล้แหล่งน้ำ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

กฟผ. ต่อยอดความสำเร็จการพัฒนาแหล่งน้ำ “ชุมชนบ้านห้วยยาง” ระดมนักวิชาการให้ความรู้การงดใช้สารพิษใกล้แหล่งน้ำ

กฟผ. จัดงานเสวนาต่อยอดความสำเร็จการสร้างแหล่งน้ำชุมชนตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พลิกฟื้นหนองน้ำบ้านห้วยยางที่แห้งขอดมากว่า 40 ปี ให้กลับมากักเก็บน้ำได้มากกว่า 1 แสนลูกบาศก์เมตร ตอบความคาดหวังชุมชน “น้ำคือชีวิต” และเป็นจุดเริ่มต้นความมั่นคงทางด้านอาหาร พร้อมเดินหน้าจัดเสวนาระดมนักวิชาการ เพื่อให้เครือข่ายชุมชนในจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม กว่า 250 คน ร่วมกันรักษาแหล่งน้ำให้ห่างไกลจากสารพิษและสารปนเปื้อน

เมื่อวันที่18 กันยายน ที่ ศาลาปฏิบัติธรรมบ้านห้วยยาง ต.ดงเมืองแอม อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดงานเสวนาเรื่อง “ชีวิตจะรอดได้อย่างไร เมื่ออยู่ใกล้น้ำเป็นพิษ” เพื่อต่อยอดความสำเร็จของชุมชนบ้านห้วยยางในการพัฒนาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคที่มียาวนานมากว่า 40 ปี โดยกระบวนการสร้างพลังชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหา ภายใต้การดำเนินโครงการสื่อสารและสร้างเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเองในพื้นที่ใกล้แนวสายส่งไฟฟ้าอย่างยั่งยืน หรือ โครงการภูมิชุมชน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กฟผ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และชุมชนบ้านห้วยยาง ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำงานร่วมกัน ทำให้ กฟผ. สามารถคว้ารางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น หรือ SOE Award ประจำปี 2561 ด้านการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีนายกรศิษฎ  ภัคโชดานนท์ อดีต ผู้ว่าการ กฟผ. ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภาภรณ์ ม.ธรรมศาสตร์ หน.โครงการภูมิชุมชน นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผอ.โรงไฟฟ้าน้ำพอง นายรุจน์ รังษี นายอำเภอเขาสวนกวาง ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน จำนวน 200 คน ร่วมงาน

นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล 

นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง กฟผ. กล่าวว่า บ้านห้วยยาง เป็นชุมชนใกล้แนวสายส่ง กฟผ. ที่ประสบปัญหาภัยแล้งเรื้อรังมายาวนาน ขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคเกือบทุกปี จึงร่วมกันดำเนินโครงการภูมิชุมชน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นหลักคิดเพื่อร่วมกันทำความเข้าใจ แก้ปัญหา และบริหารจัดการตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง โดยร่วมมือกันแก้ปัญหาน้ำตามหลักธรรมชาติ ให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำด้วยการวางท่อจากลำห้วยยางยาวกว่า 760 เมตร ซึ่งไม่เสียค่าสูบน้ำและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ท้ายน้ำเดิม ทั้งนี้ นอกจากปัญหาด้านแหล่งน้ำแล้ว ชุมชนดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม เช่น การเพาะปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง และนาข้าว เมื่อมีการให้ความรู้เรื่องโทษภัยของการใช้สารเคมี ชุมชนจึงเห็นถึงผลกระทบที่มีความรุนแรงในด้านต่างๆ และหันมาทำแปลงเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียงให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน การเสวนาในครั้งนี้จะเป็นการเปิดมุมมองของชุมชนให้ตระหนักถึงสารพิษ และสารเคมีที่อาจจะปนเปื้อนในแหล่งน้ำชุมชนที่ร่วมสร้างกันมา และส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภคผลิตผลทางการเกษตรอย่างร้ายแรงได้

 นายกรศิษฏ์  ภัคโชตานนท์

  โดยการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายกรศิษฏ์  ภัคโชตานนท์ อดีตผู้ว่าการ กฟผ. บรรยายพิเศษเรื่อง ทิศทางการพัฒนาตามแนวทางศาสตร์พระราชาในการพัฒนาชุมชน ซึ่งเน้นแก้ปัญหาที่เป็นความต้องการของชุมชนเอง ให้เกิดความเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริงในลักษณะระเบิดจากข้างใน โดยนำมาวิเคราะห์ วางแผนและลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวชุมชนเอง ร่วมกับการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

           นายรุจน์ รังษี

         นายธนชาติ ดานุวงศ์ไพศาล

สำหรับผู้เข้าร่วมเสวนาถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้ มี 5 คน ประกอบด้วย ทันตแพทย์หญิง วรางคณา อินทโลหิต จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู นายคเณศวร โคตรทา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกนกพัฒนา จ.หนองบัวลำภู นายวีระศักดิ์ นนท์เหล่าพล วิศวกรระดับ 9 กองบำรุงรักษาโยธา เขื่อนอุบลรัตน์ ดร.รัฐพล ไกรกลาง อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายชาลี แสนจันแดง ปราชญ์ชุมชนบ้านหนองแวงเรือ ต.ดงเมืองแอม โดยมี ดร.ภาสกร บัวศรี ที่ปรึกษาโครงการภูมิชุมชนภาคอีสาน เป็นผู้ดำเนินการเสวนา และตอนท้ายของการเสวนา

  

ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา

      ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวสรุปและปิดการเสวนา และภายในงานยังจัดให้บริการตรวจเลือดเกษตรกร เพื่อวิเคราะห์หาสารเคมีตกค้างในร่างกายโดยได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเมืองแอม

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads